ข่าวเศรษฐกิจ

‘หนี้นอกระบบ’ มีผู้ลงทะเบียน กว่ 96,000 ราย มูลหนี้ราว 5,700 ล้านบาท

16 ธ.ค. 66
‘หนี้นอกระบบ’ มีผู้ลงทะเบียน กว่ 96,000 ราย  มูลหนี้ราว 5,700 ล้านบาท
ไฮไลท์ Highlight

“ ‘หนี้นอกระบบเป็นเหมือนไฟไหม้บ้าน’ หากลูกหนี้ไม่มีเงินส่งดอกตรงเวลาเจ้าหนี้ก็จะเอาเรื่อง แต่หากไม่มีเงินส่งเงินต้นแต่มีเงินส่งดอกเบี้ยเจ้าหนี้ก็จะไม่ว่าอะไร และลูกหนี้ก็จะถูกกินเงิน ถูกกินค่าดอกเบี้ยมหาโหดไปเรื่อย ๆ และนายทุนเงินกู้นอกระบบก็ไม่เคยสนใจ เพราะเจ้าหนี้ล้วนแต่อยากได้ ‘ดอกเบี้ยมหาโหด’” 

 

หนึ่งในมาตรการที่รัฐบาล นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน เดินหน้าช่วยเหลือประชาชน คือ มาตรการแก้หนี้นอกระบบ ที่เป็นปัญหาใหญ่ของคนไทยในขณะนี้ โดยทำงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงการคลัง ดีเดย์เปิดลงทะเบียนผู้ประสบปัญหาหนี้นอกระบบ 1 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา

ล่าสุด ปลัด มท. เผยยอดลงทะเบียนหนี้นอกระบบครบ 15 วัน มูลหนี้ 5,700 ล้านบาท ประชาชนลงทะเบียนแล้วกว่า 96,000 หมื่นราย 

โดยตัวเลขการลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ 15 วัน นับตั้งแต่เปิดลงทะเบียน พบว่า 

  • มีมูลหนี้รวม 5,704.415 ล้านบาท 

  • ประชาชนลงทะเบียนแล้ว 96,783 ราย แบ่งเป็น
  1. การลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ 85,820 ราย 
  2. การลงทะเบียน ณ ศูนย์อำนวยการแก้ไขหนี้นอกระบบ 10,963 ราย 
  • จังหวัดที่มีผู้ลงทะเบียนมากที่สุด 5 ลำดับแรก ดังนี้ 
  1. กรุงเทพมหานคร ยังมากที่สุด มีผู้ลงทะเบียน 6,122 ราย เจ้าหนี้ 5,033 ราย มูลหนี้ 485.281 ล้านบาท 
  2. จังหวัดนครศรีธรรมราช มีผู้ลงทะเบียน 4,165 ราย เจ้าหนี้ 3,308 ราย มูลหนี้ 250.055 ล้านบาท 
  3. จังหวัดสงขลา มีผู้ลงทะเบียน 3,861 ราย เจ้าหนี้ 2,702 ราย มูลหนี้ 240.432 ล้านบาท 
  4. จังหวัดนครราชสีมา มีผู้ลงทะเบียน 3,751 ราย เจ้าหนี้ 2,336 ราย มูลหนี้ 274.405 ล้านบาท 
  5. จังหวัดขอนแก่น มีผู้ลงทะเบียน 2,512 ราย เจ้าหนี้ 1,956 ราย มูลหนี้ 179.602 ล้านบาท 
  • จังหวัดที่มีผู้ลงทะเบียนน้อยที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ 
  1. จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีผู้ลงทะเบียน 130 ราย เจ้าหนี้ 83 ราย มูลหนี้ 5.284 ล้านบาท
  2. จังหวัดระนอง มีผู้ลงทะเบียน 196 ราย เจ้าหนี้ 126 ราย มูลหนี้ 14.042 ล้านบาท 
  3. จังหวัดสมุทรสงคราม มีผู้ลงทะเบียน 258 ราย เจ้าหนี้ 177 ราย มูลหนี้ 8.32 ล้านบาท 
  4. จังหวัดตราด มีผู้ลงทะเบียน 330 ราย เจ้าหนี้ 197 ราย มูลหนี้ 10.237 ล้านบาท
  5. จังหวัดมุกดาหาร มีผู้ลงทะเบียน 355 ราย เจ้าหนี้ 243 ราย มูลหนี้ 20.902 ล้านบาท

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เผยว่า “ ‘หนี้นอกระบบเป็นเหมือนไฟไหม้บ้าน’ หากลูกหนี้ไม่มีเงินส่งดอกตรงเวลาเจ้าหนี้ก็จะเอาเรื่อง แต่หากไม่มีเงินส่งเงินต้นแต่มีเงินส่งดอกเบี้ยเจ้าหนี้ก็จะไม่ว่าอะไร และลูกหนี้ก็จะถูกกินเงิน ถูกกินค่าดอกเบี้ยมหาโหดไปเรื่อย ๆ และนายทุนเงินกู้นอกระบบก็ไม่เคยสนใจ เพราะเจ้าหนี้ล้วนแต่อยากได้ ‘ดอกเบี้ยมหาโหด’” 

ดังนั้น ทีมมหาดไทยทุกพื้นที่ต้องบูรณาการทุกหน่วยงานช่วยกันประชาสัมพันธ์ว่า ลูกบ้านคนใดเป็นลูกหนี้มหาโหด ก็ขอให้ไปบอกนายอำเภอ เพื่อที่จะได้เชิญเจ้าหนี้และลูกหนี้มาเจรจาไกล่เกลี่ยหนี้ ว่ามีดอกเท่าไหร่ เงินต้นเท่าไหร่ ส่งไปแล้วเท่าไหร่ จะได้มีแนวทางการวางแผนใช้หนี้ ซึ่งการแก้ไขปัญหาของอำเภอลักษณะนี้ ถือเป็น “ยาฝรั่ง” แต่สิ่งที่จะเป็น "ยาไทย" คือ ต้องส่งเสริมให้คนหันมาพึ่งพาตนเอง ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น ลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือน เช่น การทำให้พื้นที่รอบบ้านเป็นแหล่งอาหาร ทั้งปลูกพืชผักสวนครัว พืชสมุนไพร เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงกบ เลี้ยงปลา เพื่อจะได้ประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ขณะเดียวกันก็ต้องใช้กลไกทีมบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน หนุนเสริมการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ เพื่อประชาชนจะได้มีเงินไว้ใช้ในชีวิตประจำวันร่วมกับครอบครัว

ขณะนี้ ในหลายพื้นที่ได้เข้าสู่กระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยหนี้ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้แล้ว และในบางพื้นที่ก็ยังคงเกิดกระแสการตื่นตัวของเจ้าหนี้ที่มีการออกมาแสดงการข่มขู่ และสร้างความตื่นตระหนกแก่ประชาชน 

จึงขอให้ฝ่ายปกครองได้บูรณาการร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และองคาพยพในระดับพื้นที่ ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยในการปราบปรามผู้มีอิทธิพลอย่างเข้มข้น 

หากพบการกระทำผิดกฎหมายต้องดำเนินคดีอย่างเด็ดขาด และขอให้ทุกภาคส่วนยังคงช่วยกันสร้างการรับรู้ให้แก่พี่น้องประชาชนได้ลงทะเบียนควบคู่กับการให้ความช่วยเหลือตามแนวทางที่กำหนดอย่างสุดความสามารถ

โดยกระทรวงมหาดไทยยังคงเปิดรับลงทะเบียนพี่น้องประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาหนี้นอกระบบ ทั้งทางออนไลน์ที่ https://debt.dopa.go.th หรือวอร์คอินได้ ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขตทั่วประเทศ โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนศูนย์ดำรงธรรม โทร. 1567 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชนในพื้นที่

นอกจากนี้ สำหรับแนวทางช่วยเหลือลูกหนี้ หลากหลายกลุ่มด้วยกัน ที่จะได้รับประโยชน์จากมาตรการแก้หนี้ดังกล่าว 

มีดัง

  1. แก้หนี้กลุ่มเกษตรกร : พักหนี้เกษตรกรทั้งต้นและดอก วงเงินไม่เกิน 300,000 บาท/ราย รวมระยะเวลา 3 ปี โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อ 26 ก.ย. 2566 
  2. หนี้นักศึกษา (หนี้ กยศ.) : ลดดอกเบี้ย /ปรับแผนจ่ายเงิน /ปลดผู้ค้ำประกัน /ถอนอายัดบัญชี 
  3. แก้หนี้ครู และข้าราชการ : หักหนี้ไม่เกิน 70% ของเงินเดือน และจัดทำสวัสดิการเงินกู้ข้าราชการ (ดอกเบี้ยต่ำ)
  4. แก้หนี้บัตรเครดิตกับรัฐบาล : ปรับโครงสร้างหนี้ ผ่านโครงการ “คลินิกแก้หนี้” ผ่อนได้นาน 10 ปี ลดดอกเบี้ยเหลือ 3-5% ต่อปี 
  5. แก้หนี้สินเชื่อรถยนต์ และ รถจักรยานยนต์ : ให้สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ และรถมอเตอร์ไซค์ เป็นสัญญาควบคุม และให้ สคบ.ดำเนินการได้เลย 
  6. แก้หนี้กลุ่มธุรกิจ SME : ยกเลิกสถานะหนี้เสีย สำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19  และให้สามารถปรับโครงสร้างหนี้ 
  7. หนี้เสีย ( NPL) :  ตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างธนาคารของรัฐ กับบริษัทบริหารสินทรัพย์เพื่อรับโอนหนี้เสีย 

มาตรการแก้หนี้ของรัฐบาลได้ออกมา เป็นความพยายามแก้ไขหนี้ของประเทศอย่างเป็นระบบ และทุกกลุ่ม เพราะขณะนี้ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูง เงินออมที่ลดลง ถือเป็นปัญหาใหญ่ต่อระบบเศรษฐกิจไทย เพราะจะส่งผลกระทบต่อการบริโภคภายในประเทศ ส่งต่อผลกระทบมายังผู้ประกอบการให้ขายของหรือธุรกิจมีปัญหาได้ในอนาคต และจะส่งต่อผลกระทบให้เป็นหนี้เสียในระบสถาบันการเงินได้ จะเป็นผลกระทบเป็นโดมิโนเอ็กเฟ็กซ์ต่อระบบเศรษฐกิจไทย

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT