ข่าวเศรษฐกิจ

ประกันสังคม ม.33 ต้องรู้ ! เตรียมปรับเงินสมทบใหม่ เริ่มปี 2567

9 ก.พ. 66
ประกันสังคม ม.33 ต้องรู้ ! เตรียมปรับเงินสมทบใหม่ เริ่มปี 2567
ไฮไลท์ Highlight
ล่าสุด กระทรวงแรงงานได้ออกร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ…… โดยประเด็นสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ คือ กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ….มีการปรับฐานค่าจ้างขั้นสูงจาก 15,000 ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ดังนี้

กว่า 28 ปี ที่กองทุนประกันสังคมด้กำหนดค่าจ้างขั้นสูงไว้สำหรับคำนวณเงินสมทบทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนมาตรา 33 ไว้ไม่เกิน 15,00 บาท ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 และกำหนดให้ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบสูงสุดที่ 750 บาท/เดือน

การจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ม. 33 ปัจจุบัน

  • เงินเดือน 5,000 บาท จ่ายเงินสมทบ 250 บาท
  • เงินเดือน 10,000 บาท จ่ายเงินสมทบ 500 บาท
  • เงินเดือน 15,000 บาท จ่ายเงินสมทบ 750 บาท 
  • เงินเดือนมากกว่า 15,000 บาท จ่ายเงินสมทบ 750บาท

เมื่อสถานการณ์เศรษฐกิจ สังคม เงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้น ราคาน้ำมันในตลาดโลก เพดานค่าจ้างขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ หรือแม้แต่ค่าแรงขั้นต่ำของไทยที่ปรับเพิ่มขึ้น ราคาสินค้า ราคาอาหาร หรือค่ารักษาพยาบาลต่างๆ ปรับตัวสูงขึ้นมาโดยตลอด  วันนี้ แค่ค่าข้าวแกงราคา 20-35 บาท/จาน แทบจะหาไม่เห็นแล้ว 

เกณฑ์ประกันสังคมใหม่

ล่าสุด กระทรวงแรงงานได้ออกร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ……

โดยประเด็นสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ คือ กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ….มีการปรับฐานค่าจ้างขั้นสูงจาก 15,000 ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ดังนี้

  1. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567- 31 ธันวาคม 2569 จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 17,500 บาท
  2. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2570- 31 ธันวาคม 2572 จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 20,000 บาท
  3. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2573 เป็นต้นไป จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 23,000 บาท

   ตัวอย่างผลต่อผู้ประกันตน

ใน พ.ศ. 2567 ผู้ประกันตนที่ค่าจ้างมากกว่า 17,500 บาท จะส่งเงินสมทบเดือนละ 875 บาท (เดิม 750 บาท) และจะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น เช่น เงินทดแทนขาดรายได้กรณีว่างงานเพิ่มเป็นเดือนละ 8,750 บาท (เดิม 7,500 บาท)  

โดยเปิดรับฟังความคิดเห็นร่างกฎกระทรวงกำหนดเพดานค่าจ้างผู้ประกันตนมาตรา 33 ตั้งแต่ 1 ก.พ.66- 28 ก.พ.66 นี้ และจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป    

กดที่ลิงค์นี้  https://law.go.th/listeningDetail?survey_id=MTUxMURHQV9MQVdfRlJPTlRFTkQ=

 

เกณฑ์ประกันสังคมใหม่

ปี 2567-2569 จํานวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 17,500 บาท

  • เงินเดือน 5,000 บาท จ่ายเงินสมทบ 250 บาท
  • เงินเดือน 10,000 บาท จ่ายเงินสมทบ 500 บาท
  • เงินเดือน 15,000 บาท จ่ายเงินสมทบ 750 บาท
  • เงินเดือน 17,500 บาท จ่ายเงินสมทบ 875 บาท
  • เงินเดือนมากกว่า 17,500 บาท จ่ายเงินสมทบ 875 บาท

ปี 2570-2572 จํานวนไม่ต่ํากว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 20,000 บาท

  • เงินเดือน 5,000 บาท จ่ายเงินสมทบ 250 บาท
  • เงินเดือน 10,000 บาท จ่ายเงินสมทบ 500 บาท
  • เงินเดือน 15,000 บาท จ่ายเงินสมทบ 750 บาท
  • เงินเดือน 17,500 บาท จ่ายเงินสมทบ 875 บาท
  • เงินเดือน 20,000 บาท จ่ายเงินสมทบ 1,000 บาท
  • เงินเดือนมากกว่า 20,000 บาท จ่ายเงินสมทบ 1,000 บาท

ปี 2573 เป็นต้นไป ไม่ต่ํากว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 23,000 บาท

  • เงินเดือน 5,000 บาท จ่ายเงินสมทบ 250 บาท
  • เงินเดือน 10,000 บาท จ่ายเงินสมทบ 500 บาท
  • เงินเดือน 15,000 บาท จ่ายเงินสมทบ 750 บาท
  • เงินเดือน 17,500 บาท จ่ายเงินสมทบ 875 บาท
  • เงินเดือน 20,000 บาท จ่ายเงินสมทบ 1,000 บาท
  • เงินเดือน 23,000 บาท จ่ายเงินสมทบ 1,150 บาท
  • เงินเดือนมากกว่า 23,000 บาท จ่ายเงินสมทบ 1,150 บาท

ประกันสังคม

สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนมาตรา 33

สำหรับผู้ประกันตนคือทำให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมเพิ่มขึ้นเนื่องจากฐานที่ใช้ในการคำนวณเพื่อรับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวจะคำนวณจากค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม ดังนี้

  1. เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วย 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน
  2. เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ 70% หรือ 30% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน
  3. เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน
  4. เงินสงเคราะห์กรณีตาย 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน
  5. เงินทดแทนการขาดรายได้ในกรณีว่างงาน 50% หรือ 30% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน
  6. เงินบำนาญชราภาพ ไม่ต่ำกว่า 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่นำส่งเข้ากองทุน โดยผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบ 15 ปี จะได้รับบำนาญ 20% ของค่าจ้าง ส่วนผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบมากกว่า 15 ปี จะได้รับบำนาญเพิ่มอีก 1.5% ทุกการส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน

สำหรับเงินบำเหน็จชราภาพจะได้รับเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติเนื่องจากมีการนำส่งเงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเพิ่มขึ้นจากการปรับฐานที่ใช้ในการคำนวณเงินสมทบ

สิทธิประโยชน์ประกันสังคม

ปี 65 มีจำนวนผู้ประกันตร มาตรา 33 ที่ 11.63 ล้านคน

โดยตัวเลขจำนวนผู้ประกันตน มาตรา 33 จากสำนักงานประกันสังคม ระบุว่าณ เดือนธันวาคม 2565 มีจำนวน 11,638,041 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวนผู้ประกันตน มาตรา 33 อยู่ที่  11,137,211 คน

ประกันสังคม

 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT