ข่าวเศรษฐกิจ

อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยยังต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในเอเชีย

29 ม.ค. 66
อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยยังต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในเอเชีย
ไฮไลท์ Highlight
"ทั้งนี้สถานการณ์เศรษฐกิจไทยยังพอไปได้ด้วยอานิสงค์จากการท่องเที่ยวกระแสเงินไหลเข้าทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย แต่ไทยก็ยังเสี่ยงเงินเฟ้อพื้นฐานที่ยังคงมีแรงส่้งอยู่ เชื่อว่า กนง. ต้องประเมินดอกเบี้ยนโยบายให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจไทยด้วย  เพราะ ในขาของความเสี่ยงที่จะถูกกระทบจากเศรษฐกิจโลกถดถอยหรือชะลอตัวก็อาจจะเกิดขึ้นได้เช่นกัน การขึ้นดอกเบี้ยแรงๆ อาจจะไม่เหมาะกับเศรษฐกิจไทยในปี 2023"   

สัปดาห์นี้เป็นช่วงเวลาของการประชุมธนาคารกลางยักษ์ใหญ่หลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น FED , ECB,ฺแน่นอนว่าการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FED  ในวันที่ 31 ม.ค. -1 ก.พ.ถูกจับตามองมากที่สุด 


 Fed จะผ่อนคันเร่งขึ้นดอกเบี้ยแค่ 0.25% ในการประชุมสัปดาห์นี้? 

โดยตลาดคาดการณฺ์ว่า การประชุมนัดแรกของเฟดปี 2023 จะขึ้นดอกเบี้ยแค่ 0.25% หลังจากในปี 2022 ทั้งปี เฟดขึ้นดอกเบี้ยไปทั้งหมด 7 ครั้ง คิดเป็น 4.25%  โดยได้ขึ้นดอกเบี้ยแรง 0.75% ถึง 4 ครั้ง ก่อนที่การประชุมนัดสุดท้ายเมื่อเดือนธันวาคม 2022 เฟดจะผ่อนคันเร่งขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ทำให้ระดับอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ที่ 4.25-4.50% เป็นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐที่ "สูงที่สุดในรอบ 15 ปี"

แต่เนื่องจากสถานการณ์เงินเฟ้อของสหรัฐ เริ่มอยู่ในทิศทางที่ชะลอลงบ้าง แต่ความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจถดถอยยังคงอยู่ทำให้ตลาดมองการขึ้นดอกเบี้ยแรงๆแบบปีก่อนลดน้อยลงไป    

แน่นอนว่าแรงส่งของการขึ้นดอกเบี้ยจากFED ได้ส่งต่อไปยังธนาคารกลางทั่วโลกให้ขึ้นดอกเบี้ยตาม แต่ทั้งนี้การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของแต่ละประเทศก็ยังมีปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจของแต่ละประเทศเป็นตัวกำหนดอีกด้วย เช่น  การขยายตัวของเศรษฐกิจ , อัตราเงินเฟ้อ, อัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น


ดอกเบี้ยนโยบาบของไทยยังต่่ำสุดในภูมิภาค



สำหรับประเทศไทย การประชุมนัดแรกของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 25 ม.ค.2566 มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% อยู่ที่ 1.50% เป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ โดยตลอดปี 2565 กนง.ขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้ง รวม 0.75%  ซึ่งดูเหมือนยังห่างกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารสหรัฐฯ รวมไปถึงประเทศอื่นๆอีกด้วย   

ทีมงาน SPOTLIGHT จึงรวบรวมข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยกับประเทศต่างๆในเอเชีย  และเทียบเคียงกับสถานการณ์อัตราเงินเฟ้อของแต่ละประเทศ เพื่อประเมินสถานการณ์ว่า “ทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบาย” ในปี 2566 จะเป็นอย่างไร ดอกเบี้ยต้องขึ้นแรง เพื่อปราบเงินเฟ้อกันต่ออีกหรือไม่ หรือปีนี้ “ความเสี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอย” อาจจะน่ากลัวกว่าเงินเฟ้อก็เป็นได้ 

เทียบดอกเบี้ยนโยบาย

จากข้อมลจะเห็นได้ว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ในระดับต่ำสุด ในเอเชียด้วยซ้ำ หากไม่นับรวมญี่ปุ่น  แต่ขณะที่อัตราเงินเเฟ้อของประเทศไทยก็อยู่ในระดับสูง  


 เศรษฐกิจไทย ปี 2566 อาจไม่เหมาะกับการขึ้นดอกเบี้ยแรง 


คุณกอบสิทธิ์ ศิลปชัย  ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย มองว่า ตลอดทั้งปี 2566 ธนาคารแห่งประเทศไทย จะมีการขึ้นดอกเบี้ยให้อยู่ที่ 1.75 % โดยคา่ดว่า การประชุม กนง.ในสิ้นเดือนมีนาคมนี้ กนง.จะขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง 0.25% ซึ่งถือว่าเป็นระดับอัตราดอกเบี้ยที่ใกล้เคียงกับปี 2019 ที่เป็นสถานการณ์ก่อนโควิด19


"ทั้งนี้สถานการณ์เศรษฐกิจไทยยังพอไปได้ด้วยอานิสงค์จากการท่องเที่ยวกระแสเงินไหลเข้าทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย แต่ไทยก็ยังเสี่ยงเงินเฟ้อพื้นฐานที่ยังคงมีแรงส่้งอยู่ เชื่อว่า กนง. ต้องประเมินดอกเบี้ยนโยบายให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจไทยด้วย  เพราะ ในขาของความเสี่ยงที่จะถูกกระทบจากเศรษฐกิจโลกถดถอยหรือชะลอตัวก็อาจจะเกิดขึ้นได้เช่นกัน การขึ้นดอกเบี้ยแรงๆ อาจจะไม่เหมาะกับเศรษฐกิจไทยในปี 2023" 

 

 

คุณกอบสิทธิ์ ศิลปชัย  ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย
คุณกอบสิทธิ์ ศิลปชัย  ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย


คุณกอบสิทธิ์ ประเมินทิศทาง อัตราดอกเบี้ยของเฟดน่าจะขึนดอกเคงดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง  เชื่อว่า จะขึ้นทีละ 0.25% อีก 2 ครั้ง แม้ว่าเฟดจะอยากคงดอกเบี้ยไว้ 5% แต่กอบสิทธิ์ มองว่าา บริบทหนี้ในสหรัฐฯทุกภาคโตแบบก้าวกระโดด อาจจะไม่ได้  เกิน 240% ต่อ GDP ดังนั้นดอกเบี้ย 5% ในระดับที่สูง ราว มีนาคม  เป็นการเพิ่มต้นทุน และยิ่งขึ้นดอกเบี้ยนจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้  ตลาดจึงมองล่วง ว่า หลังเดือนมีนาคม อาจจะเห็นสัญญาณการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้

นักเศรษฐศาตร์ ประเมินว่า ภายใน 1 ปี เศรษฐกิจสหรัฐฯจะเข้าสู่ภาวะถดถอยประมาณ 65% และเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ยุโรป เริ่มผ่านจุดสูงสุดไปแล้วในปี 2023 อัตราเงินเฟ้อเตรียมเข้าสู่ขาลง ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยนโยบาของเฟดมีแนวโน้มจะต้องลดลงหลังไตรมาส 1 นี้ผ่านไปเช่นกัน เพื่อประคองภาวะเศรษฐกิจไม่ให้ถดถอยนั่นเอง  

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT