การเงิน

เช็คที่นี่! อัตราดอกเบี้ย 3 แบงก์ใหญ่ขึ้นแล้ว ทั้งเงินกู้ และเงินฝาก

29 ม.ค. 66
เช็คที่นี่! อัตราดอกเบี้ย 3 แบงก์ใหญ่ขึ้นแล้ว ทั้งเงินกู้ และเงินฝาก

เมื่อการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) นัดแรกปี 2566 (25 ม.ค.2566) มีมติเป็นเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% อยู่ที่ 1.50% จากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง ตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนจะได้รับแรงส่งต่อเนื่องจากการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีน ขณะที่การส่งออกสินค้าชะลอตัวในปีนี้ แต่จะกลับมาขยายตัวดีขึ้นในปี 2567 ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ปรับดีขึ้น ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มลดลง

หลังจากนั้น ธนาคารต่างๆ ขานรับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) นำโดยธนาคารพาณิชย์ของรัฐ ที่ต่างพากันขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้

เริ่มจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภท 0.25% ต่อปี มีผลตั้งแต่วันที่ 26 ม.ค.2566 เป็นครั้งแรกรอบ 2 ปี 9 เดือน ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของ ธอส. เป็นดังนี้  

  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) อยู่ที่ 6.00% ต่อปี 
  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้เบิกเกินบัญชี (MOR) อยู่ที่ 6.15% ต่อปี 
  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) อยู่ที่ 6.40% ต่อปี

ตามมาด้วยธนาคารออมสิน ก็เช่นเดียวกันประกาศในเว็บไซต์ธนาคาร เมื่อวันที่ 27 ม.ค.2566 ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภท 0.25% ต่อปี ซึ่งไม่ได้มีการปรับขึ้นเป็นเวลากว่า 2 ปี

  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) อยู่ที่ 6.40% ต่อปี 
  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้เบิกเกินบัญชี (MOR) อยู่ที่ 6.245% ต่อปี 
  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) อยู่ที่ 6.495% ต่อปี

รวมถึง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ 0.125% - 0.25% ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ตั้งแต่ 1 ก.พ. 66 

  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) อยู่ที่ 5.125% ต่อปี 
  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้เบิกเกินบัญชี (MOR) อยู่ที่ 6.50% ต่อปี 
  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) อยู่ที่ 6.625% ต่อปี

350830

 

ด้านธนาคารพาณิชย์ นำโดยธนาคารกรุงเทพ (BBL) ที่ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเว็บไซต์ และมีผลตั้งแต่ 27 ม.ค.2566 เช่นเดียวกับธนาคารออมสิน โดยประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก   0.05%-0.25% ต่อปี ดังนี้

อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์  อยู่ที่  0.50%  ต่อปี      

  • ฝากประจำ 3 เดือน อยู่ที่  0.75%  ต่อปี          
  • ฝากประจำ 6 เดือน อยู่ที่  0.85%  ต่อปี         
  • ฝากประจำ 12 เดือน  อยู่ที่  1.15%  ต่อปี              
  • ฝากประจำ 24 เดือน  อยู่ที่  1.50%  ต่อปี      

พร้อมปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 0.15%-0.20% ต่อปี ดังนี้

  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) อยู่ที่ 6.45% ต่อปี 
  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้เบิกเกินบัญชี (MOR) อยู่ที่ 6.90% ต่อปี 
  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) อยู่ที่ 6.80% ต่อปี

ขณะนี้ ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ก็ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเช่นเดียวกัน โดยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำให้สูงขึ้น  0.10% - 0.25% ต่อปี มีผลตั้งแต่ 30 ม.ค.2566 ดังนี้

  • อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์  อยู่ที่  0.25%  ต่อปี      
  • ฝากประจำ 3 เดือน อยู่ที่  0.67%-0.72%  ต่อปี          
  • ฝากประจำ 6 เดือน อยู่ที่  0.75%-0.80%  ต่อปี         
  • ฝากประจำ 12 เดือน  อยู่ที่  1.10%-1.15%  ต่อปี              
  • ฝากประจำ 24 เดือน  อยู่ที่  1.35%-1.45%  ต่อปี     

และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 0.10%-0.20% ต่อปี ดังนี้

  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) อยู่ที่ 6.57% ต่อปี 
  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้เบิกเกินบัญชี (MOR) อยู่ที่ 6.89% ต่อปี 
  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) อยู่ที่ 6.60% ต่อปี

“ ตามการส่งผ่านนโยบายการเงิน และเพิ่มกำลังซื้อให้กับลูกค้าในภาวะที่ภาระค่าใช้จ่ายยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง ธนาคารจึงได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำให้สูงขึ้น  0.10% - 0.25% ต่อปี และเพื่อดูแลลูกค้ารายย่อยและผู้ประกอบการรายเล็กให้สามารถปรับตัวได้อย่างราบรื่นในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยปรับสูงขึ้น ธนาคารจึงดำเนินการปรับดอกเบี้ยเงินกู้อย่างรอบคอบและระมัดระวัง” นายกฤษณ์ จิตต์แจ้ง กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า 

ทั้งนี้ ธนาคารยังคงให้ความสำคัญกับการดูแลและช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้ลูกค้ารายย่อยและกลุ่มเปราะบางอย่างต่อเนื่อง โดยจะพิจารณามาตรการความช่วยเหลือให้เหมาะสมกับลูกค้าที่อาจได้รับผลกระทบและคำนึงถึงศักยภาพ และโอกาสในการปรับตัวของลูกค้าในอนาคต โดยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบสามารถดำเนินการติดต่อผ่านช่องทางต่าง ๆ ของธนาคาร

ขณะที่ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ตามมาติดๆ ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝาก 0.10%-0.25% ต่อปี มีผลตั้งแต่ 30 ม.ค.2566 ดังนี้

  • อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์  อยู่ที่  0.25%  ต่อปี      
  • ฝากประจำ 3 เดือน อยู่ที่  0.87%  ต่อปี          
  • ฝากประจำ 6 เดือน อยู่ที่  0.95%  ต่อปี         
  • ฝากประจำ 12 เดือน  อยู่ที่  1.25%  ต่อปี              
  • ฝากประจำ 24 เดือน  อยู่ที่  1.65%  ต่อปี   

และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 0.10%-0.20% ต่อปี ดังนี้

  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) อยู่ที่ 6.350% ต่อปี 
  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้เบิกเกินบัญชี (MOR) อยู่ที่ 6.895% ต่อปี 
  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) อยู่ที่ 6.620% ต่อปี

นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ จากภาวะเศรษฐกิจไทยที่กำลังมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายยังคงอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น ส่งผลต่อเนื่องมายังต้นทุนในระบบธนาคารที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตาม”

นอกจากนี้ เพื่อให้การดำเนินงานของธนาคารไทยพาณิชย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับทิศทางดอกเบี้ยภายในประเทศ และสะท้อนต้นทุนทางการเงินในระบบที่สูงขึ้น ธนาคารจึงมีความ

จำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อช่วยส่งเสริมการออมเงินในระยะยาวและให้ผู้ฝากเงินมีรายได้เพิ่มขึ้น ตามทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้

อัตราดอกเบี้ยของไทยถือว่า ยังอยู่ในช่วงขาขึ้นต่อไป เพื่อสกัดเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบเป้าหมายของแบงก์ชาติที่ 1.0-3.0% ในแง่บวกของเราๆ คือ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ปรับเพิ่มขึ้น สำหรับผู้มีเงินฝาก จากที่ไม่ได้มีการปรับขึ้นมาหลายปี ขณะที่สำหรับคนมีหนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ก็ปรับเพิ่มขึ้น เมื่ออัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้น คนมีหนี้ก็จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเช่น 

แต่หากท่านไม่สามารถแบกรับภาระหนี้ไหว ก็อยากจะแนะนำให้ปรึกษาธนาคารที่ท่านขอสินเชื่อ หรือเข้าร่วมงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ของแบงก์ชาติได้ ยังเป็นตัวช่วยให้ท่านผ่านวิกฤตหนี้ไปได้…ปัญหาทุกอย่างย่อมมีทางแก้ไข…ขอเพียงท่านค่อยๆ คิด ค่อยๆ หาทางแก้ปัญหา

advertisement

SPOTLIGHT