ข่าวเศรษฐกิจ

ประชากรโลกแตะ 8,000 ล้านคนแล้ว! และจะไปถึง 1 ล้านล้านคน ในปี 2080

17 พ.ย. 65
ประชากรโลกแตะ 8,000 ล้านคนแล้ว! และจะไปถึง 1 ล้านล้านคน ในปี 2080

ปี 2022 โลกมีประชากรแตะ 8,000 ล้านคนเรียบร้อยแล้ว "จีน" ยังครองแชมป์เบอร์ 1 แต่คาดว่าปีหน้า "อินเดีย" จะขึ้นแซงหน้า


เมื่อวันอังคาร ที่ 15 พ.ย. องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่า โลกของเรามีประชากรแตะ 8,000 ล้านคนเรียบร้อยแล้ว โดยใช้เวลาราว 11 ปี  แม้ว่าจำนวนประชากรโลกจะมีมากถึง 8,000 ล้านคน แต่ในภาพใหญ่คือ อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกนั้นลดลงอย่างต่อเนือง 

3 ประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก คือ 

  1. จีน 1,425 ล้านคน
  2. อินดีย 1,420 ล้านคน
  3. สหรัฐอเมริกา 338  ล้านคน

UN ประเมินว่า อินเดียจะแซงจีนขึ้นมาเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลกในปี 2023 นี้ คาดว่าจีนจะมีประชากรลดลงในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า

 

ทั้งนี้แถบประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียและแอฟริกายังมีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรมาก และคาดว่าประชากรของยุโรปจะลดลง

 
artboard1(61)

เกิดน้อย ตายช้า ปัญหาเยอะ สิ


แม้ว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกจะอยู่ในลักษณะที่ชะลอตัวลงมาก แต่ก็พบว่า อายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์ยืนยาวมากขึ้นโดยอายุขัยเฉลี่ยประชากรทั่วโลกอยู่ที่ 72.8 ปีในปี 2019 ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบ 9 ปี นับตั้งแต่ปี 1990 และคาดว่าอายุขัยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 77.2 ปี ภายในปี 2050

นั่นจึงทำให้จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในช่วงห้าทศวรรษที่ผ่านมา
จากประชากรโลกมี4 พันล้านคนในปี พ.ศ. 2517 และใช้เวลาเพียงกว่าทศวรรษเล็กน้อยกว่าที่โลกจะเพิ่มประชากรพันล้านคน

ล่าสุดหลังจากที่มีจำนวนถึง 7 พันล้านคนในปี พ.ศ. 2554 หรือ 2011 UN คาดว่าจำนวนประชากรโลกจะแตะจุดสูงสุดที่ 1.04 หมื่นล้านคนในช่วง 2623 และจะคงอยู่ในระดับดังกล่าวจนเข้าสู่ช่วงปี 2640

องค์การสหประชาชาติกล่าวในปี 2563 ที่โลกต้องเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19  อัตราการเติบโตของประชากรโลกลดลงต่ำกว่า 1% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2493 และปัจจุบันอัตราการเกิดของประชากรอยู่ที่ 2.3 คนต่อผู้หญิงหนึ่งคน ลดลงจากการเกิดเฉลี่ย 5 ครั้งในปี 2493  ขณะเดียวกันคาดว่าในปี 2593 อัตราการเกิดจะลดลงเล็กน้อยเหลือ 2.1 คน

ประชากรอินเดีย

ความท้าทายเมื่อโลกต้องมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น คือ จำนวนผู้คนหลายพันล้านที่ยังคงต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด ท่ามกลางปัญหาบนโลกใบนี้ที่มีหลากหลายมิติที่ต้องรับมือ ทั้งทรัพยากรบนโลกที่ลดลงไปเรื่อยๆ ความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียม การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ความอดอยาก  สงคราม และ ปัญหาเศรษฐกิจ นี่จึงอาจจะเป็นปัจจัยกำหนดจำนวนประชากรโลกในอนาคต

 

advertisement

SPOTLIGHT