ข่าวเศรษฐกิจ

เงินเยนอ่อนค่าหนักสุดในรอบ 32 ปี 150 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

21 ต.ค. 65
เงินเยนอ่อนค่าหนักสุดในรอบ 32 ปี 150 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ
ไฮไลท์ Highlight
แบบจำลองทางเศรษฐกิจของ Nikkei NEEDS คาดการณ์ว่าหากเงินเยนอ่อนค่าอยู่ที่ประมาณ 150 ต่อดอลลาร์ นั่นจะทำให้ญี่ปุ่นนำเข้าน้ำมันดิบในราคาที่เพิ่มขึ้นเป็น 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลจากปัจจุบันอยู่ที่ราว 80 ดอลลาร์  และเยนที่อ่อนหนัก ยังทำให้ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นลดลงเรื่อยๆ เหลือระหว่าง 1 ล้านล้านเยนถึง 3 ล้านล้านเยน ในปีงบประมาณ 2566 และ 2567 จากที่การเกินดุลเคยมากกว่า 12 ล้านล้านเยนในปีงบประมาณ 2564  และเป็นไปได้ว่าดุลบัญชีเดืนสะพัดจะติดลบ หากว่าราคาน้ำมันไปถึง 120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

ญี่ปุ่นยังเจอปัญหาค่าเงินของเยนอ่อนค่าหนัก โดยเมื่อวานนี้เยนอ่อนค่าทะลุ 150 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ  ซึ่งเป็นแนวรับทางจิตวิทยาที่สำคัญ เป็นการทำสถิติอ่อนค่าสุดในรอบ 32 ปี นับตั้งแต่สิงหาคม 1990


การอ่อนค่าของเยนเกิดขึ้นทั้งที่ทางการได้เข้าไปดูแลอย่างต่อเนื่องโดยวันนี้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นแบบฉุกเฉินเป็นครั้งที่ 2 หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10ปีแตะระดับ 0.255% ซึ่งสูงกว่าเพดานที่ BOJ กำหนดไว้ที่ 0.25% โดย BOJ เข้าซื้อพันธบัตรเป็นวงกว้าง ตั้งแต่พันธบัตรอายุ 5 ปีไปจนถึงพันธบัตรที่มีอายุการไถ่ถอนนานกว่านั้น ในวงเงินรวมทั้งสิ้น 2.50 แสนล้านเยน (1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 20 ปี พุ่งทำนิวไฮเช่นกัน 

เยนอ่อนค่า

ผลกระทบเงินเยนอ่อนค่า

ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดหลังจากที่เงินเยนอ่อนค่าหนักคือ ทำให้ราคาอาหารและพลังงานในญี่ปุ่นแพงขึ้นตามไปด้วย ทั้งราคาอาหารและพลังงาน ก็เพิ่มสูงขึ้นมาตั้งแต่สงครามรัสเซียยูเครนปะทุขึ้น ซึ่งปัจจุบันทั้งน้ำมันดิบและข้าวสาลียังคงเพิ่มขึ้นประมาณ 40% ในรูปเงินเยน ทำให้ญี่ปุ่นสูญเสียรายได้จากการนำเข้ามหาศาลจนเกิดปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด  

นอกจากนี้นี้ เงินเยนที่อ่อนค่าเกินไปยังส่งผลกระทบต่อภาคแรงงานของญี่ปุ่นด้วย ทำให้ไม่น่าดึงดูดแรงงานต่างชาติมากนัก โดยเฉพาะเวียดนาม ซึ่งทางสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นคาดการณ์ว่า ประเทศยังต้องการแรงงานมากถึง 5 ล้านคนจากนี้จนถึงปี 2540 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเติบโตของรัฐบาล

Tohru Sasaki นักวิเคราะห์จาก จาก JPMorgan Chaseในโตเกียว บอกว่า ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงมากเกินไปโดยหาจุดต่ำสุดไมได้ ทำให้นักลงทุนรายย่อยนำเงินไปลงทุนในสกุลเงินอื่นหรือหุ้นต่างประเทศมากขึ้น สร้างความกังวลว่าเงินฝาก 100 ล้านล้านเยนของญี่ปุ่นกำลังจะเริ่มไหลออกนอกประเทศ

แบบจำลองทางเศรษฐกิจของ Nikkei NEEDS คาดการณ์ว่าหากเงินเยนอ่อนค่าอยู่ที่ประมาณ 150 ต่อดอลลาร์ นั่นจะทำให้ญี่ปุ่นนำเข้าน้ำมันดิบในราคาที่เพิ่มขึ้นเป็น 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลจากปัจจุบันอยู่ที่ราว 80 ดอลลาร์  และเยนที่อ่อนหนัก ยังทำให้ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นลดลงเรื่อยๆ เหลือระหว่าง 1 ล้านล้านเยนถึง 3 ล้านล้านเยน ในปีงบประมาณ 2566 และ 2567 จากที่การเกินดุลเคยมากกว่า 12 ล้านล้านเยนในปีงบประมาณ 2564  และเป็นไปได้ว่าดุลบัญชีเดืนสะพัดจะติดลบ หากว่าราคาน้ำมันไปถึง 120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นถือว่า เป็นการขาดดุลครั้งแรกในรอบ 42 ปี หรือตั้งแต่ปี 1980 ขณะเดียวกันการไหลออกของเงินทุนอาจทำให้ค่าเงินเยนยิ่งตกต่ำมากขึ้นเละเข้าสู่วงจรอุบาทว์ทางเศรษฐกิจ โดย IMF ประเมินว่า GDP ปีนี้ของญี่ปุ่นอยู่ที่ 1.7% เท่ากับปีที่แล้ว  ขณะที่ปี 2023 GDP ญี่ปุ่นจะอยู่ที่  1.6% ชะลอตัวลงจากปี2022 

 

ในปีที่ผ่านมาการอ่อนค่าของเงินเยน มีส่วนช่วยภาคการส่งออก และผู้ส่งออกก็ทำหน้าที่เป็นแรงเบรกค่าเงินด้วยการการแปลงสกุลเงินต่างประเทศที่พวกเขาได้รับกลับมาเป็นเงินเยน แต่ผลกระทบนี้ของเยนที่อ่อนค่าต่อเนื่อง ทำให้กระทบกับต้นทุนในภาคการผลิตที่สูงขึ้น แต่การเดินทางเข้าญี่ป่นของชาวต่างชาติ  ทำให้เกิดความต้องการเงินเยนมากขึ้น และทำให้เยนเริ่มฟื้นตัว 

 

อย่างไรก็ตาม เยนที่ยังอ่อนยิ่งทำให้ญี่ปุ่นขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมเป็นตัวบ่งชี้ว่าเกิดภาวะเงินไหลออกนอกประเทศ “ญี่ปุ่นซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง กำลังเปลี่ยนไปสู่การขาดดุลเชิงโครงสร้าง” ไดสุเกะ คารากามะ จากธนาคารมิซูโฮกล่าว

เยนอ่อนค่า
อัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง หรือวิธีการที่จะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนแข็งแกร่งขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินในต่างประเทศ ดูได้จากน้ำหนักของการค้าระหว่างประเทศและปรับอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งแนวโน้มของญี่ปุ่นยังไร้วี่แววที่จะเห็นค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นได้

ขณะเดียวกันค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาที่ญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเช่นกัน อย่างในเดือนกรกฎาคม หากคิดเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ ค่าอาหาร และที่พักเพิ่มขึ้น 40% เทียบกับปี 2562  JTB Tourism Research & Consulting ระบุว่า อัตราแลกเปลี่ยนกลายเป็นปัจจัยที่หลักมากกว่าเรื่องราคาไปแล้ว เช่นเดียวกับค่าใช้จ่ายในจุดหมายปลายทางในเอเชีย เช่น ไต้หวัน เวียดนาม และเกาหลีใต้ ก็เพิ่มขึ้น 20%-30%เช่นเดียวกัน ผลพวงของอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่าลง 

advertisement

SPOTLIGHT