ข่าวเศรษฐกิจ

บิตคอยน์ ฟื้น!หลังเงินเฟ้อสหรัฐฯออกมาสูงตาดคาด

13 ม.ค. 65
บิตคอยน์ ฟื้น!หลังเงินเฟ้อสหรัฐฯออกมาสูงตาดคาด
ไฮไลท์ Highlight
เราเชื่อว่าราคาบิตคอยน์จะปรับตัวขึ้นต่อไป โดยแบบจำลองของเราบ่งชี้ว่าราคาจะดีดตัวแตะ 50,000-75,000 ดอลลาร์ ผมค่อนข้างเชื่อมั่นว่าราคาจะไปถึงระดับดังกล่าว ปัญหาคือเมื่อไหร่เท่านั้น" นายบูห์เลอร์กล่าว

ราคาบิตคอยน์ ฟื้นกลับเหนือระดับ 43,000 ดอลลาร์/BTCในวันนี้ ขณะที่นักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะไม่เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังสหรัฐตัวเลขเงินเฟ้อออกมาสอดคล้องกับคาดการณ์ของตลาด

 

13 ม.ค.65 เวลา 10.15 เว็บไซต์ Coinmarketcap ระบุราคา คริปโตเคอเรนซี่หลายสเหรียญราคาเริ่มฟื้นกลับ

  • บิตคอยน์พุ่งขึ้น 2.31 % สู่ระดับ 43,533.76  ดอลลาร์ ซึ่งถือว่า ฟื้นกลับจากการดิ่งลงไปต่ำกว่า 40,000 ดอลลาร์ราววันจันทร์ที่10 มกราคมที่ผ่านมา
  • อีเธอเรียม ฟื้นกลับมาบวกได้ 3.02% อยู่ที่ 3,327.27 ดอลลาร์  แต่หากนับในรอบ 7 วันทำการอีเธอเรียม ยังติดลบอยู่ราว5%  ขณะที่เหรียญอื่นๆ เริ่มฟื้นกลับมาเช่นกัน

ปัจจัยสำคัญ คือ ตัวเลขเงินเฟ้อในสหรัฐฯที่ประกาศออกมาไม่เหนือความคาดหมาย จึงทำให้นักลงทุนคลายกังวลโดยกระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค พุ่งขึ้น 7.0% ในเดือนธ.ค. 2564 เมื่อเทียบรายปี  ที่จริงเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.2525 และสอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ จากระดับ 6.8% ในเดือนพ.ย.

screenshot2565-01-13at10.

นายกิโด บูห์เลอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธนาคาร Seba จากสวิตเซอร์แลนด์ บอกว่า เขาเชื่อมั่นว่าบิตคอยน์จะพุ่งแตะระดับ 75,000 ดอลลาร์ในปีนี้ โดยได้แรงหนุนจากคำสั่งซื้อของนักลงทุนสถาบัน

เราเชื่อว่าราคาบิตคอยน์จะปรับตัวขึ้นต่อไป โดยแบบจำลองของเราบ่งชี้ว่าราคาจะดีดตัวแตะ 50,000-75,000 ดอลลาร์ ผมค่อนข้างเชื่อมั่นว่าราคาจะไปถึงระดับดังกล่าว ปัญหาคือเมื่อไหร่เท่านั้น" นายบูห์เลอร์กล่าว

อย่างไรก็ดี นายบูห์เลอร์ย้ำว่าบิตคอยน์ยังคงมีความผันผวนสูง โดยได้ดิ่งลงหลุดระดับ 40,000 ดอลลาร์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา หลังจากพุ่งทำสถิติสูงสุดเหนือระดับ 69,000 ดอลลาร์ในเดือนพ.ย.2564

สำหรับประเด็นเรื่องเงินเฟ้อของสหรัฐฯล่าสุด นางคริสตาลินา จอร์เจียวา ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยในวันพุธ (12 ม.ค.) ว่า เงินเฟ้อในสหรัฐมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในไตรมาส 2/2565

นี่คือประเด็นที่เราต้องจัดการกับปัญหาติดขัดด้านห่วงโซ่อุปทาน แต่เรามองเห็นสัญญาณความคืบหน้าในประเด็นดังกล่าวบ้างแล้ว" นางจอร์เจียวากล่าวในการให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นบีซี

ผอ.ไอเอ็มเอฟ ยังพูดถึง เศรษฐกิจจีนด้วยว่า ได้มีการยกเลิกนโยบายต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจก่อนเวลาอันควรเล็กน้อย โดยการบริโภคในจีนไม่ได้ปรับตัวขึ้นอย่างที่ควรจะเป็น เพื่อชดเชยภาวะชะงักงันในเศรษฐกิจ อันเกิดจากผลพวงของโรคโควิด-19 แต่จีนสามารถใช้นโยบายทางการคลังในการกระตุ้นให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ถึง 5%

"ธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้ดำเนินการในทิศทางดังกล่าวบ้างแล้ว และดิฉันคาดการณ์ว่าจะมีการออกนโยบายเพิ่มเติมในอนาคต"

ก่อนหน้านี้ นางจอร์เจียวาได้ออกมาเตือนว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อจะยิ่งเพิ่มความอันตราย และตอกย้ำความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างชาติที่พัฒนาแล้วและชาติที่กำลังพัฒนา

"ธนาคารกลางสหรัฐและธนาคารกลางแห่งอื่น ๆ ต่างก็รู้ดีว่าจะจัดการกับเงินเฟ้ออย่างไร แต่สิ่งนี้จะต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อตลาดเกิดใหม่ และเพิ่มความเสี่ยงจากความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ"

advertisement

SPOTLIGHT