ข่าวเศรษฐกิจ

สตาร์ทอัพไทยเฮ! ศบศ.อนุมัติ ยกเว้นภาษี Capital Gain Tax

4 ธ.ค. 64
สตาร์ทอัพไทยเฮ! ศบศ.อนุมัติ ยกเว้นภาษี Capital Gain Tax
ไฮไลท์ Highlight
ทั้งนี้ข้อเสนอที่ได้รับการอนุมัติในวันนี้ เป็นส่วนสำคัญของการยกระดับด้านกฎระเบียบ ซึ่งรวมไปถึงมาตรการทางภาษี เพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงค์โปร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เป็นต้น

ยุคทองแห่งสตาร์ทอัพไทยก็ว่าได้ ล่าสุดศบศ. เขียว ยกเว้นภาษี Capital Gain Tax เป็น 0% สำหรับการลงทุนในสตารอัพไทย หวังดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ โดยคาดว่า จะผลักดันเป็นกฎหมายได้ทันในต้นปี 2565

 

4 ธ.ค.64 ที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบศ.) เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.64  นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  ได้อนุมัติข้อเสนอของ สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ซึ่งนำโดย นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานสภาดิจิทัลฯ และเครือข่ายพันธมิตร ในการออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ยกเว้น “ภาษี Capital Gain Tax 0% สำหรับการลงทุนในสตาร์ทอัพไทย” เพื่อกำหนดเป็นมาตรการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมความแข็งแกร่งให้กับ สตาร์ทอัพ และ Tech companies ของไทย ให้เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและพลิกโฉมประเทศไทยในอนาคต

.

 

โดยนาน ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานสภาดิจิทัลฯ ได้นำเสนอถึง ความท้าทายของโลก ที่ทำให้ประเทศไทยต้องปรับตัวในส่วนของ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน (Capital Inclusive) การปรับตัวสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) และ การที่ทั่วโลกเข้าสู่เรื่องความยั่งยืน และ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่ง ประเทศที่จะประสบความสำเร็จได้ต้องปรับตัวให้ทันยุคต่อไป นั่นคือยุคของเทคโนโลยีใหม่ หรืออาจเรียกได้ว่า ยุค 5.0 ที่ต้องสร้างคน และ ส่งเสริมสตาร์ทอัพ ดึงดูดการลงทุนมายังประเทศไทย

.

 

การที่ภาครัฐเตรียมขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้า (EV) การขับเคลื่อนเรื่องดาต้าเซ็นเตอร์ การผลักดันอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ก็เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่ต่อยอดไปถึงการดึงดูดผู้ประกอบการรายใหญ่ มาสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีโอกาสอย่างมากในการส่งออกวัฒนธรรม (Soft Power) ซึ่งหากมีการดึงดูดการลงทุนมายังประเทศไทย นอกจากจะเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจแล้ว ยังเป็นการเพิ่มบุคลากรที่มีองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ

 

.

 

ทั้งนี้ข้อเสนอที่ได้รับการอนุมัติในวันนี้ เป็นส่วนสำคัญของการยกระดับด้านกฎระเบียบ ซึ่งรวมไปถึงมาตรการทางภาษี เพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงค์โปร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เป็นต้น

.

 

โดยจากการสำรวจของสภาดิจิทัลฯ พบว่าองค์ประกอบดังกล่าวเป็นปัจจัยหลักนอกเหนือจากทักษะชั้นสูงด้านดิจิทัลที่ประเทศยังขาดแคลนที่สตาร์ทอัพ นักลงทุนทั้งไทย และต่างประเทศ ต้องการความเปลี่ยนแปลง เพื่อที่สตาร์ทอัพไทยจะย้ายกลับมาจากการจดทะเบียนที่ต่างประเทศ และนักลงทุนพร้อมที่จะลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น

โดยจากนี้ไป กระทรวงการคลัง กรมสรรพากร และ สภาดิจิทัลฯ จะบูรณาการความร่วมมือ เพื่อให้ พ.ร.ฎ. สามารถออกเป็นกฎหมายได้ภายในต้นปีพ.ศ. 2565 และจะกลับไปนำเสนอกับ ท่านนายกรัฐมนตรี และ ศบศ. ถึงมาตรการอื่นๆ ในการส่งเสริมระบบนิเวศ ที่เหมาะสมต่อการส่งเสริมการลงทุน ด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และสตาร์ทอัพให้แก่ผู้ประกอบการไทยในอีก 1 เดือนข้างหน้า

.

 

ทั้งนี้ ความสำเร็จดังกล่าวของสภาดิจิทัลฯ และเครือข่ายพันธมิตรในการที่จะผลักดันจูงใจให้นักลงทุนไทยและต่างประเทศ (Venture Capital หรือ VC) เข้ามาลงทุนในสตาร์ทอัพมากขึ้น จะเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem)ให้เข้มแข็งทั้งด้านนโยบายและกฎระเบียบต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สร้างไทยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจโลก

 

 .

ทั้งนี้ในปัจจุบันหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียน อาทิ สิงค์โปร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย มีนโยบายยกเว้นภาษี Capital Gain Tax ทำให้ดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศได้จำนวนมาก ซึ่งหลังจากการแก้ไขมาตรการภาษีดังกล่าว จะทำให้ไทยสามารถเร่งขยายโอกาสการเติบโตของสตาร์ทอัพ และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน

 .

 

โดยตั้งเป้าดึงเม็ดเงินลงทุนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าการลงทุนใน Tech Companies ในภูมิภาคอาเซียน เข้ามาลงทุนกับธุรกิจสตาร์ทอัพไทย ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจะช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจของประเทศไทย และยังถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญและเป็นโอกาสที่ดียิ่งในการดึงดูดนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศให้เข้ามาลงทุน สร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจในประเทศไทย นับจากนี้ สภาดิจิทัลฯ จะเร่งดำเนินการสานต่อการดำเนินงานกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันนโยบายส่งเสริมการลงทุน ด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และสตาร์ทอัพแก่ผู้ประกอบการไทยให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด

advertisement

SPOTLIGHT