ข่าวเศรษฐกิจ

ทำความรู้จัก Privacy Coin ที่ ก.ล.ต. ออกกฎห้ามซื้อขาย

23 พ.ย. 64
ทำความรู้จัก Privacy Coin ที่ ก.ล.ต. ออกกฎห้ามซื้อขาย

Privacy Coin คือสกุลเงินดิจิทัลที่ถูกออกแบบมาให้มีระบบป้องกันปิดบังตัวตนข้อมูลของผู้ใช้งานไม่ให้รั่วไหลออกไป ทำให้ไม่สามารถสืบค้นได้ว่าใครเป็นผู้ทำธุรกรรมการเงินและทำเป็นธุรกรรมเป็นจำนวนเท่าไหร่

*คุณสมบัติเด่นของ Privacy Coin มีดังนี้

-เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ใช้เทคนิคต่างๆ เพื่อปกป้องตัวตนข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานเช่น Bitcoin

-ไม่มีการบันทึกรายการในการทำธุรกรรม เพราะระบบออกแบบมาให้สามารถปิดบังข้อมูลสำคัญได้ ทำให้จะไม่สามารถเชื่อมต่อธุรกรรมใด ๆ กับบุคคลหรือหน่วยงานใดบุคคลหนึ่งได้(แตกต่างจากสินทรัพย์ดิจิทัลสปกติทั่วไปที่ทำได้)

 

*จุดกำเนิดของ Privacy Coin ออกแบบมาเพื่อ?

1.เพื่อให้การเงินเป็นส่วนตัว

2.เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของลูกค้า

3.เพื่อชำระค่าสินค้าหรือบริการที่คนอื่น ๆ บางประเภทที่อาจถูกมองว่าผิดศีลธรรม

 

*ข้อเสีย Privacy Coin

-มีช่องว่างสามารถถูกนำไปใช้ในกิจกรรมที่ผิดกฎหมายหลายอย่าง เพราะมีระบบปกป้องข้อมูลผู้ใช้งานและเส้นทางธุรกรรมทางการเงิน ช่วยให้การหลบเลี่ยงการการทำอาชญากรรมทางการเงินได้ง่ายขึ้น เช่น การจัดหาเงินทุนของผู้ก่อการร้าย, การฟอกเงิน และเลี่ยงการเสียภาษี

*ข้อมูลจากผู้ให้บริการข้อมูลตลาดคริปโตเคอเรนซี CoinGecko ณ เดือน พ.ค. 2564 มี Privacy coin จำนวน 62 เหรียญ มีมูลค่ารวมกันมากกว่า 23,000 ล้านเหรียญ มีชื่อเหรียญ อาทิ

Monero (XMR)
Dash (DASH)
Zcash (ZEC)
Decred (DCR)
Digibyte (DGB)
Horizon (HZN)
Pirate Chain (ARRR)
Verge (XVG)
Haven (XHV)

*สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นหน่วยงานกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Exchange)ของประเทศ ทั้งคริปโทเคอร์เร​นซี และ​โทเคนดิจิทัล ปัจจุบันมีผู้ประกอบที่ได้รับใบอนุญาตศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลมีจำนวน 7 ราย ได้แก่ ​BITKUB, Satang Pro, Huobi, ERX, ​Zipmex, ​Upbit และ ​Z.comEX

*ล่าสุด ก.ล.ต. กำลังจะออกกฏเกณฑ์ควบคุมผู้ประกอบการศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ภายใต้การกำกับห้ามไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลให้บริการ Privacy Coin ที่มีลักษณะเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีการปกปิดข้อมูลการทำธุรกรรม

*ตามนิยามของ ก.ล.ต. Privacy Coin หมายถึง สินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
1.สินทรัพย์ดิจิทัลที่ถูกสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกปิดข้อมูลผู้โอน ผู้รับโอน และปริมาณการโอน
2.สินทรัพย์ดิจิทัลที่ถูกสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดสิทธิให้กับผู้ถือสามารถควบคุมการปกปิดข้อมูลผู้โอน ผู้รับโอน หรือปริมาณการโอนได้

*ทำไม ก.ล.ต. จึงห้ามการศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ภายใต้การกำกับห้ามไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลให้บริการ Privacy Coin ที่มีลักษณะเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีการปกปิดข้อมูลการทำธุรกรรม เนื่องจากเพื่อป้องกันการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดต่างๆ

*โดย ก.ล.ต. จะกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องคัดกรองสินทรัพย์ดิจิทัลที่นำมาให้บริการแก่ลูกค้าต้องไม่มีลักษณะเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีการปกปิดข้อมูลการทำธุรกรรม และข้อกำหนดเกี่ยวกับการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ให้บริการ Privacy Coin อยู่ก่อนหรือในวันที่ประกาศมีผลใช้บังคับยังสามารถให้บริการลูกค้ามีอยู่แล้วนั้นต่อไปได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด

*ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็น(เฮียริ่ง)ร่างประกาศหรือกฎเกณฑ์จำนวน 2 ฉบับเกี่ยวกับการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในการให้บริการ Privacy Coin เพื่อให้มีการกำกับดูแลธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างเหมาะสมตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุมครั้งที่ 14/2564 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2564 มีมติเห็นชอบปรับปรุงหลักการที่กำหนดห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลให้บริการ Privacy Coin ที่มีลักษณะเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีการปกปิดข้อมูลการทำธุรกรรม จนถึงวันที่ 21 ธันวาคม 2564 ผ่านทางเว็บไซต์ ก.ล.ต. https://www.sec.or.th/TH/Pages/PB_Detail.aspx?SECID=761 ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือทาง e-mail: bhumipisuth@sec.or.th หรือ napaporng@sec.or.th

*อนึ่ง ก่อนหน้านี้ทั้งประเทศ ญี่ปุ่น, ฝรั่งเศส, เกาหลีใต้ ก็เสนอให้มีการห้ามซื้อขาย Privacy Coin มาแล้วเพราะพบประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงภาษีและการฟอกเงิน

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT