สินทรัพย์ดิจิทัล

บิตคอยน์พุ่งเหนือ 40,000 ดอลลาร์ อีกครั้ง ชาวรัสเซียแห่ซื้อหนีค่าเงินรูเบิลร่วง

1 มี.ค. 65
บิตคอยน์พุ่งเหนือ 40,000 ดอลลาร์ อีกครั้ง ชาวรัสเซียแห่ซื้อหนีค่าเงินรูเบิลร่วง

ราคาบิตคอยน์พลิกกลับมายืนเหนือ 40,000 ดอลลาร์อีกครั้ง ท่ามกลางสงคราม ‘ยูเครน-รัสเซีย’ พบปริมาณการซื้อขายบิตคอยน์ด้วยเงิน"รูเบิล" พุ่งสูงสุดในรอบ 9 เดือน ดันราคาทะลุ 43,000

 

istock-1218087791



หลังจากจากราคาของเหรียญพี่ใหญ่ในวงการคริปโทเคอร์เรนซีอย่าง ‘บิตคอยน์’ พุ่งแรงทะลุแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 40,000 ดอลลาร์/บิตคอยน์ ไปเคลื่อนไหวที่ราว 43,000 ดอลลาร์/บิตคอยน์ ตลอดช่วงครึ่งเช้าวันนี้ (1 มี.ค.) อ้างอิงจากราคาบนเว็บไซต์ CoinMarketCap.com นักวิเคราะห์คาดว่า หนึ่งในปัจจัยสำคัญมาจากการที่ชาวรัสเซีย หันมาถือบิตคอยน์แทนเงินสกุล ‘รูเบิล’ ที่มูลค่าร่วงลงเป็นประวัติการณ์ จากมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียของทั่วโลก
 

rublerussia

 

ทั่วโลกคว่ำบาตร กดดัน ‘รูเบิลรัสเซีย’

 

สถานการณ์ความตึงเครียดที่เกิดขึ้นใน ‘สงครามรัสเซีย - ยูเครน’ เพื่อให้ยูเครนกลับมาอยู่ในอิทธิพลของรัสเซียอีกครั้ง หลังพยายามเข้าหาตะวันตกและพยายามขอเข้าร่วมเป็น สมาชิกองค์การ NATO หน่วยงานทั่วโลกพยายามจะใช้มาตรการ ‘คว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ’ ต่อประเทศรัสเซียหลายด้าน รวมไปถึงด้าน “การเงิน” เพื่อกดดันให้รัสเซียยอมถอนกำลังทหาร และยอมเจรจากับยูเครน โดยมาตรการทางการเงินต่างๆ ที่ทั่วโลกใช้กดดันรัสเซีย มีดังนี้


-ตัดธนาคารบางแห่งของรัสเซียรัสเซียออกจาก SWIFT หรือสมาคมโทรคมนาคมทางการเงินระหว่างธนาคาร ซึ่งจะส่งผลต่อระบบการค้า การชำระเงินของรัสเซีย และกระทบกับเศรษฐกิจอย่างมาก ทั้งนี้หากจำนวนธนาคารที่ถูกตัดออกจาก SWIFT มีมาก หรือเป็นธนาคารใหญ่ เชื่อมโยงกับต่างประเทศมากด้วยแล้ว ก็จะยิ่งกระทบหนัก

-รัฐบาลสหรัฐ ประกาศอายัดทรัพย์สินของธนาคารกลางรัสเซียในสหรัฐ และห้ามชาวอเมริกันทำธุรกรรมกับธนาคารกลางรัสเซีย มาตรการดังกล่าวยังรวมไปถึงกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของรัสเซียและกระทรวงการคลังรัสเซีย โดยมีผลบังคับใช้ในทันที

-จำกัดการเข้าถึงทุนสำรองระหว่างประเทศของธนาคารกลางรัสเซีย ที่อยู่ในต่างประเทศราว 630,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อป้องกันไม่ให้ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ใช้ในปฏิบัติการรุกรานยูเครน

 

ผลที่เกิดขึ้นคือ ค่าเงิน ‘รูเบิล’ ของรัสเซีย ร่วงลงอย่างรวดเร็ว ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ จากระดับ 84 รูเบิล/ดอลลาร์ กลายเป็น 119 รูเบิล/ดอลลาร์ ที่จุดต่ำสุด ร่วงลงกว่า 30% ในเวลาเพียงชั่วข้ามคืน ของวันอาทิตย๋ที่ผ่านมา ส่งผลกดดันต่อทั้งรัฐบาลรัสเซีย รวมไปถึงประชาชนชาวรัสเซียที่ถือเงินสกุลรูเบิลเป็นหลัก ทำให้เงินในมือของพวกเขา ด้อยค่าลงในทันที
 

male-hand-with-golden-bitcoin_1

 

ชาวรัสเซียแห่ถือ ‘บิตคอยน์’ ป้องกันเงินในมือถูกด้อยค่า



นักวิเคราะห์ข้อมูลจาก Kaiko บริษัทด้านข้อมูลคริปโทเคอร์เรนซีเปิดเผยว่า ปริมาณการซื้อขายบิตคอยน์ด้วยสกุลเงินรูเบิลพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 9 เดือน มูลค่าแตะ 1.5 พันล้านรูเบิล รวมไปถึง ปริมาณการซื้อขายเหรียญ Stable Coin อย่าง USDT ด้วยสกุลเงินรูเบิล ที่ทำจุดสูงสุดในรอบ 8 เดือน ด้วยมูลค่า 1.3 พันล้านรูเบิล

สาเหตุเกิดจาก ความกังวลต่อมาตรการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก ที่นับวันจะหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ ชาวรัสเซียส่วนหนึ่งจึงหันหาสินทรัพย์ที่มีความเป็นสากล และไร้การควบคุมจากหน่วยงานกลางมากกว่าอย่างบิตคอยน์ เพื่อหวังให้เป็น ‘สินทรัพย์ปลอดภัย’ ท่ามกลางสถานการณ์ความไม่สงบเช่นนี้

ไม่ใช่แค่ในรัสเซีย แต่ปริมาณ การซื้อขายบิตคอยน์ในยูเครน เองก็สูงขึ้นในช่วงภาวะวิกฤตเช่นกัน โดยปริมาณการซื้อขายพุ่งทำจุดสูงสุดในรอบ 4 เดือนอีกด้วย

แต่จากตัวเลขที่เกิดนี้อาจหมายความว่า แม้ต่างชาติจะกดดันค่าเงินรูเบิลของรัสเซียหนักแค่ไหน ก็อาจไม่มีผลหากมีช่องทางสินทรัพย์ดิจิทัลให้ไปต่อได้ ‘Mykhailo Fedorov’ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันของยูเครน จึงออกมาขอแรงสนับสนุนบนทวิตเตอร์ส่วนตัว ให้บรรดา Exchange ต่างๆ สกัดกั้นบัญชีผู้ใช้งาน ทั้งที่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองชาวรัสเซีย เบลารุส (ประเทศที่ให้การสนับสนุนรัสเซีย) รวมไปถึงบัญชีของบุคคลทั่วไปด้วย

pexels-alesia-kozik-6770524_1

 

ขาขึ้นแค่ชั่วคราว บิตคอยน์ยังลงได้อีก?



อย่างไรก็ตาม การขยับตัวของบิตคอยน์กว่า 14% ในครั้งนี้ อาจเป็นข่าวดีเพียงชั่วคราว เพราะหากมองสถานการณ์ภาพรวมของโลกในปัจจุบัน ยังไม่สามารถไว้วางใจได้

บทวิเคราะห์จาก CoinDesk มองว่าราคาของบิตคอยน์นั้นยังร่วงลง ‘ไม่ถึงจุดต่ำสุด’ หลังปรับฐานต่อเนื่องจากจุดสูงสุดที่ 69,000 ดอลลาร์/บิตคอยน์ เพราะปัจจัยกดดันระยะยาวอย่าง นโยบายทางการเงินที่ตึงตัวขึ้นของรัฐบาลใหญ่ๆ ทั่วโลก และมาตรการแบนคริปโทของรัฐบาลจีน นั้นยังไม่จบลง

 

istock-1000645602



แม้ราคาบิตคอยน์ในปัจจุบัน จะไม่ได้แพงเกินช่วงราคาเหมาะสม เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในปี 2018 แต่ก็ยังมีพื้นที่เหลือให้ปรับฐานอีกมาก จึงอาจเกิดความผวนผวนของราคาอีกมากในระยะสั้นนี้

advertisement

SPOTLIGHT