ธุรกิจการตลาด

รู้จัก 'ฮาตาริ' ธุรกิจพัดลมหมื่นล้าน สัญชาติไทยแท้

28 ก.ค. 65
รู้จัก 'ฮาตาริ' ธุรกิจพัดลมหมื่นล้าน  สัญชาติไทยแท้

เป็นกระแสฮือฮาและโซเชี่ยลต่างพากันชื่นชมอย่างมากกับข่าวที่ "จุน วนวิทย์" และ ครอบครัว เจ้าของแบรนด์พัดลม "ฮาตาริ" หรือ Hatari ได้บริจาคเงินส่วนตัวก้อนโต 900 ล้านบาท ให้แก่มูลนิธิรามาธิบดีฯ

 

โดย SPOTLIGHT จะพารู้จักและเปิดอาณาจักรธุรกิจหมื่นล้าน ของพัดลมแบรนด์ "ฮาตาริ" หรือ Hatari ให้มากขึ้นว่าที่มาอย่างไร รวมถึงมีธุรกิจอะไรบ้างในกลุ่ม

 

 รู้จักฮาตาริ

 

จุดเริ่มของธุรกิจ"ฮาตาริ" มาจากการเป็นร้านซ่อมพัดลมร้านเล็กๆ มาก่อน โดยร้านซ่อมพัดลมก็มีลูกค้านำพัดลมมาซ่อมจำนวนมาก จากนั้น "จุน วนวิทย์" ผู้เป็นเจ้าของมีโอกาสได้ไปเรียนการพันมอเตอร์จากประเทศไต้หวัน และได้กลับมาผลิตพัดลมชิ้นส่วนพลาสติกพัดลมออกขายเอง โดยได้เริ่มก่อตั้ง บริษัท ฮาตาริ อิเลคทริค จำกัด ในปี 2533 เพื่อดำเนินธุรกิจรับจ้างผลิตพัดลมให้กับแบรนด์ญี่ปุ่นต่างๆ ก่อน

 

ขณะที่ในยุคนั้นโครงกรอบพัดลมส่วนใหญ่ทำด้วยโลหะอลูมิเนียม หลังจากที่ "จุน วนวิทย์" สะสมประสบการณ์ทำงานมาพอสมควรแล้ว จึงเกิดองค์ความรู้ในด้านการขึ้นรูปพลาสติกและการทำพัดลมโดยใช้พลาสติกแทนโลหะ ซึ่งในยุคนั้นตลาดพัดลมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่นำเข้ามาจากญี่ปุ่นกำลังได้รับนิยมอย่างมาก 

 

 จุน วนวิทย์ ผู้ก่อตั้งแบรนด์พัดลม Hatari

จุน วนวิทย์ ผู้ก่อตั้งแบรนด์พัดลม Hatari

 

ดังนั้นทำให้ 'จุน วนวิทย์' ในวัย 52 ปี เห็นโอกาสตลาดขายพัดลมในเมืองไทยยังสามารถเติบโตได้อีก บวกกับยุคนั้นแทบยังไม่มีคู่แข่งในธุรกิจนี้ เพราะสินค้าพัดลมส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ จึงตัดสินใจทำแบรนด์ผลิตพัดลมเอง

 

โดยใช้ชื่อแบรนด์ 'ฮาตาริ' เพื่อให้ดูเหมือนว่าเป็นสินที่นำเข้ามาจากญี่ปุ่นทำให้รู้สึกเป็นสินค้าคุณภาพดึ ถือเป็นจุดกำเนิดเริ่มผลิตพัดลมขายออกมาเป็นแบรนด์ Hatari ของคนไทยผลิตเอง ถือเป็นธุรกิจที่เรียกได้ว่าตอบโจทย์เมืองร้อนแบบเมืองไทยที่จะเห็นได้ว่าทุกบ้านต้องมีพัดลมติดบ้านไว้เพื่อคลายร้อน เพราะพัดถือเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าจำเป็นอีกชิ้นด้วยสภาพอากาศของไทยที่ฤดูร้อนยาวนานกว่าฤดูอื่น

 

นอกจากจะมีสินค้าเป็นของตัวเองแล้ว Hatari ยังรับผลิตชิ้นส่วนให้แบรนด์พัดลมแบรนด์อื่นๆ ด้วย ส่วนของ Hatari มีการใช้ชิ้นส่วนที่ตัวเองผลิตราว 90% หรือชิ้นส่วนทั้งหมดที่ประกอบขึ้นมาเป็นพัดลม 1 ตัวออกมานั้น มาจากโรงงานภายในเครือของ Hatari ทั้งหมด จนทำให้กลุ่มธุรกิจพัดลม Hatari ปัจจุบันทำรายได้รวมกันได้มากกว่า 1 หมื่นล้านบาทต่อปีเป็นที่เรียบร้อย เพราะสามารถผู้นำตลาดพัดลมและครองความนิยมในไทยมายาวนานกว่า 20 ปี

 

เปิดอาณาจักรธุรกิจหมื่นล้านของ 'Hatari'

เปิดอาณาจักรธุรกิจหมื่นล้านของ 'Hatari'

 

 

หากมาแบ่งธุรกิจพัดลม Hatari แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วน คือ การผลิตและการจัดจำหน่าย ผ่าน 2 บริษัทหลักๆ ในเครือ วนวิทย์ กรุ๊ป คือ

1.บริษัท ฮาตาริ อิเลคทริค จำกัด ผู้จัดจำหน่ายพัดลม Hatari ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงให้บริการหลังการขายมีรายได้ปีมากกว่า 6,000 ล้านบาทต่อปี แต่ย้อนไปดูผลประการย้อนหลัง 3 ปี(ปี 2562-2564) มีดังนี้

  • ปี 2562 มีรายได้ 6,521 ล้านบาท กำไร 58.60 ล้านบาท
  • ปี 2563 มีรายได้ 6,240 ล้านบาท กำไร 73.83 ล้านบาท
  • ปี 2564 มีรายได้ 6,336 ล้านบาท กำไร 65.82 ล้านบาท

 

2.บริษัท วนวิทย์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด เป็นโรงงานผลิตพัดลม Hatari และ OEM ให้กับแบรนด์อื่นด้วย มีรายได้มากกว่า 4,000-5,000 ล้านบาท มีส่วนแบ่งการตลาดในผลิตภัณฑ์พัดลมในประเทศประมาณ 80% สามารถลดการนำเข้าพัดลมจากต่างประเทศได้เกือบทั้งหมดอีกด้วย ผลประการย้อนหลัง 3 ปี(ปี 2562-2564) มีดังนี้

  • ปี 2562 มีรายได้ 4,858 ล้านบาท กำไร 402.11 ล้านบาท
  • ปี 2563 มีรายได้ 5,270 ล้านบาท กำไร 603.90 ล้านบาท
  • ปี 2564 มีรายได้ 5,775 ล้านบาท กำไร 645.64 ล้านบาท

 

Hatari มีสินค้ามากกว่าพัดลม

326590

 

ปัจจุบันสินค้า Hatari มีทั้งพัดลมเคลื่อนที่, พัดลมติดตั้ง, พัดลมอุตสาหกรรม, พัดลมระบายอากาศ, พัดลมไอเย็น และเครื่องฟอกอากาศ
รวมไปถึงมีการจำหน่ายชิ้นส่วนอะไหล่ เช่น ใบพัด, ฝาครอบใบพัด, แผ่นกรอง, เจลทำความเย็น เป็นต้น

 

นอกจากธุรกิจพัดลมแล้ว Hatari ยังขยายไปทำธุรกิจอื่นๆ ด้วย เช่น การจัดตั้ง บริษัท ฮาตาริ ไวร์เลสเพื่อดำเนินธุรกิจที่ปรึกษาซอฟต์แวร์ รวมไปถึงขาย-ให้เช่าระบบอุปกรณ์สื่อสาร

 

ด้วยการเติบโตที่ต่อเนื่องของธุรกิจของ Hatari เคยส่งผลให้ 'จุน วนวิทย์ ในปี ในปี 2559 ถูกจัดอันดับโดย Forbes Thailand ให้เป็นบุคคลที่รวยเป็นอันดับที่ 49 ของประเทศไทย ด้วยทรัพย์สินมูลค่ากว่า 14,810 ล้านบาท

 

แน่นอนว่าพัดลม Hatari สามารถทำรายได้ต่อปีทะลุ 1 หมื่นล้านบาท ส่วนหนึ่งคือคุณภาพของสินค้าซึ่งเป็นที่ยอมรับ แต่อีกประเด็นที่ Hatari มีความโดดเด่นคือ การทำการตลาดออกโฆษณาที่หลายๆ ชิ้นที่สามารถสร้างสรรค์ออกมาได้สนุกมีความทันสมัย

 

ยกตัวอย่างมีการเล่าเรื่องคุณสมบัติของพัดลมผ่านการ "แร็ป" ในโฆษณา จนทำให้เป็นที่จดจำของผู้บริโภคสามารถเรียกเสียงหัวเราะได้ทุกครั้งที่ได้ดูเป็นการตอกย้ำแบรนด์ให้ผู้บริโภครุ่นใหม่ๆ ได้รู้จักและสามารถจำชื่อ Hatari ได้แบบไม่เคยตกยุคเลย

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT