ธุรกิจการตลาด

บินชั้นประหยัดก็มีตู้นอน แอร์ นิวซีแลนด์เปิดตัว "Skynest"

4 ก.ค. 65
บินชั้นประหยัดก็มีตู้นอน แอร์ นิวซีแลนด์เปิดตัว "Skynest"
ไฮไลท์ Highlight

“ธุรกิจสายการบินเป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” Kaplan กล่าว “แอร์นิวซีแลนด์จะต้องถามตัวเองว่าเตียงเหล่านั้นจะนำมาซึ่งรายได้ที่มากกว่าการจัดพื้นที่สำหรับที่นั่งชั้นประหยัดหรือที่นั่งพรีเมียมในพื้นที่เดียวกันหรือไม่”

ไม่ต้องทนเมื่อยคอ ไม่ต้องแย่งที่วางแขน  และไม่ต้องโดนเด็กน้อยเตะหลังเก้าอี้โดยสารอีกต่อไป สำหรับผู้โดยสารเครื่องบินในชั้นประหยัด  เพราะสายการบินแอร์นิวซีแลนด์ กำลังจะให้บริการแคปซูลตู้นอนในชั้นประหยัดสำหรับเที่ยวบินยาวเป็นสายการบินแรกของโลกแล้ว
.

ต้องยอมรับว่าธุรกิจสายการบินต้องเผชิญกับความยากลำบากตลอดกว่า  2 ปีที่ผ่านมาจากสถานการณ์โควิด 19 แต่ขณะสัญญาณการฟื้นตัวของผู้โดยสารชัดเจนมากขึ้น เห็นได้จากยอดจองที่นั่งของบรรดาสายการบินต่างๆทั่วโลกที่กลับมาทะลุ 100 ล้านที่นั่งครั้งแรกนับแต่เจอโควิด ในปี 2563 

.
แอร์ นิวซีแลนด์ จึงประกาศเปิดตัว “Skynest”  แคปซูลตู้นอนสำหรับผู้โดยสารชั้นประหยัด โดยจะให้บริการในปี 2567 โดยบริษัทใช้เวลาการวิจัยและพัฒนานานถึง  5 ปี ตั้งแต่ก่อนโควิดด้วยซ้ำ ซึ่งหน้าตาของเจ้า "Skynest” แคปซูลตู้นอนที่ว่า  จะเป็นเตียงซ้อนกัน  3  ชั้น แบ่งเป็น 2 แถว ความยาวประมาณ 2 เมตร เท่ากับว่าในแคปซูลตู้นอนนี้มีผู้โดยสาร 6 คนที่จะนอนอยู่ด้วยกัน และมันจะถูกติดตั้งบนเครื่องบินโบอิ้ง 787-9 Dreamliners เพิ่มเข้าไปจากส่วนที่นั่งแบบปกติ


air new zealand
ภาพจาd Air New Zealand


.

แอร์นิวซีแลนด์ กำลังจะมีการเปิดเส้นทางบินตรงจากโอ๊คแลนด์ไปยังสนามบินนานนานาชาติจอห์น เค. เคนเนดีในนิวยอร์กซึ่งเที่ยวบินนี้มีระยะเวลาประมาณ 17 ชั่วโมง ดังนั้นจึงมีความเหมาะสมที่สุดที่จะติดตั้ง Skynest” แคปซูลตู้นอนที่ว่านี้

.
ส่วนราคาตั๋วโดยสารคงจะไม่ถูก แต่ขณะนี้แอร์นิวซีแลนด์ยังไม่ได้ประกาศราคาออกมา คาดว่าผู้โดยสารต้องจ่ายค่าบริการเพิ่มจากราคาตั๋วชั้นประหยัดปกติแน่นอน  เพราะนอกจากจะนอนยาวเป็นเวลา 4 ชั่วโมงได้แล้ว ยังมีบริการหมอน ทำความเย็นและช่องระบายอากาศด้วย 

.

air-new-zealand-skynest-3
ภาพจาก Air New Zealand


โฆษกของแอร์นิวซีแลนด์กล่าวกับ CNN Travel ว่า ทางสายการบินได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับวัฏจักรการนอนแล้วว่าโดยทั่วไปการนอนหลับอยู่ที่ประมาณ 90 นาที ดังนั้นช่วงเวลาประมาณ 4 ชม.จึงน่าจะเหมาะสมที่จะให้ลูกค้าได้นอนหลับและตื่นขึ้น จากนั้นทางสายการบินจะทำการหมุนเวียนมาเปลี่ยนผ้าปูที่นอนและทำความสะอาดตู้นอนเป็นเวลา 30 นาที


.
สำหรับแนวคิดแคปซูลตู้นอนนี้สายการบินแอร์ นิวซีแลนด์ได้ประกาศแนวคิดนี้ครั้งแรกในปี 2020 ซึ่งนักวิเคราะห์ด้านการขนส่ง Seth Kaplan บอกกับ CNBC ว่าเขาคาดเดาได้ว่าต้องมีผู้โดยสารชั้นประหยัดต่อแถวทดลองใช้บริการนี้แน่นอน   ส่วนผู้โดยสารกลุ่มที่จ่ายค่าตั๋วในอัตราที่ต่ำที่สุดอาจไม่สนใจบริการเสริมตู้นอนที่ว่านี้และพื้นที่ให้บริการตู้นอนที่ว่าก็มีอยู่อย่างจำกัด
.

“ธุรกิจสายการบินเป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” Kaplan กล่าว “แอร์นิวซีแลนด์จะต้องถามตัวเองว่าเตียงเหล่านั้นจะนำมาซึ่งรายได้ที่มากกว่าการจัดพื้นที่สำหรับที่นั่งชั้นประหยัดหรือที่นั่งพรีเมียมในพื้นที่เดียวกันหรือไม่”
.

แอร์ นิวซีแลนด์ไม่ใช่สายการบินแรกที่พยายามจะอำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสารชั้นประหยัดได้มีที่นอนเท่านั้น ยังมีบริการอัพเกรดที่นั่งที่เรียกว่า "SkyCouch" ที่นั่งพร้อมที่วางเท้าที่สามารถยกขึ้นเพื่อสร้างพื้นที่เหมือนเตียงนอนได้ ซึ่งเป็นไลเซ่นของ  China Airlines และ Azul สายการบินของบราซิลอีกด้วย

 

air-new-zealand-skynest-4
ภาพจาก Air New Zealand

 

ทั้งนี้การแข่งขันเพื่อวางเตียงจริงในชั้นประหยัดดูเหมือนจะมีผู้เข้าร่วมน้อยลง โดยในปี 2018 แอร์บัสเคยประกาศในเว็บไซต์ว่า กำลังทำงานร่วมกับบริษัทออกแบบการบินและอวกาศ Zodiac เพื่อวางเตียงสองชั้นในห้องโดยสาร แต่สุดท้ายก็เงียบไป

 
ที่มา  CNBC 

 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT