ธุรกิจการตลาด

รู้จัก “อาหารแห่งอนาคต” โอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการไทย

6 ก.พ. 65
รู้จัก “อาหารแห่งอนาคต” โอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการไทย

หอการค้าไทยกระตุ้นผู้ประกอบการไทย ในกลุ่มอาหาร ให้เห็นถึงโอกาสในการพัฒนา อาหารแห่งอนาคต หรือ (future food) ทั้ง อาหารพืชแบบธรรมชาติ  อาหารจากแมลง และอาหารจากท้องถิ่น  มองเห็นความพร้อมของประเทศไทย และเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยด้วย

 

7 ก.พ.65 ต้องยอมรับว่า กระแสของการรักสุขภาพ และ ความมั่นคงยั่งยืนทางอาหาร เป็นเทรนด์ของโลก หลายปีที่ผ่านมาเราจึงเห็นการนำเอาวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มาพัฒนาอาหารมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ โปรตีนจากพืช ที่ปัจจุบัน สามารถพัฒนารสชาติสัมผัส และประโยชน์ได้ใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์จริงๆมากขึ้นทุกวัน ล่าสุดมุมมองของ   นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ได้บรรยายหัวข้อ "Connect the dots เชื่อมโยงอาหารแห่งอนาคตเพื่อยกระดับผู้ประกอบการไทย" ในงาน Where is the Future of Future Food เมื่อวันที่ 6 ก.พ.ว่า สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพ และเลือกรับประทานอาหารคุณภาพดีและมีประโยชน์ ทำให้อาหารแห่งอนาคต (future food) ได้รับความสนใจอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นโอกาสและความท้าทายที่จะมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้อุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยที่มีมูลค่านับแสนล้านบาทต่อปีให้เติบโตอย่างยั่งยืน

 

ทิศทางของอาหารในอนาคตยุคนิวนอร์มอลที่น่าจะเป็นโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการไทย ได้แก่

  • อาหารพืชแบบธรรมชาติ (Plant-Based Food)

 

  • อาหารจากแมลง (Insect Food)

 

  • และอาหารจากท้องถิ่น (Localization)

 

000_1m9187

ภาพจาก AFP แสดงชั้นวางสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ตแห่งหนึ่ง ในสหรัฐฯ ขายอาหารที่เป็นโปรตีนจากพืชหลายชนิด

 

เนื่องจากประเทศไทยมีจุดแข็งที่เป็นประเทศเกษตรกรรม มีวัตถุดิบที่เหมาะสม และมีศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในลักษณะดังกล่าวสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศในระยะต่อไปได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่หันมาใส่ใจสุขภาพ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วย และกลุ่มนักท่องเที่ยว

 000_1rv55s

ภาพจาก AFP แสดงร้านอาหารในญี่ปุ่นแห่งหนึ่งทำราเมนจาก จิ้งหรีด 

 

โดยมูลค่าส่งออกอาหารแห่งอนาคตของไทยในระยะ 10 ปี (55-64) ที่ผ่านมา มีสัดส่วนการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2563 ที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 การส่งออกอาหารมีมูลค่า 1.09 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นการส่งออกอาหารแห่งอนาคตถึง 123,146 ล้านบาท หรือคิดเป็น 10% และในช่วง 8 เดือนแรก (ม.ค.-ส.ค.64) ไทยมีมูลค่าส่งออกสินค้าอาหารกว่า 806,430 ล้านบาท เป็นกลุ่มอาหารแห่งอนาคตกว่า 71,570 ล้านบาท

 

ภายใต้นโยบาย Connect the dots หอการค้าไทยได้ทำงานเชื่อมโยงหน่วยงานต่างๆ เพื่อร่วมกันสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการที่เข้มแข็ง อาทิ ความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สถาบันอาหาร และมหาวิทยาลัยในพื้นที่ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการอาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคตไทยส่งออกสินค้าสู่ตลาดต่างประเทศ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการไทยได้มีโอกาสในการค้าและลงทุนเพิ่มมากขึ้น

 

หากพิจารณาอุปสงค์และอุปทานของประชากรโลก ในประเทศที่ด้อยพัฒนามีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นและมีความต้องการอาหารเพิ่มมากขึ้น คำตอบคือ ความมั่นคงและความยั่งยืนของอาหารจะเพียงพอต่อประชากรในโลก โจทย์สำคัญของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ หรือ SMEs จะสามารถผลิตสินค้าที่ตอบโจทย์ทั้งวัตถุดิบและสามารถใช้วัตถุดิบให้ไม่เหลือทิ้งได้อย่างไร เพื่อสร้างคุณค่าของอาหาร (Value Added) และพึ่งพาตนเอง พึ่งพาวัตถุดิบภายในประเทศ เพื่อสร้างความยั่งยืนของประเทศต่อไป

 

หอการค้าไทยได้จัดโครงการพัฒนาผู้ประกอบการ เพื่อส่งเสริมสมาชิกผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป และอาหารแห่งอนาคต ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 อาทิ โครงการ Online Clinic All About Food : ปั้นนักธุรกิจอาหารสู่โอกาสแห่งความสำเร็จ เป็นเวทีให้คำปรึกษาระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิในแวดวงอุตสาหกรรมอาหารของไทย และผู้ประกอบการธุรกิจอาหารทุกขนาดที่สนใจ ตลอดจนการส่งเสริมมาตรฐานโควิด-19 Prevention Best Practice การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในกระบวนการผลิตอาหารส่งออก ไปยังสมาชิก ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทที่ได้มาตรฐานฯ จำนวน 157 รายแล้ว

 

โดยในโอกาสที่สำคัญของประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพการจัดงาน APEC 2022 จะเป็นการเปิดประเทศต้อนรับผู้นำจาก 21 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งเราจะสามารถแสดงศักยภาพและภาพลักษณ์ด้านการเกษตร อุตสาหกรรมอาหาร และอาหารแห่งอนาคต ภาคเอกชนได้กำหนด Theme "Embrace Engage Enable" จะเชื่อมโยงอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคตและยกระดับผู้ประกอบการไทยให้มีขีดความสามารถ

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT