Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
สังคมหลังความจริง: ทำไมคนถึงเชื่อข้อมูลที่พิสูจน์ไม่ได้มากกกว่า

สังคมหลังความจริง: ทำไมคนถึงเชื่อข้อมูลที่พิสูจน์ไม่ได้มากกกว่า

7 ก.ค. 68
17:02 น.
แชร์

ยุคที่อารมณ์ของแต่ละคนมีอิทธิพลมากกว่าการแสวงหาข้อเท็จจริง แม้ว่าเป็นวิทนยาศาสตร์ แต่คนก็ยังลังเลที่จะเชื่อ ? ทำไมคนถึงเชื่อข้อมูลที่พิสูจน์ไม่ได้มากกกว่า ? ถอดบทเรียนจาก คำทำนายจากหนังสือการ์ตูน “The Future I Saw”

สังคมหลังความจริง : ทำไมคนถึงเชื่อข้อมูลที่พิสูจน์ไม่ได้มากกกว่า

ศาสตราจารย์ คาซึยะ ยาโมริ จากสถาบันวิจัยการป้องกันภัยพิบัติแห่งมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งเชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการป้องกันภัยพิบัติ

ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์และวิทยุสาธารณะของประเทศญี่ปุ่น NHK วิเคราะห์ประเด็นหลังเกิดเหตุการณ์ ผู้คนตื่นตระหนก คำทำนายจากมังงะญี่ปุ่นที่อ้างอิงจากความฝัน ถึงวันที่จะเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในญี่ปุ่น 5 ก.ค. 2568

โดย ศาสตราจารย์ คาซึยะ ยาโมริ ชี้ว่า “ไม่เพียงพออีกต่อไปแล้วที่สถาบันสาธารณะจะออกแถลงการณ์เพื่อหักล้างข่าวลือและข้อมูลเท็จ”

ภูมิหลังของเรื่องนี้ก็คือว่า ปัจจุบันเราอยู่ในสิ่งที่เรียกว่า “สังคมหลังความจริง”

“ซึ่งเป็นยุคที่สิ่งต่างๆ ที่ดึงดูดอารมณ์ของแต่ละคนจะมีอิทธิพล มากกว่าการแสวงหาข้อเท็จจริงเชิงวัตถุเพียงอย่างเดียว”

“ยิ่งข้อมูลมีความสำคัญต่อคุณมากเท่าใด การให้คุณค่ากับความคิดเห็นที่สองและที่สามก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นเท่านั้น”

“เมื่อต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลภัยพิบัติ การตรวจสอบข้อมูลที่ถูกเปิดเผยโดยสถานีอุตุนิยมวิทยาและหน่วยงานในพื้นที่นั้นมีความสำคัญมาก”

“แม้ว่าข้อมูลจะอิงตามหลักฐาน แต่บางครั้งผู้คนก็ยังลังเลที่จะดำเนินการ ดังนั้น ในครั้งนี้ ฉันคิดว่าเราควรคิดว่าเหตุใดผู้คนจึงเชื่อคำทำนายดังกล่าว มากกว่าหน่วยงานของรัฐ เช่น สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น”

เมื่อสังคมมีความหลากหลายมากขึ้น ความคิดที่ว่าไม่สามารถระบุความจริงเพียงหนึ่งเดียวได้ ก็เริ่มมีมากขึ้น ทัศนคติที่ว่า ‘ข้อมูลที่ได้รับจากสถาบันเฉพาะเท่านั้นที่เป็นความจริง ส่วนที่เหลือเป็นข้อมูลปลอม’ ตรรกะนี้มีแนวโน้มที่จะสร้างความไม่ไว้วางใจ

ศาสตราจารย์ คาซึยะ ยาโมริ ยังบอกอีกว่า แทนที่จะปฏิเสธข้อมูลดังกล่าวและบอกว่าอย่าไปจริงจังกับมันเลย”

“เราควรเริ่มต้นด้วยการถอยกลับไปหนึ่งก้าว และวิเคราะห์ว่า เหตุใดข้อมูลที่ดูเหมือนว่าจะมีพื้นฐานอ่อนแอ จึงได้รับการยอมรับจากคนจำนวนมาก”

ภาพ : ศาสตราจารย์ คาซึยะ ยาโมริ (NHK)

หนังสือ “The Future I Saw” (อนาคตที่ฉันเห็น) มียอดขายมากกว่า 1 ล้านเล่ม

“เรียว ทัตสึกิ” นักเขียนการ์ตูนญี่ปุ่น จากเรื่อง “The Future I Saw” ดึงดูดความสนใจจากหลายๆ คนมาได้ก่อนหน้านี้ตั้งแต่การทำนายเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ญี่ปุ่น ในปี 2011 ซึ่งได้เขียนไว้ในหนังสือของเขาชื่อ “The Future I Saw, Complete Edition” ที่ตีพิมพ์ในปี 2021

โดยได้บรรยายถึงความฝันที่สามารถทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ในวันที่ 5 กรกฎาคม ปี 2021 ซึ่งระบุว่า

1. “ภัยพิบัติจะเกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2025”

2. “ทันใดนั้น พื้นทะเลที่อยู่กึ่งกลางระหว่างญี่ปุ่นกับฟิลิปปินส์ก็ระเบิด”

3. “คลื่นสึนามิขนาดใหญ่ซัดเข้าใส่ประเทศต่างๆ รอบมหาสมุทรแปซิฟิก คลื่นสึนามิมีความสูงเท่ากับคลื่นยักษ์ อาจสูงถึง 3 เท่าของแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทางตะวันออกของญี่ปุ่น”

ในบทส่งท้าย เขายังระบุวันที่ไว้ว่า “หากวันที่คุณฝัน เป็นวันที่มันกลายเป็นความจริง หายนะครั้งใหญ่ครั้งต่อไปก็คือวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2568”

หนังสือ “The Future I Saw” กำลังขายดีในญี่ปุ่น โดยมีรายงานว่าหนังสือมียอดขาย 1.06 ล้านเล่ม รวมถึงเวอร์ชันดิจิทัล ในโตเกียวและพื้นที่อื่นๆ หนังสือเล่มนี้ยังได้รับการตีพิมพ์เป็นภาษาจีนอีกด้วย

ภาพโฆษณาแขวนในรถไฟ สำหรับ “The Future I Saw: Complete Edition” ของ “เรียว ทัตสึกิ” ที่โตเกียว

ภาพ : sankei

ข้อมูลอ้างอิงจาก nhk , sankei

Advertisement

แชร์
สังคมหลังความจริง: ทำไมคนถึงเชื่อข้อมูลที่พิสูจน์ไม่ได้มากกกว่า