เปิดข้อเท็จจริง ตะคริวใน "ผู้สูงอายุ" กินน้ำน้อย-ขาดเกลือแร่-หลอดเลือดแดงแข็ง เกี่ยวข้องกันจริงหรือไม่?

10 ก.ย. 67

ตะคริวใน "ผู้สูงอายุ" เกิดจาก กินน้ำน้อย, ขาดเกลือแร่, หลอดเลือดแดงแข็ง จริงหรือไม่? เป็นตะคริวโดยเฉพาะตอนกลางคืน สัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้าม

"ตะคริว" ความเจ็บปวดที่พูดไม่ออก บอกไม่ถูก จะร้องก็ไม่เสียง เราอาจเห็นผ่านตากันมาบ้าง ในกรณี นักกีฬาฟุตบอล ฟาดแข้งมาราธอนในช่วงต่อเวลาพิเศษ การใช้กล้ามเนื้ออย่างหนักต่อเนื่องยาวนานอาจทำให้เป็นตะคริวได้ แต่ถ้าคุณกำลังนอนหลับล่ะ? แต่จู่ๆเป็นตะคริว เคยสงสัยหรือไม่ว่า เป็นเพราะสาเหตุใด หรือหากที่บ้านมี "ผู้สูงอายุ" เคยเกิดเหตุการณ์หรือเกิดเหตุการณ์บ่อยหรือไม่ ที่ผู้สูงอายุมักเป็นตะคริวบ่อยๆ ในช่วงเวลากลางคืน

ตะคริว

เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีปัญหาการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ และประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนหนึ่งจะลดลงเกิดการอ่อนล้าได้ง่าย โดยปกติตะคริวไม่อันตราย เว้นก่อให้เกิดอาการปวดนานเป็นชั่วโมง ส่งผลให้เกิดการขยับเขยื้อนได้ลำบากในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม เช่น เป็นตะคริวขณะว่ายน้ำ

นอกจากนี้การเป็นตะคริวบ่อยๆ หรือบริเวณที่เป็นมีลักษณะบวมแดง ผิวหนังเปลี่ยนสี แนะนำควรพบแพทย์เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคอื่นๆ ได้ 

ปัจจัยอื่น ที่ทำให้เกิดตะคริวในผู้สูงอายุ

1. การใช้ยาบางตัว เช่น ยาไขมัน ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดัน
2. โรค หรือภาวะบางอย่างของร่างกาย เช่น พาร์กินสัน โรคไต
3. การไหลเวียนของเลือดบกพร่อง
4. การทำงานของเซลล์ประสาทผิดปกติ
5. ใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไป ยืดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายไม่เพียงพอ

ความเชื่อ ตะคริวในผู้สูงอายุ เรื่องไหนจริง-เรื่องไหนไม่จริง

1. เป็นตะคริว เพราะดื่มน้ำไม่พอ ?
จริง เนื่องจากหนึ่งในสาเหตุของการเป็นตะคริวเกิดจากการที่ร่างกายสูญเสียน้ำ ดังนั้นหากดื่มน้ำไม่เพียงพอก็อาจทำให้เป็นตะคริวได้

2. เป็นตะคริวบ่อย เสี่ยงหลอดเลือดแดงแข็ง ?
จริงบางส่วน เพราะตะคริวเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดจากความเมื่อยล้าหรือบ่งบอกว่ามีโรคซ่อนอยู่ก็ได้ เช่น หลอดเลือดแดงเข็งตัว จะรู้สึกเย็นและชาร่วมด้วย เมื่อเดินจะปวดมากขึ้น แต่เมื่อพักแล้วอาการจะหายไป

3. เป็นตะคริวให้กินของเค็ม เพราะร่างกายขาดเกลือแร่ ?
ไม่จริง เพราะของเค็มและเกลือแร่ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ดังนั้นเมื่อร่างกายขาดเกลือแร่ จนเกิดตะคริวขึ้น ให้กินแมกนีเซียมหรือแคลเซียมเพื่อป้องกันการเกิดขึ้นอีก

วิธีป้องกันตะคริวในผู้สูงอายุ

1. ดื่มน้ำวันละ 2-3 ลิตร
2. เลือกรองเท้าให้เหมาะสม
3. หาหมอนรองปลายเท้า
4. ยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นประจำ
5. ออกกำลังกายเบาๆ
6. พักผ่อนให้เพียงพอ ทำร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ
7. จิบเครื่องดื่มเกลือแร่ก่อนและหลังออกกำลังกาย

ทำอย่างไร เมื่อเป็นตะคริว

1. ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
2. นวดเบา ๆ แต่ไม่ควรกด เพราะจะยิ่งเจ็บ
3. ประคบเย็นตรงที่มีอาการปวด จะช่วยให้หายเร็วขึ้น

ตะคริวในผู้สูงอายุ

อ้างอิงข้อมูล : กรมการแพทย์, โรงพยาบาลรามาธิบดี, โรงพยาบาลเปาโล

advertisement

สุขภาพและความงาม คุณอาจสนใจ

ข่าวยอดนิยม

ไลฟ์สไตล์ ล่าสุด