Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
เปิดอิทธิพลจีนในอาเซียน หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางในเพื่อนบ้านไทยมีอะไรบ้าง
โดย : กองบรรณาธิการ SPOTLIGHT

เปิดอิทธิพลจีนในอาเซียน หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางในเพื่อนบ้านไทยมีอะไรบ้าง

2 มี.ค. 68
07:00 น.
|
316
แชร์

อาเซียน ซึ่งประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ได้กลายเป็น กลุ่มการค้าคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของจีน แซงหน้าสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างจีนและอาเซียนเติบโตอย่างรวดเร็วผ่าน ข้อตกลงการค้าเสรี เช่น RCEP รวมถึง การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ภายใต้โครงการ Belt and Road Initiative (BRI) หรือหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง

มูลค่าการค้าระหว่างจีน-อาเซียนทะลุ 1.15 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023 เติบโตขึ้น 6.5% จากปีก่อนหน้า คิดเป็น 15% ของการค้าทั่วโลกของจีน  แต่จีนเกินดุลการค้าของอาเซียน เพราะจีนส่งออกสินค้าสู่อาเซียน มูลค่า 670,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023 สินค้าหลัก ได้แก่ เครื่องจักร อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ และเคมีภัณฑ์ ขณะที่อาเซียนส่งออกสินค้าสู่จีน มูลค่า 480,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023 สินค้าหลัก ได้แก่ สินค้าเกษตร แร่ธาตุ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนยานยนต์

การลงทุนในโครงการ Belt and Road ในอาเซียน

จีนลงทุนในโครงการ Belt and Road Initiative (BRI) ในอาเซียนกว่า 165,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2023 โดยเน้นที่ คมนาคม โลจิสติกส์ พลังงาน และโครงสร้างพื้นฐานในกลุ่มประเทศอาเซียน และนี่คือตัวอย่างโครงการ BRI ในประเทศเพื่อนบ้านรอบไทย รวมถึงไทย

  • เมียนมา

โครงการ "Belt and Road Initiative" (BRI) ในเมียนมา เข้ามาในชื่อ "China-Myanmar Economic Corridor (CMEC)" หรือระเบียงเศรษฐกิจจีน-เมียนมา เป็นแผนพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่มุ่งเน้นการสร้างถนน, รถไฟ, และท่าเรือเชื่อมต่อเมียนมากับจีน โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ โดยมีโครงการสำคัญเช่น ท่าเรือ Kyaukphyu ที่ตั้งอยู่ริมชายฝั่งและเส้นทางรถไฟ Muse-Mandalay เป็นส่วนหลักของทางเดินการค้าแห่งนี้ อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ภาระหนี้สิน และปัญหาที่อาจเกิดจากการยึดที่ดินจากชาวบ้าน

สำหรับการสร้าง "China-Myanmar Economic Corridor" ด้วยโครงการโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน, รถไฟ, และท่าเรือที่เชื่อมต่อชายฝั่งของเมียนมาร์กับมณฑลยูนนานของจีน

  • ไทย

โครงการ "Belt and Road Initiative" (BRI) ในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเป็นชุดโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยมุ่งเน้นไปที่การก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูง ซึ่งถือว่าเป็นรถไฟความเร็วสูงสายแรกของประเทศไทย โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ซึ่งมุ่งพัฒนาภูมิภาคตะวันออกให้เป็นศูนย์กลางการผลิต

  • ลาว

โครงการ Belt and Road Initiative (BRI) ในประเทศลาวประกอบด้วยโครงการรถไฟความเร็วสูง ทางด่วน และโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาการเชื่อมต่อและเส้นทางการค้าของลาว ซึ่งเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล โดยรถไฟสายเวียงจันทน์-คุนหมิง เชื่อมกรุงเวียงจันทน์ เมืองหลวงของลาว กับนครคุนหมิง เมืองเอกของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน และยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเครือข่ายรถไฟสายเอเชีย (Pan-Asia Railway Network) ซึ่งมีแผนจะขยายไปยังไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์

นอกจากนี้ยังมีโครงการอื่นๆ ทั้ง เขตความร่วมมือเศรษฐกิจโบเต็น-โม่ฮาน ,ทางด่วนเวียงจันทน์-ชายแดนจีน, โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำอู, เขตพัฒนาเวียงจันทน์ ไซเสดถา (Vientiane Saysettha Development Zone) และโครงการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าเชื่อมต่อ

  • กัมพูชา

โครงการ Belt and Road Initiative (BRI) ในประเทศกัมพูชาครอบคลุมโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ท่าเรือ พลังงาน อุตสาหกรรมการผลิต และอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ทั้งทางด่วนพนมเปญ-สีหนุวิลล์ ที่ช่วยลดระยะเวลาในการเดินทาง, สนามบินแห่งใหม่ในเสียมราฐ

ส่วนในด้านพลังงานก็จะมีโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ และเครือข่ายสายส่งไฟฟ้า ขณะที่จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์ (Sihanoukville Special Economic Zone) ซึ่งดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ยังไม่นับรวมอสังหาริมทรัพย์ ระบบน้ำประปา โรงเรียน และโรงพยาบาล

  • เวียดนาม

โครงการ Belt and Road Initiative (BRI) ในประเทศเวียดนาม เข้ามาด้วยโครงการโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน รถไฟ และท่าเรือ เช่น โครงการรถไฟที่จะเชื่อมต่อเมือง ลาวกาย (Lao Cai) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชายแดนจีน เข้ากับ ฮานอย (Hanoi) และไฮฟอง (Hai Phong) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างการค้าและความเชื่อมโยงระหว่างเวียดนามกับจีน โดยการบูรณาการเข้ากับเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของจีน

  • มาเลเซีย

โครงการ Belt and Road Initiative (BRI) ในประเทศมาเลเซีย มุ่งเน้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเน้นไปที่ โครงการรถไฟ East Coast Rail Link (ECRL) ซึ่งเชื่อมต่อชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรเข้ากับชายฝั่งตะวันตก เป็นส่วนหนึ่งของแผน BRI ที่มีเป้าหมายในการเสริมสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างยูเรเชีย โดย ECRL ถือเป็นโครงการรถไฟที่ได้รับเงินทุนจากจีนและเป็นองค์ประกอบสำคัญของยุทธศาสตร์ BRI ในมาเลเซีย นอกจากนี้ ยังมีโครงการก่อสร้างอสังริมทรัพย์ของบริษัทจากจีนด้วย

carnegieendowment, Linkedin

แชร์
เปิดอิทธิพลจีนในอาเซียน หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางในเพื่อนบ้านไทยมีอะไรบ้าง