ความยั่งยืน

อุตสาหกรรมการก่อสร้าง ผู้ถูกเพ่งเล็ง ‘ทำโลกร้อน’ เขียวขึ้นได้อย่างไร?

21 ม.ค. 67
อุตสาหกรรมการก่อสร้าง  ผู้ถูกเพ่งเล็ง ‘ทำโลกร้อน’ เขียวขึ้นได้อย่างไร?

อุตสาหกรรมก่อสร้างและที่อยู่อาศับ ถูกเพ่งเล่งว่าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สร้างมลพิษให้โลกสูง ไม่ใช่เพียงการปล่อยคาร์บอนอย่างต่อเนื่องนานหลายปีในระหว่างการก่อสร้าง ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตวัสดุก่อสร้าง การขนส่งมายังไซต์งาน การใช้พลังงานของสิ่งปลูกสร้าง ไปจนถึงขั้นตอนของการทำลายเมื่อหมดอายุ ล้วนใช้พลังงาน และสร้างคาร์บอนมหาศาล

 

saintgobain2

 

รัฐบาล ธุรกิจในอุตสาหกรรมการก่อสร้างและที่อยู่อาศัย จึงต้องเร่งปรับตัว ทั้งในแง่ของการกำกับดูแล และการปรับวิธีคิด ปรับโฉมธุรกิจใหม่ในทุกสเต็ป ซึ่งบริษัทใหญ่ซึ่งตื่นตัวในเรื่องเหล่านี้ และถูกกำกับดูแลอย่างเข้มข้นกว่าได้เริ่มเดินหน้าแล้ว แต่อุตสาหกรรมจะเขียวขึ้นได้ จิ๊กซอว์สำคัญคือธุรกิจ SMEs ที่สอดประสานอยู่ในทุกขั้นตอนของการก่อสร้าง

ในงานเสวนา ‘Elevate ambitions for a Sustainable Future, fostering positive change in Thailand's construction industry’ เจ้าภาพอย่าง Saint-Gobain ผู้นำด้านการก่อสร้างและวัสดุก่อสร้างระดับโลกได้จับมือพันธมิตรทั้งจากหน่วยงานรัฐและเอกชน อาทิ TEI, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, DOW Thailand group, SCBX และ Bouygues-Thai ร่วมเสวนาเรื่องความยั่งยืนของอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ซึ่งตัวแทนจากองค์กรได้ร่วมแสดงความเห็นถึงหนทางที่จะทำให้ SME ไม่ตกขบวนของการมุ่งสู่ความยั่งยืน ซึ่งจะนำมาสู่ค่าเสียหายต่อธุรกิจผ่านทั้งการเสียโอกาสค้าขาย และการถูกบังคับจากข้อกำหนดในระดับโลก

 

 ธุรกิจที่ยั่งยืน ต้องสร้างเงินได้จริง

 

ดร. เอกสิทธิ์ ลัคนานิธิพันธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย การทำธุรกิจยั่งยืนแบบไม่ใช่เพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์นั้น ต้องสามารถทำให้ธุรกิจ ‘สร้างเงินได้จริง’ และสามารถดำเนินไปได้ด้วยตัวเอง มีคุณค่ามากพอจนผู้คนยอมจ่ายเงินซื้อ ยกตัวอย่างเช่น SME บางรายมี Know-how ในการทำความสะอาดขยะหรือของเสียจากสายพานการผลิต เพื่อให้สามารถนำไปใช้ต่อเป็นวัตถุดิบของธุรกิจอีกเจ้าหนึ่งได้ โดยดร.เอกสิทธิ์เน้นย้ำว่า ไอเดียธุรกิจไม่จำเป็นต้องใหญ่ แต่ควรสามารถทำร่วมกับองค์กรใหญ่ ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ จะได้สร้างรายได้ให้กับธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน

 

saintgobain1

 

เสริมพลังรายเล็กด้วยนวัตกรรม

 

ด้าน นาย Benoit Bazin ซีอีโอของ Saint-Gobain Group เสริมว่า สิ่งสำคัญที่อยู่เบื้องหลังธุรกิจที่ยั่งยืนคือ งานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่สำคัญ วัตถุดิบที่เฉพาะเจาะของแต่ละพื้นที่ควรถูกต่อยอดขึ้นเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมยั่งยืน อาทิ การเปลี่ยนกากของผลปาล์มน้ำมันในประเทศไทยเป็น เถ้าปาล์มน้ำมัน เพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าหรือวัสดุผสมคอนกรีต หรือการนำซังข้าวมาผลิตเป็นถ่านเป็นเชื้อเพลิง ซึ่ง Saint-Gobain ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น รับสินค้าเหล่านี้เข้ามาใช้งานด้วย

นอกจากนั้น โซลูชันด้านดิจิทัลเองก็เป็นเครื่องมือสำคัญในการติดตาม Carbon Footprint, Life Cycle ของผลิตภัณฑ์ สิ่งเหล่านี้เป็นโอกาสขององค์กรขนาดเล็กที่จะมาร่วมสนับสนุนองค์กรใหญ่ สร้างไอเดีย นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อมุ่งสู่อุตสาหกรรมที่ยั่งยืนในทุกกระบวนการ

 

saintgobain3

 

นอกจากไอเดียบรรเจิด และนวัตกรรมแล้ว SME ก็ยังคงต้องการการสนับสนุนทั้งด้านเงินทุน องค์ความรู้ และการเข้าถึงมาตรฐานด้านความยั่งยืนต่างๆ ด้วยขั้นตอนที่สั้นลง และต้นทุนที่ถูกลง โดยทั้ง ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และ นายเสถียร เลี้ยววาริณ Chief Sustainability Officer บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) เน้นย้ำถึงการสนับสนุนที่ทั้งสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ หน่วยงานภาครัฐและสถาบันการเงินอื่นๆ มีให้กับ SME

 

เพื่อให้ SME มีความรู้ความเข้าใจด้านการทำธุรกิจให้ยั่งยืน และการทำธุรกิจที่มีแกนกลางเป็นความยั่งยืน สามารถเข้าถึงมาตรฐาน เช่น ฉลากเขียว ได้ง่ายขึ้น เพื่อพร้อมเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน ไม่ใช่แค่กับภาคอุตสาหกรรม แต่รวมไปถึงภาคอื่นๆ ด้วย

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT