อียิปต์เริ่มก่อสร้างโรงงานพลังงานไฟฟ้าผสานพลังแบตเตอรีแห่งแรกแล้ว หวังใช้พลังงานโซลาร์แก้ปัญหาวิกฤตพลังงานของประเทศ
ฤดูร้อนของอียิปต์ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็อาจหยิบยื่นทางแก้ให้อียิปต์ตอนใต้ได้ โครงการใหม่ของ Scatec คือ “in the magic solar belt” เผยว่า อียิปต์มีศักยภาพด้านผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์มากกว่าประเทศใด
ด้วยการอำนวยการสร้างโดย Scatec บริษัทพลังงานหมุนเวียนสัญชาตินอร์เวย์ โครงการ Obelisk ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองนักฮัมมันดี ทางอียิปต์ตอนบน จะสะสมพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ได้มากถึง 1.1 กิกะวัตต์ สะสมไว้ด้วยแบตเตอรี่ขนาด 200 เมกะวัตต์ชั่วโมง เป็นความก้าวหน้าด้านพลังงานสะอาดล่าสุดชิ้นหนึ่งในภูมิภาค โครงการนี้มีมูลค่า 590 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 1.9 หมื่นล้านบาท
ในอดีต การใช้พลังงานแสงอาทิตย์มีข้อจำกัดด้านความไม่สม่ำเสมอ อย่างเช่น แผงโซลาร์เซลล์สามารถทำงานได้เฉพาะเวลากลางวัน และการกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรีในระดับขนาดใหญ่ก็มีต้นทุนสูงเกินไป
อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ราคาของแบตเตอรีลดลง บวกกับต้นทุนการดำเนินงานและการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่ต่ำลง ทำให้โครงการที่ผสานการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เข้ากับระบบกักเก็บพลังงาน เช่น โครงการ Obelisk อาจสามารถเอาชนะข้อจำกัดนี้ได้
คาริม เอลเจนดี้ ผู้อำนวยการบริหารของ Carboun Institute ซึ่งเป็นคลังสมองด้านพลังงานและภูมิอากาศที่มุ่งเน้นภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือกล่าวว่า ด้วยขนาดของโครงการและทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม โครงการใหม่นี้สามารถสร้างสะท้อนศักยภาพด้านนี้ของภูมิภาคได้
“Obelisk สามารถแสดงให้เห็นถึงคุณค่าแก่ทั้งภูมิภาค และแก่ทั้งโลกว่า ‘พลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับแบตเตอรี’ สามารถลบจุดอ่อนสำคัญนี้ไปได้”
Scatec มีโครงการเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียนอีก 4 แห่งในอียิปต์และแอฟริกาเหนือ ด้วยเป้าหมายของอียิปต์ ที่ต้องการเพิ่มสัดส่วนตลาดของตนในอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด จาก 13% สู่ 42% ภายในปี 2030 ตามแผนเศรษฐกิจอียิปต์ 2567-2573
อียิปต์กำลังประสบปัญหาในการรักษาความมั่นคงด้านพลังงาน ราว 3 ใน 4 ของไฟฟ้าที่อียิปต์ใช้งานมาจากก๊าซธรรมชาติ แต่หลายปีที่ผ่านมา การผลิตก๊าซธรรมชาติในประเทศกลับมีปัญหา การผลิตที่ลดลงจากแหล่งก๊าซ Zohr ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญของประเทศลดลงต่อเนื่อง อียิปต์จึงต้องหันมาพึ่งพาการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากต่างประเทศ นำมาสู่ราคาก๊าซพุ่งสูง และมีเหตุไฟฟ้าดับเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
เพราะเทศหลักที่ส่งออกก๊าซธรรมชาติมาสู่อียิปต์คืออิสราเอล ทำให้มีการนำเข้าก็หยุดชะลอส่งก๊าซจากสงครามอิสราเอลปาเลสไตน์ที่กำลังเกิดขึ้น ยิ่งสะท้อนความไม่มั่นคงด้านพลังงานของอียิปต์
ข้อมูลจาก Middle East Business Intelligence ชี้ว่า ปัญหานี้เริ่มมาตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษที่ 2010 เพราะประชากรอียิปต์เติบโต การผลิตไฟฟ้าเพิ่มตามไม่ทัน ทั้งยังผลิตได้น้อยลงถึง 10% ระหว่างปี 2011-2013
ในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนที่ผ่านมา อียิปต์ได้ออกประกาศเชิญชวนให้มีการนำเข้าน้ำมันเตาเกือบสองล้านตัน เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้า หลังจากการนำเข้าก๊าซกลายเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป ฤดูร้อนทำให้ความต้องการไฟฟ้าพุ่งสูงขึ้น เนื่องจากประชาชนเปิดเครื่องปรับอากาศเพื่อต่อสู้กับอากาศร้อนจัด โดยอุณหภูมิเฉลี่ยในภาคใต้สามารถสูงถึง 42 องศาเซลเซียส นายกรัฐมนตรีมอสตาฟา มัดบูลี จึงได้เรียกร้องให้ประชาชนลดการใช้พลังงาน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาไฟฟ้าดับ
อียิปต์พยายามแก้ไขปัญหาด้วยการเชิญชวนบริษัทพลังงานต่างชาติเข้ามาลงทุนในอียิปต์ อย่างไรก็ตาม การผลิตดำเนินไปอย่างเชื่องช้าในบางภาคการผลิต และหลายโครงการชะลอลงไประหว่างความวุ่นวายทางการเมือง
เอลเจนดี้กล่าวว่า แม้อียิปต์จะพยายามมองหาแหล่งก๊าซธรรมชาติภายในประเทศ ประเทศก็ยังมีเป้าหมายด้านพลังงานสะอาดที่ทะเยอทะยาน แต่สิ่งที่เป็นปัจจัยหลักใยการขับเคลื่อนการลงทุนในพลังงานสะอาดคือ เศรษฐกิจ ไม่ใช่เพียงความมุ่งหมายด้านสิ่งแวดล้อม
โครงการด้านพลังงานสะอาด หรือพลังงานหมุนเวียนเป็นที่น่าดึงดูดในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มักจะได้รับผลกระทบจากปัญหาราคาเชื้อเพลิง เทอร์เย พิลสค็อก ซีอีโอของบริษัท Scatec กล่าวกับ CNN ถึงพลังงานสะอาดคือทางแก้ปัญหาพึ่งพิงการนำเข้าพลังงาน
“เมื่อมีพลังงานหมุนเวียน คุณก็จะไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงาน [...] มันเป็นเรื่องของการคาดการณ์ได้”
จากข้อมูลของ Global Solar Council ซึ่งเป็นองค์กรในอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ ระบุว่า กว่า 60% ของพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุดในโลกสำหรับการพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ในทวีปแอฟริกา แต่ในปี 2023 มี เพียง 3% ของพลังงานที่ใช้กันในทวีปแอฟริกามาจากพลังงานแสงอาทิตย์
ต่อมาเมื่อถึงปี 2024 โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่สร้างในแอฟริกา สร้างในแอฟริกาใต้หรือไม่ก็อียิปต์ อย่างไรก็ตาม อีก 18 ประเทศทั่วทวีปแอฟริกาก็มีศักยภาพติดตั้งโครงการพลังงานแสงอาทิตย์มากกว่า 100 ล้านวัตต์ในปี 2025 เทียบกับเพียง 2 ล้านวัตต์ในปี 2024 และทวีปแอฟริกายังตั้งเป้าไปให้ถึง 300 กิกะวัตต์ภายในปี 2030 ซึ่งมากกว่าที่สหรัฐฯ ทำได้ในขณะนี้เสียอีก