positioning

'สนามบินภูเก็ต' ฝ่าปมร้องเรียนเปิดประมูล 'บำบัดน้ำเสีย' เตือน ทอท.เสี่ยงชี้ 'ศาลปกครอง' เคยสั่งรัฐชดใช้เอกชน

12 ธ.ค. 66
'สนามบินภูเก็ต' ฝ่าปมร้องเรียนเปิดประมูล 'บำบัดน้ำเสีย' เตือน ทอท.เสี่ยงชี้ 'ศาลปกครอง' เคยสั่งรัฐชดใช้เอกชน
‘สนามบินภูเก็ต’ ยังไม่เคลียร์ปมร้องเรียนยกเลิกประมูลมิชอบฝืนประมูล จ้างควบคุมและบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสีย ใหม่บีบราคากลางเหลือ30ล้านบาทเปิดกรณีศึกษา 'ศาลปกครอง' สั่งหน่วยงานรัฐชดใช้ค่าเสียหายเอกชนเตือน ทอท.เสี่ยงซ้ำรอย

จากที่ นสพ.ผู้จัดการรายวัน ได้นำเสนอข่าวกรณีท่าอากาศยานภูเก็ตได้ประกาศยกเลิกประกวดราคางานจ้างควบคุมและบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสียเครื่องจักรและอุปกรณ์และระบบสุขาภิบาลท่าอากาศยานภูเก็ตเมื่อวันที่16พ.ค. 2566โดยอ้างเหตุผลว่าไม่ได้รับอนุมัติจ้างซึ่งเงื่อนไขข้อกำหนดไม่ละเอียดชัดเจนทำให้เกิดความสับสนในการพิจารณาผลการจ้างงานดังกล่าวและใช้ระยะเวลาในการพิจารณาผลล่วงเลยมาเป็นเวลานานซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดอีกทั้งมีผู้เสนอผ่านคุณสมบัติเพียงรายเดียวทำให้ไม่เกิดการแข่งขันทางด้านราคาหากดำเนินการต่อไปอาจจะไม่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทท่าอากาศยานไทยจำกัด(มหาชน)หรือ ทอท. (AOT)

ทำให้บริษัทพรวิษณุอันดามันจำกัดซึ่งเป็นผู้เสนอราคาและมีคุณสมบัติถูกต้องและคณะกรรมการฯ ได้เจรจาต่อรองราคาเรียบร้อยแล้วยื่นขออุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกประกวดราคาฯไปที่ผู้อำนวยการฝ่ายอำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ตตามมาตรา117แห่ง พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐพ.ศ. 2560

พร้อมทั้งยื่นไปยังคณะกรรมการอุทธรณ์กรมบัญชีกลางและผู้อำนวยการสำนักงานป.ป.ช.ประจำจังหวัดภูเก็ตร้องเรียนพนักงานของท่าอากาศยานภูเก็ตซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบกรณีไม่อนุมัติงานจ้างควบคุมและบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสียเครื่องจักรและอุปกรณ์และระบบสุขาภิบาล

รายงานข่าวแจ้งว่าหลังจากบริษัทพรวิษณุฯ ยื่นอุทธรณ์สนามบินภูเก็ตโดยนางเปมิกาสีสาคูคามผู้อำนวยการฝ่ายอำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ตได้มีหนังสือลงวันที่2มิ.ย. 2566ถึงบริษัทฯชี้แจงข้ออุทธรณ์การยกเลิกประกวดราคาดังกล่าวโดยระบุว่าท่าอากาศยานภูเก็ตได้รับหนังสือและข้อมูลการอุทธรณ์ในเบื้องต้นแล้วเนื่องจากผู้อุทธรณ์มีประเด็นโต้แย้งอ้างถึง พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งจะต้องเสนอให้ส่วนงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาและตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อให้การดำเนินการชี้แจงและตอบข้อสงสัยเป็นไปอย่างถูกต้องจึงจำเป็นต้องใช้เวลาในการพิจารณาและตรวจสอบข้อเท็จจริงหากดำเนินการพิจารณาแล้วเสร็จท่าอากาศยานภูเก็ตจะขอเชิญบริษัทเข้ามารับฟังคำชี้แจงในประเด็นข้อโต้แย้งคัดค้านในการยกเลิกการจัดจ้างนี้ต่อไป

ต่อมาวันที่23ส.ค. 2566บริษัทฯได้ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ตสอบถามความคืบหน้าในกรณีดังกล่าวเนื่องจากเห็นว่าระยะเวลาผ่านมานานพอสมควรแล้วโดยวันที่8ก.ย. 2566ทอท.มีหนังสือตอบกลับบริษัทระบุว่าเพื่อให้สามารถดำเนินการชี้แจงและตอบข้อสงสัยประเด็นดังกล่าวได้อย่างถูกต้องจึงได้ดำเนินการรวบรวมข้อเท็จจริงและความเห็นเพิ่มเติมจากส่วนงานที่เกี่ยวข้องและเห็นว่าควรดำเนินการขอหารือไปยังคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างหากได้รับความเห็นอย่างไรจะแจ้งให้บริษัทฯ ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรต่อไป

วันที่26ต.ค. 2566บริษัทได้ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ตเพื่อสอบถามความคืบหน้าเป็นครั้งที่2เนื่องจากผ่านระยะเวลามานานพอสมควรนับจากวันที่8ก.ย. 2566ที่ท่าอากาศยานภูเก็ตตอบกลับว่าจะแจ้งผลพิจารณาให้ทราบถึงปัจจุบันท่าอากาศยานภูเก็ตยังไม่มีหนังสือตอบกลับใดๆให้เอกชนรับทราบ
@ประมูลใหม่ เอกชนฟันต่ำกว่าราคากลางกว่า 16%

เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2566 นายพีระ อากาศไชย ผู้อำนวยการฝ่ายอำนวยการ ท่าอากาศยานภูเก็ต ปฏิบัติงานแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ได้ลงนามในประกาศประกวดราคางานจ้างควบคุมและบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสียเครื่องจักรและอุปกรณ์ และระบบสุขาภิบาล ท่าอากาศยานภูเก็ต ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ( e-bidding) ราคากลาง 30,163,165.62 ล้านบาท ระยะเวลาจ้าง 3 ปีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 1 มกราคม 2570 กำหนดยื่นเสนอราคาวันที่ 29 พ.ย. 2566 ปรากฏว่ามีเอกชน 2 รายยื่นราคา แต่ไม่มีบริษัทที่เคยยื่นเสนอราคาครั้งก่อนเข้าร่วม และผลเคาะราคามีบริษัทที่ได้เสนอราคาต่ำกว่าราคากลางกว่า 5 ล้านบาท

ขณะที่การประมูลก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2565 ราคากลางอยู่ที่กว่า 38 ล้านบาท
@เปิดกรณีศึกษา 'ศาลปกครอง' สั่งหน่วยงานรัฐชดใช้ค่าเสียหายเอกชน เหตุยกเลิกประมูลมิชอบ

รายงานข่าวแจ้งว่า กรณีการยกเลิกประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้าง หลังมีการเจรจาต่อรองกับผู้เสนอราคาเรียบร้อยแล้ว โดยอ้างเงื่อนไขการประกวดราคาไม่ชัดเจน และเอกชนที่ได้รับคัดเลือกมีการยื่นอุทธรณ์โดยเรื่องยังไม่ยุติ หน่วยงานกลับเดินหน้าประมูลใหม่นั้น เคยมีกรณีศึกษาของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ประกวดราคาจัดซื้อระบบสื่อสารพร้อมติดตั้งจำนวน 6 รายการ เอกชนจึงยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง โดยศาลปกครองชี้ว่าการออกคำสั่งยกเลิกการประกวดราคาเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบก่อให้เกิดความเสียหาย เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี และให้ชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้ฟ้องคดี

ประเด็นนี้ หากที่สุดเอกชนยื่นฟ้องศาลปกครอง ซึ่งมีกรณีตัวอย่างไว้ ข้างต้น ก็มีความเสี่ยงที่ ทอท.จะต้องชดใช้ค่าเสียหาย จากการที่ผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ตออกคำสั่ง ยกเลิกประกวดราคาโดยไม่ชอบ

รายงานข่าวแจ้งว่า หลังสัญญาจ้างเดิมหมดอายุ และอยู่ระหว่างการประมูล ท่าอากาศยานภูเก็ตได้ทำสัญญาจ้างชั่วคราว บริษัท พรวิษณุอันดามัน จำกัด ในฐานะผู้รับงานเดิมชั่วคราว 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2565 ถึงวันที่ 1 พ.ค. 2566 แต่เมื่อครบ 6 เดือน ประกอบกับเกิดกรณียกเลิกประมูล และเอกชนยื่นอุทธรณ์ ท่าอากาศยานภูเก็ต จึงไม่มีการต่อสัญญาชั่วคราว ทำให้ไม่มีผู้ดูแลการบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสียฯ สนามบินภูเก็ต โดยผู้บริหารสนามบินภูเก็ต ระบุว่าสามารถดูแลระบบเองได้

แต่กลับส่งผลต่อการให้บริการทันที เช่น ห้องน้ำ ในอาคารผู้โดยสารมีปัญหาอุดตัน น้ำเอ่อนองพื้นห้องน้ำ ต้องปิดห้ามใช้หลายครั้ง ทำให้ผู้โดยสารเดือดร้อน มีปัญหาการบำบัดน้ำเสีย จนทำให้มีประชาชนร้องเรียนเพราะพบน้ำทิ้งที่ปล่อยออกจากสนามบินภูเก็ตลงสู่ทะเล บริเวณหาดในยาง ทั้งดำและเหม็น

Powered By : Positioning

advertisement

SPOTLIGHT