การเงิน

จัดอันดับระบบบำนาญของ ไทย "แย่ที่สุดในโลก" ติดต่อกันปีที่สอง

12 ต.ค. 65
จัดอันดับระบบบำนาญของ ไทย "แย่ที่สุดในโลก" ติดต่อกันปีที่สอง

Mercer เปิดเผยอันดับระบบบำนาญทั่วโลก "ไอซ์แลนด์" ขึ้นแท่นดูแลดีที่สุดอันดับ 1 ขณะที่ "ไทย" ยังคงอันดับสุดท้ายเป็นปีที่สองติดต่อกัน


"ระบบบำนาญ" ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ชี้วัดประสิทธิภาพการดูแลความกินดีอยู่ดีของประชาชน ความพร้อมที่แต่ละประเทศจะรับมือกับสังคมผู้สูงอายุ 

ยิ่งทุกวันนี้หลายประเทศกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หรือการที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่า 10% ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีคนอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 7% ของประชากร ประกอบกับคนแต่งงานน้อยลง มีลูกกันลดลง โอกาสที่เราจะใช้ชีวิตวัยชรากันเพียงลำพังก็มีมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้ระบบบำนาญมีความสำคัญยิ่งขึ้นไปอีก

แต่ "ประเทศไทย" ซึ่งกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ กลับถูกจัดอันดับเรื่องระบบบำนาญให้อยู่ใน "อันดับรั้งท้าย" แถมยังเป็นที่โหล่มา 2 ปีติดต่อกันแล้วด้วย!

Mercer บริษัทที่ปรึกษาด้านทรัพยากรมนุษย์สัญชาติอเมริกัน ร่วมกับสถาบันวิเคราะห์ด้านการเงิน CFA Institute และ Monash Business School ในออสเตรเลีย เผยรายงานดัชนีระบบบำนาญทั่วโลกประจำปี 2021 โดยสำรวจระบบรายได้ยามเกษียณของ 44 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ พบว่า ประเทศไทยยังคงรั้งตำแหน่งระบบบำนาญแย่ที่สุดในโลก "เป็นปีที่สองติดต่อกัน" 

artboard1_156

โดยในปี 2021 ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 44 ได้คะแนนไป 41.7 คะแนน หรือน้อยกว่าค่าเฉลี่ยโลกซึ่งอยู่ที่  63.0 คะแนน ขณะที่ในรายงานของปี 2020 โดยเป็นการจัดอันดับ 39 ประเทศทั่วโลกนั้น ประเทศไทยก็อยู่ในอันดับสุดท้ายเช่นกัน 

การจัดอันดับเป็นการประเมินปัจจัย 3 ด้าน คือ

1. ความเพียงพอ (adequacy) น้ำหนักคะแนน 40% - จะมุ่งตรวจสอบผลประโยชน์ที่ผู้เกษียณได้รับ / การออกแบบระบบบำนาญ / ระดับการออม / การเป็นเจ้าของบ้าน และ การเติบโตของสินทรัพย์ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ เพื่อพิจารณาความสามารถในการจัดหารายได้หลังเกษียณว่าเพียงพอหรือไม่

2. ความยั่งยืน (sustainability) น้ำหนักคะแนน 35%- อาทิ สินทรัพย์สุทธิ / ประชากรศาสตร์ / การใช้จ่ายของภาครัฐ / หนี้สาธารณะ / และ การเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นต้น

3. ความซื่อตรงต่อหลักการ (Integrity) น้ำหนักคะแนน 25%- จะคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ อย่างเช่น กฎระเบียบ / การกำกับดูแล / ธรรมาภิบาล / การคุ้มครอง / การสื่อสาร และต้นทุนการดำเนินงาน

รายงานของเมอร์เซอร์ ระบุว่า ประเทศไทยพึ่งพาระบบบบำนาญ 3 ด้านหลักๆ คือ 1. ระบบประกันสังคม ที่ครอบคลุมภาคเอกชนในทุกอาชีพ 2. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) และ 3. ผลิตภัณฑ์การเงินส่วนบุคคล เช่น กองทุน RMF   
  
เมอร์เซอร์ได้ให้คำแนะนำกับประเทศไทยเอาไว้ 4 ข้อด้วยกันคือ เมอร์เซอร์ได้ให้คำแนะนำกับประเทศไทยเอาไว้ 4 ข้อด้วยกันคือ 


1. เพิ่มความครอบคลุมของพนักงานในโครงการบำเหน็จบำนาญ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มระดับของเงินสมทบและทรัพย์สิน
2. เพิ่มเพดานขั้นต่ำในการสนับสนุนผู้สูงอายุกลุ่มที่ยากจนที่สุด
3. นำเสนอว่า ส่วนหนึ่งของผลประโยชน์การเกษียณจากการจัดการเงินบำนาญส่วนตัว จะต้องนำมาเป็นกระแสรายได้
4. ปรับปรุงข้อกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ในระบบประกันสังคม   
  

สำหรับประเทศที่ครองแชมป์ระบบบำนาญดีที่สุดของโลก 10 อันดับแรก คือ

1. ไอซ์แลนด์ 84.7
2. เนเธอร์แลนด์ 84.6 คะแนน
3. เดนมาร์ก 82.0 คะแนน
4. อิสราเอล 79.8 คะแนน
5. ฟินแลนด์ 77.2 คะแนน
6. ออสเตรเลีย 76.8 คะแนน
7. นอร์เวย์ 75.3 คะแนน
8. สวีเดน 74.6 คะแนน
9. สิงคโปร์ 74.1 คะแนน
10. สหราชอาณาจักร 73.7 คะแนน

 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT