การเงิน

4 เทคนิคการเก็บเงินแบบง่ายๆในยุค Digital เริ่มต้นได้ทุกคน

22 พ.ค. 65
4 เทคนิคการเก็บเงินแบบง่ายๆในยุค Digital  เริ่มต้นได้ทุกคน
ไฮไลท์ Highlight
"การเปิดบัญชีเงินฝากเพื่อเตรียมเงินไว้เป็นค่าใช่จ่ายกลุ่มต่างๆจะช่วยให้การใช้เงินแต่ละเดือนมีระเบียบมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันการมีเงินฝากหลายบัญชีไม่ใช่เรื่องยาก นอกจากสามารถเปิดบัญชีได้ทันทีบนมือถือโดยไม่ต้องไปรอคิวที่สาขาธนาคารแล้ว ยังสามารถจัดการเงินในบัญชีได้แทบทุกอย่างด้วย mobile banking บนมือถือที่มี" 

เงินเก็บใครๆ ก็อยากมี แต่ก็ไม่เคยเก็บได้สักที ยิ่งในยุคที่การใช้จ่ายเป็นเรื่องง่าย แค่คลิกบนมือถือเงินก็ถูกจ่ายเป็นค่าชอปปิงหรือค่าอาหารได้ทันที แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ง่ายขึ้นก็ช่วยทำให้การเก็บเงินเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นเช่นกัน

 

1.แยกบัญชี ตามกลุ่มค่าใช้จ่าย

 

ค่าใช้จ่ายการดำเนินชีวิตหลักๆ แบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้คือ 

(1) ค่าใช้จ่ายคงที่ ที่ต้องจ่ายแน่นอน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนหนี้

(2) ค่าใช้จ่ายจำเป็น ที่จ่ายแทบเท่ากันทุกเดือน เช่น ค่าประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าที่จอดรถ ค่าเดินทางไปทำงาน

(3) ค่าใช้จ่ายประจำวัน ที่อาจเปลี่ยนแปลงได้บ่อยๆ ในแต่ละเดือน เช่น ค่าอาหาร ค่าชากาแฟ

(4) ค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นรางวัลให้ตนเอง เช่น ค่าสังสรรค์ปาร์ตี้ เพื่อเข้าสังคมกับเพื่อนฝูง

 

"การเปิดบัญชีเงินฝากเพื่อเตรียมเงินไว้เป็นค่าใช่จ่ายกลุ่มต่างๆจะช่วยให้การใช้เงินแต่ละเดือนมีระเบียบมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันการมีเงินฝากหลายบัญชีไม่ใช่เรื่องยาก นอกจากสามารถเปิดบัญชีได้ทันทีบนมือถือโดยไม่ต้องไปรอคิวที่สาขาธนาคารแล้ว ยังสามารถจัดการเงินในบัญชีได้แทบทุกอย่างด้วย mobile banking บนมือถือที่มี" 

 

และนอกจากบัญชีเงินฝากเพื่อ 4 กลุ่มค่าใช้จ่ายแล้ว อีก 2 บัญชีที่ทุกคนควรมีคือ

(1) บัญชีเพื่อเตรียมจ่ายค่าบัตรเครดิต และ

(2) บัญชีเงินเก็บ หรือหากใครมีค่าใช้จ่ายที่ต้องรับผิดชอบมากกว่านี้ ก็ควรมีบัญชีเงินฝากไว้รองรับเพิ่มเติมด้วย

 

 

2.คุม Budget ด้วย การใส่เงินในบัญชี

 

เมื่อมีบัญชีเงินฝากแยกตามกลุ่มค่าใช่จ่ายแล้ว ควรมีการกำหนด Budget แต่ละกลุ่มค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน และกระจายเงินเดือนหรือรายได้ที่ได้รับในแต่ะละเดือน ไปยังบัญชีเงินฝากต่างๆ ตาม Budget ที่ตั้งไว้

 

ตัวอย่าง คนเงินเดือน 25,000 บาท กระจายเงินที่ได้รับไปบัญชีต่างๆ ทุกต้นเดือน เช่น

บัญชีที่ (1) เพื่อเตรียมไว้จ่ายค่าเช่าบ้าน 5,000 บาท

บัญชีที่ (2) เพื่อเตรียมไว้จ่ายค่าประปา/ไฟฟ้า 2,000 บาท ค่ารถเมล์รถไฟฟ้าไปทำงาน 2,500 บาท และค่าของใช้ในบ้าน 2,000 บาท

บัญชีที่ (3) เพื่อเตรียมเป็นค่าอาหาร 3 มื้อ 5,000 บาท และค่ากาแฟ 1,000 บาท

บัญชีที่ (4) เพื่อเตรียมเป็น ค่าสังสรรค์ 5,000 บาท

ส่วนที่เหลือ 2,500 บาท แยกไว้อีกบัญชีที่ตั้งใจเป็นบัญชีเงินเก็บ

 

"การแยกบัญชีตามกลุ่มค่าใช้จ่าย จะช่วยให้รู้ว่าเดือนนี้เราเหลือเงินเพื่อใช้จ่ายแต่ละเรื่องอยู่ที่เท่าไร เช่น ผ่านมาครึ่งเดือน หากบัญชีส่วนของค่าสังสรรค์เหลือ 1,000 บาท แสดงว่านับตั้งแต่ต้นเดือนมามีการใช้จ่ายเงินส่วนนี้ไปมากแล้ว ครึ่งเดือนหลังจึงควรลดการสังสรรค์กับเพื่อนลงบ้าง"

 

นอกจากการใช้จ่ายด้วยเงินจากในบัญชีแล้ว หากมีการใช้บัตรเครดิตควรมีการกันเงินออกจากบัญชีเพื่อสะท้อนค่าใช้จ่ายจริงมากที่สุด เช่น หากมีการจ่ายค่าอาหารด้วยบัตรเครดิต ก็ควรมีการโอนเงินค่าอาหารนี้ออกจากบัญชีค่าใช้จ่ายประจำวันไปไว้ในบัญชีเพื่อเตรียมจ่ายค่าบัตรเครดิต เพื่อให้รู้ว่าในช่วงที่ผ่านมามีค่าใช้จ่ายประจำวันมากน้อยแค่ไหน และเมื่อถึงกำหนดจะได้มั่นใจว่าจะมีเงินชำระค่าบัตรเครดิตได้อย่างแน่นอนไม่เกิดเป็นหนี้สินตามมา

 

 istock-1331910730

 

3.ทบทวนค่าใช้จ่าย เพื่อกำหนดเงินออม

 

เมื่อมีการกระจายเงินในบัญชีต่างๆ ทุกต้นเดือนแล้ว พอถึงสิ้นเดือนก็ควรเช็กยอดเงินที่เหลือในแต่ละบัญชีหากบัญชีไหนมีเงินเหลือ ก็ควรโอนเงินส่วนที่เหลือนั้นไปไว้ในบัญชีเงินเก็บเพื่อเคลียร์บัญชีไว้ตั้ง Budget สำหรับค่าใช้จ่ายเดือนถัดไป ซึ่งหากบัญชีไหนที่มีเงินเหลือหลายเดือนติดต่อกัน แสดงว่าอาจมีการตั้ง Budget สูงกว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ควรลองลด Budget ส่วนนั้นลง และนำไปเพิ่มในบัญชีเงินเก็บแทน

 

หากบัญชีไหนที่เงินไม่พอใช้ ควรลองทบทวนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง โดยดูจากประวัติการโอน/จ่ายย้อนหลัง ว่าเงินส่วนใหญ่หมดไปกับเรื่องอะไร ใช่เรื่องที่จำเป็นไหม สามารถลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ลงได้หรือไม่

 

"หลังจากทบทวนค่าใช้จ่ายและตั้ง Budget ได้อย่างเหมาะสมแล้ว จะทำให้รู้ว่าสามารถเก็บเงินได้เท่าไร เพื่อจะได้กันเงินเก็บได้ตั้งแต่ต้นเดือนหรือที่เรียกว่า “เก็บก่อนใช้” ซึ่งดีกว่า “เหลือเท่าไรแล้วค่อยเก็บ” และหากเงินเก็บที่ว่ายังไม่ถึง 20%ของรายได้ ในเดือนต่อๆ ไป ควรทบทวนและลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงอีก เพื่อจะได้มีเงินเก็บมากขึ้น"

 

 

4.เลือกใช้บัญชี ที่ให้ดอกเบี้ยสูง

 

นอกจากควบคุมค่าใช้จ่ายให้มีเงินเก็บมากขึ้นแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยเงินในบัญชีเติบโตได้ทุกวันคือการเลือกบัญชีเงินฝากที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากทั่วไป อย่างเงินฝาก e-Savings ซึ่งเป็นเงินฝากออมทรัพย์ประเภทหนึ่ง ที่ไม่มีสมุดคู่ฝาก และหลายธนาคารก็ให้อัตราดอกเบี้ยที่สูง เช่น 1.5%ต่อปี ซึ่งสูงเป็น 6 เท่า ของดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ที่ส่วนใหญ่ให้ดอกเบี้ยเพียง 0.25%ต่อปี เท่านั้น

 

"การเปลี่ยนจากออมทรัพย์ทั่วไป มาเป็น e-Savings จะช่วยให้ในแต่ละปีมีเงินเก็บได้มากขึ้นจากดอกเบี้ยรับที่สูงขึ้น เพียงแค่เปิดบัญชีบน mobile banking โดยสามารถเปิดได้หลายธนาคารและบางธนาคารเปิดได้หลายบัญชี ทำให้สามารถมีบัญชีเพื่อรองรับได้หลายวัตถุประสงค์ อีกทั้งการโอนเงินกันไปมา ปัจจุบันก็ทำได้เสมือนเป็นธนาคารเดียวกัน เพราะส่วนใหญ่การโอนเงินด้วย mobile banking มักไม่เสียค่าธรรมเนียม"

 

 

เก็บเงินไม่ใช่เรื่องยาก แต่ยากตรงที่ตอนเริ่มต้นและจะเก็บอย่างไรไม่ให้หมดไฟไปเสียก่อน สิ่งหนึ่งที่ช่วยได้ คือ การแยกบัญชีเงินเก็บออกจากบัญชีใช้จ่าย เพื่อให้เห็นยอดเงินเก็บที่ชัดเจน เป็นแรงบันดาลใจในการเก็บเงินเดือนต่อๆไป

 

istock-1153953982 

 

บทความอื่นๆ ของคุณราชันย์ ตันติจินดา 

5 เทคนิคใช้บัตรเครดิต ยังไง? ให้มีแต่ได้

ราชันย์ ตันติจินดา

ราชันย์ ตันติจินดา

นักวางแผนการเงิน CFP

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT