การเงิน

บจ.ไทยปี 2565 ความสามารถในการทำกำไรลดลง ถูกกดดันจากต้นทุนสูงขึ้น

19 มี.ค. 66
บจ.ไทยปี 2565 ความสามารถในการทำกำไรลดลง  ถูกกดดันจากต้นทุนสูงขึ้น
ไฮไลท์ Highlight
ผลการดำเนินงานงวดปี 2565 เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน บจ. ใน SET มียอดขาย 17,680,306 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 32.4% บจ. มีต้นทุนการผลิต 13,916,480 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36.8% กำไรจากการดำเนินงานหลัก (Core profit) 1,832,029 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.4% และมีกำไรสุทธิ 974,759 ล้านบาท ลดลง 1.9%

บริษัทจดทะเบียนรายงานผลประกอบการปี 2565 พบว่ายอดขายเติบโตดีจากการเปิดประเทศและจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น แต่อัตรากำไรเติบโตชะลอตัว โดยได้รับผลกระทบจากทั้งต้นทุนการผลิตและต้นทุนการเงินที่เพิ่มขึ้น

นายแมนพงศ์ เสนาณรงค์ รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัท จดทะเบียน (บจ.) จำนวน 798 บริษัท คิดเป็น 98.6% จากทั้งหมด 809 บริษัท (รวม SET และ mai และไม่รวมกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน บจ. ในกลุ่มที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน หรือ NC) นำส่งผลการดำเนินงานงวดปี 2565 สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2565 พบว่ามี บจ. รายงานกำไรสุทธิ 619 บริษัท คิดเป็น 77.6% ของ บจ. ที่นำส่งงบการเงินทั้งหมด

ผลการดำเนินงานงวดปี 2565 เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน บจ. ใน SET มียอดขาย 17,680,306 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 32.4% บจ. มีต้นทุนการผลิต 13,916,480 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36.8% กำไรจากการดำเนินงานหลัก (Core profit) 1,832,029 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.4% และมีกำไรสุทธิ 974,759 ล้านบาท ลดลง 1.9%

อย่างไรก็ดี ปี 2565 มีรายการพิเศษค่อนข้างสูง หากไม่รวมรายการดังกล่าวจะทำให้มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นประมาณ 5% สำหรับฐานะการเงินของกิจการ ณ 31 ธันวาคม 2565 บจ. ไทยมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E ratio) (ไม่รวมอุตสาหกรรมการเงิน) อยู่ที่ระดับ 1.59 เท่า เพิ่มขึ้นจาก 1.53 เท่า เมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อน

อัตราส่วนแสดงความสามารถการทำกำไร     ปี 2564  ปี 2565 ดังนี้

  • อัตรากำไรขั้นต้นปี 64 23.8% ปี 65 21.3%
  • อัตรากำไรจากการดำเนินงานหลักปี 6411.6% ปี 65. 10.4%
  • อัตรากำไรสุทธิปี 64  7.4% ปี 65  5.5%

 screenshot2566-03-18at16.

 

“บจ. ในธุรกิจพลังงาน อาหาร บริการ และอสังหาริมทรัพย์มียอดขายดีขึ้น จากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง การเปิดประเทศ และมาตรการลดค่าโอนและค่าจดจำนอง อีกทั้งเศรษฐกิจที่ขยายตัวทำให้ธุรกิจธนาคารขยายตัวได้ดีเช่นกัน ทั้งนี้ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ผันผวนและต้นทุนการเงินที่สูงขึ้น ทำให้อัตราการเติบโตของกำไรชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี หลายธุรกิจที่มีกำไรสุทธิลดลง อาทิ ธุรกิจปิโตรเคมี ยางพารา เหล็ก และประกันภัย  แม้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 ซึ่งคาดว่านโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวจากภาครัฐจะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ บจ. จะยังมีความท้าทายจากราคาน้ำมันที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูงและการเพิ่มขึ้นของค่าพลังงาน” นายแมนพงศ์กล่าว

นายแมนพงศ์ เสนาณรงค์ รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
นายแมนพงศ์ เสนาณรงค์
รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ด้านผลการดำเนินงานของ บจ. ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ปี 2565 เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน มียอดขายรวม 214,691 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.1% มีกำไรจากการดำเนินงาน 12,556 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.8% และมีกำไรสุทธิ 7,413 ล้านบาท ลดลง 23.0%

 

advertisement

SPOTLIGHT