ไลฟ์สไตล์

เลิกเป็น Perfectionist เพราะความสมบูรณ์แบบ คือศัตรูของชีวิต

14 ก.พ. 66
เลิกเป็น Perfectionist  เพราะความสมบูรณ์แบบ คือศัตรูของชีวิต
ไฮไลท์ Highlight
ลักษณะของคนที่เป็น Perfectionist จะตั้งมาตรฐานที่สูงจนเกินจริงสำหรับตัวเอง ซึ่งมันส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตอย่างมาก โดยพบว่าปัจจุบันความเป็น Perfectionism  ได้ลุกลามไปทั่วจนอาจกล่าวได้ว่ากลายเป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขของโลกไปแล้วก็ว่าได้  “การไม่เรียนรู้ถึงความเจ็บปวด เป็นส่วนหนึ่งอาจจะทำให้คุณกลายเป็น Perfectionist ได้ ลองหาวิธีที่จะทำให้คุณมีความสุขกับชีวิตมากขึ้นไม่กดดันตัวเองที่ต้องกลายมาเป็นมนุษย์ที่อยู่ในลัทธิ Perfectionism "

เคยได้ยิน หรือเคยถูกพูดถึงมั้ยว่า คุณคือพวก Perfectionist หรือคนที่นิยมในความสมบูรณ์แบบ นักจิตวิทยาท่านหนึ่งบอกว่า คนจำนวนมากยังเข้าใจผิด คิดว่าความสมบูรณ์แบบคือสิ่งสะท้อนเป้าหมายของเรา แต่แท้จริงแล้ว ความสมบูรณ์แบบที่เราพยายามอยากจะเป็นมันคือความวิตกกังวล ที่บั่นทอนความสุขในชีวิตและทำให้คุณค่าในตัวเองลดลงด้วยซ้ำ

Kate Rasmussen นักวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กและลัทธินิยมความสมบูรณ์แบบ มีข้อมูลการศึกษาของ American Psychological Association ในปี 2018 พบว่า ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ความนิยมในความสมบูรณ์แบบ หรือ Perfectionism ได้เพิ่มขึ้นอย่างมากในกลุ่มคนรุ่นใหม่ส่วนหนึ่งถูกกระตุ้นจาก Social Media ที่ทำให้คนเกิดการวัดดัวเองกับความสำเร็จของคนอื่น ทั้งเพื่อนร่วมงาน เพื่อนๆในโรงเรียน โดยพบว่า เด็ก 2 ใน 5 คนมีแนวโน้มที่จะมีลักษณะของ Perfectionism

 เป็น Perfectionist ไม่ดีตรงไหน? 


ลักษณะของคนที่เป็น Perfectionist จะตั้งมาตรฐานที่สูงจนเกินจริงสำหรับตัวเอง ซึ่งมันส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตอย่างมาก โดยพบว่าปัจจุบันความเป็น Perfectionism  ได้ลุกลามไปทั่วจนอาจกล่าวได้ว่ากลายเป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขของโลกไปแล้วก็ว่าได้ 

“การไม่เรียนรู้ถึงความเจ็บปวด เป็นส่วนหนึ่งอาจจะทำให้คุณกลายเป็น Perfectionist ได้ ลองหาวิธีที่จะทำให้คุณมีความสุขกับชีวิตมากขึ้นไม่กดดันตัวเองที่ต้องกลายมาเป็นมนุษย์ที่อยู่ในลัทธิ Perfectionism "

Perfectionism

เรียนรู้ว่า สัญญาณแบบไหนบ่งบอกว่าเรากำลังจะเป็น Perfectionist

นักเขียนด้านสุขภาพจิต Aarons-Mele ระบุว่า งานวิจัยชี้ว่าผู้ที่ชอบความสมบูรณ์แบบมักจะมีระดับแรงจูงใจที่มากกว่าผู้ที่ไม่สมบูรณ์แบบ ซึ่งระดับแรงจูงใจนั้นมากพอที่จะสามารถทำให้ความ  Perfectionism เกิดขึ้นเพราะคุณรู้สึกต้องการแสวงหาความสมบูรณ์แบบอย่างไม่ลดละ ทะเยอทะยานต่อเป้าหมายนั้นอย่างมาก

แต่มันมีประโยชน์เพียงแค่นั้น เพราะนักวิจัยจาก Trinity Western University ของแคนาดา ในปี 2009 พบว่า ความสมบูรณ์แบบกลับนำไปสู่การเห็นคุณค่าในตัวเองลดลง มีความเครียดสูง เกิดภาวะซึมเศร้าและโรควิตกกังวลได้ งานที่คุณทำก็ต้องทนทุกข์ทรมานไปด้วย เพราะทำงานที่ได้รับเสร็จสมบูรณ์น้อยลง  ผู้ที่ชอบความสมบูรณ์แบบมักจะสร้างงานที่มีคุณภาพต่ำกว่าที่พวกเขาสามารถทำได้จริง ผลที่ตามมาในระยาวคือคุณกลายเป็นคนทำงานหนักเกินไปจนเหนื่อยหน่าย ผลัดวันประกันพรุ่งไม่รู้จบเพราะเดิมพันสูงเกินไป ซี่งนั้นก็คือแรงกดดันที่ต้องดี ต้องสมบูรณ์ กลายเป็นด้อยคุณภาพของผลลัพธ์ที่ได้ลงไปนั่นเอง 

นักเขียนด้านสุขภาพจิต แนะนำทางออกว่า ขั้นตอนแรกของการแก้ไขปัญหานั้นง่ายมาก เพียงเริ่มให้ความสนใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้าในชีวิตของคุณ เพราะ Perfectionism  มักกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังจะมาถึง เช่น ยังไม่เคยทำงานนี้เลยซักครั้ง แต่ตั้งเป้าหมายว่างานชิ้นนี้ต้องได้รับรางวัลให้ได้ หรือ บางคนอาจจะพบว่าตัวเองจมอยู่กับแล็ปท็อปจนดึกดื่น เพราะเราได้สาบานกับตัวเองว่าการทำงานต่ออีกชั่วโมง มันจะทำให้รายงานของคุณสมบูรณ์แบบในที่สุด อาการเหล่านี้ล่ะ พอจะเป็นสัญญาณบ่งบอกได้ว่า คุณเริ่มมีอาการคลั่งความเพอร์เฟคแล้ว

ยิ่งเรารู้เกี่ยวกับแนวโน้มของตัวเองมากเท่าไหร่  เราก็ยิ่งสามารถมุ่งสู่การเปลี่ยนแปลงได้มากเท่านั้น และเราจะเสียพลังงานน้อยลงในไปให้ความสำคัญต่อสิ่งอื่นๆได้ 

 กำหนด 'กฎพื้นฐาน' สำหรับสมองของเรา 

นักเขียนด้านสุขภาพจิต Aarons-Mele  บอกว่า หากคุณพบว่า พฤติกรรม Perfectionism ของคุณกำลังมีแนวโน้มที่จะขัดขวางชีวิตหรือการทำงานของคุณอย่างรุนแรง คุณควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ เมื่อพิจารณาหาความความเชื่อมโยงระหว่างการเป็น Perfectionist และความวิตกกังวล ผู้เชี่ยวชาญสามารถช่วยคุณแก้ไขปัญหาได้

หรือมิฉะนั้นคุณควรตั้ง "กฎพื้นฐาน" บางอย่างเพื่อให้พฤติกรรมของคุณไม่ตรงกับความคิดของตัวเอง  ความหมายคือ  ตั้งระยะเวลาที่จำกัดในงานที่เราคิดว่าจะต้องทุ่มเทอย่างหนัก คำนึกถึงความเป็นจริงที่เป็นไปได้  และตั้งเป้าหมายที่จะทำงานในระยะเวลาที่สั้นกว่าปกติ เช่นหากโปรเจกต์นี้ไม่ควรใช้เวลาแปดชั่วโมง ก็อย่าปล่อยให้ใช้เวลาถึงแปดชั่วโมงจริงๆ

หรือ การวางแผนล่วงหน้าเพื่อกำหนดว่าคุณจะเดินต่อไปอย่างไร ให้เวลาแต่ละงานมีเส้นตายสั้นๆ เพื่อที่คุณจะได้ติดตามงานและทำมันให้เสร็จเรียบร้อย แม้ว่ามันอาจจะไม่สมบูรณ์แบบก็ตาม แต่มันก็เสร็จเรียบร้อยเมื่อครบแปดชั่วโมงที่เราวางไว้ เป็นต้น

หรือหากคุณประหม่าเกินไปที่จะเริ่มโปรเจกต์เพราะต้องการให้มันออกมาสมบูรณ์แบบ  ก็เปลี่ยนมาตั้งเป้าหมายเล็กๆ ที่จับต้องได้ เพื่อช่วยให้ตัวเองสามารถไปต่อได้ การวัดประสิทธิภาพเหล่านี้อาจเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่ก็เป็นการให้คุณค่ากับตัวเองอีกทางหนึ่งเช่นกัน


วิธีการเหล่านี้จะใช้ได้ผลก็ต่อเมื่อเราปฏิบัติต่อตัวเองด้วยความเห็นอกเห็นใจ และคอยต่อต้านเสียงที่บอกเราว่า “ทุกอย่างต้องสมบูรณ์แบบ”

 

ที่มา CNBC : Perfectionism can be your biggest enemy

advertisement

SPOTLIGHT