อินไซต์เศรษฐกิจ

10 ประเทศมหาอำนาจ ด้านการส่งออกอาวุธ รายใหญ่ที่สุดของโลก

27 ต.ค. 66
10 ประเทศมหาอำนาจ ด้านการส่งออกอาวุธ รายใหญ่ที่สุดของโลก

การค้าอาวุธโลก เป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญและเป็นที่ถกเถียงมาช้านาน เพราะข้างหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยมองว่าอาวุธเป็นเครื่องมือสนับสนุนความรุนแรงซึ่งคงไม่ใช่ทางออกของโลกยุคดิจิทัลแบบนี้ แต่อาวุธที่ทรงประสิทธิภาพก็ถูกมองว่า นี่คือความมั่นคงของประเทศทำให้มหาอำนาจทั้งหลายนอกจากจะมีความยิ่งใหญ่ด้านเศรษฐกิจแล้ว ความมั่นคงของกองทัพ และความทันสมัยมีประสิทธิภาพของอาวุธจึงเป็นสิ่งที่ดำเนินมาควบคู่กัน 

ทำให้อุตสาหกรรมการค้าอาวุธมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของหลายๆ ประเทศ มีการลงทุนทรัพยากรและความพยายามในการผลิต พัฒนา และจำหน่ายอาวุธ ยุทโธปกรณ์ทางทหาร ให้แก่รัฐบาลและกองทัพต่างประเทศ ดังนั้นวันนี้  Spotlight จะพาไป ทำความรู้จักกับประเทศที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกอาวุธรายใหญ่ที่สุดของโลก…

10 ประเทศมหาอำนาจ ด้านการส่งออกอาวุธ รายใหญ่ที่สุดของโลก

10 ประเทศมหาอำนาจ ด้านการส่งออกอาวุธ รายใหญ่ที่สุดของโลก

ข้อมูลจากเว็บไซต์ fairbd ได้รายงานว่า อุตสาหกรรมการค้าอาวุธเป็นกลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและภูมิรัฐศาสตร์โลก ผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่มีบทบาทในการกำหนดศักยภาพและยุทธศาสตร์ทางทหารของประเทศต่างๆ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม และนอกจากนี้ การค้าอาวุธยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสลับซับซ้อนและมีมิติที่หลากหลาย ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง และสังคม ผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่มีอิทธิพลและบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะสามารถที่จะกำหนดทิศทางของโลก ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาคมโลกจะต้องร่วมมือกันเพื่อควบคุมการค้าอาวุธอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดความเสี่ยงด้านความมั่นคงและสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นต่อไป

ในรอบ 4 ปีที่ผ่านมาการส่งออกอาวุธ เพิ่มมากขึ้นถึง 76%

10 ประเทศมหาอำนาจ ด้านการส่งออกอาวุธ รายใหญ่ที่สุดของโลก

จากข้อมูลทางเว็บไซต์ ทาง sipri ได้รายงานว่าระหว่างปี 2561 ถึง 2565 มีประเทศผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่ที่สุด 5 อันดับแรกของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย ฝรั่งเศส จีน และเยอรมนี โดยรวมแล้ว คิดเป็นสัดส่วนที่น่าทึ่งถึง 76% ของการส่งออกอาวุธทั่วโลกในช่วงระยะเวลานี้ 

โดย สหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นผู้นำการส่งออกอาวุธของโลก โดยมีสัดส่วน 40% ของยอดขายอาวุธระหว่างประเทศทั้งหมด ตามมาติดๆ คือ รัสเซีย ด้วยสัดส่วน 16% ฝรั่งเศส 11% จีน 5.2% และ เยอรมนี 4.2% ขณะที่อิสราเอล ที่กำลังทำสงครามอยู่ฮามาสในเวลนี้ ก็เป็นหนึ่งใน 10  ประเทศชั้นนำที่ผลิตและส่งออกอาวุธเช่นกัน สัดส่วน 2.3%

การเพิ่มขึ้นของการส่งออกอาวุธจากทั้ง 5 ประเทศแรกนี้ เป็นผลมาจากปัจจัยหลายประการ ทั้งความไม่มั่นคงทางการเมืองในภูมิภาคต่างๆ การแข่งขันทางทหารระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น และการปรับปรุงเทคโนโลยีอาวุธ 

การส่งออกอาวุธนั้นก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของความขัดแย้งทางทหารและการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่อย่างไรก็ตาม การค้าอาวุธยังคงเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจโลก และผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่ๆ ยังคงมีบทบาทสำคัญในการกำหนดความมั่นคงระหว่างประเทศ

 

10 อันดับประเทศ ที่ส่งออกอาวุธรายใหญ่ที่สุดของโลก

10 ประเทศมหาอำนาจ ด้านการส่งออกอาวุธ รายใหญ่ที่สุดของโลก

จากข้อมูลของทางเว็บ fairbd sipri และ wiki/Arms_industry ได้รายงานว่าเวลานี้มีประเทศผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่ที่สุด 10 อันดับแรกของโลก ได้แก่

อันดับที่ 1 สหรัฐอเมริกา

สหรัฐอเมริกาคือมหาอำนาจทางทหารของโลก ด้วยบทบาทที่โดดเด่นในฐานะผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่ที่สุด คิดเป็นสัดส่วนการตลาดถึง 40% บริษัทอย่าง Lockheed Martin, Boeing และ Raytheon คือยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศของสหรัฐฯ ซึ่งเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็จ โดยมูลค่าการส่งออกอาวุธเพิ่มขึ้นถึง 14% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และในปี 2565 มีรายได้  14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยได้แรงหนุนส่วนหนึ่งจากสงครามในยูเครน

อันดับที่ 2 รัสเซีย

รัสเซียคือมหาอำนาจทางทหารอีกหนึ่งประเทศที่โดดเด่นในฐานะผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่ที่สุดอันดับสองของโลก คิดเป็นสัดส่วนการตลาด 16% บริษัทของรัฐอย่าง Rosoboronexport, Almaz-Antey และ United Shipbuilding Corporation คือเสาหลักของอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศของรัสเซีย อย่างไรก็ตาม การส่งออกอาวุธของรัสเซียได้ลดลง 31% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ประเทศผู้นำเข้าอาวุธรัสเซียอันดับต้นๆ คือ อินเดีย (31%) จีน (23%) และอียิปต์ (9.3%) และในปี 2565 มีรายได้จากการส่งออกอาวุธเป็นมูลค่าประมาณ 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 

อันดับที่ 3 ฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสคือประเทศมหาอำนาจทางทหารรวมทั้งมีฐานะเป็นผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่ที่สุดอันดับสามของโลก คิดเป็นสัดส่วนการตลาด 11% บริษัทอย่าง Dassault Aviation, Airbus และ Thales คือผู้นำในอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศของฝรั่งเศส ซึ่งเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีการส่งออกอาวุธเพิ่มขึ้นถึง 44%  และในปี 2565 มีรายได้จากการส่งออกอาวุธเป็นมูลค่าประมาณ 3.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

อันดับที่ 4 จีน

จีนคือมหาอำนาจทางทหารที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว คิดเป็นสัดส่วนการตลาด 5.2%  และเป็นหนึ่งในประเทศผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่ที่สุดของโลก บริษัทของรัฐอย่าง China North Industries Corporation (NORINCO) และ China Aerospace Science and Technology Corporation (CASC) คือเสาหลักของอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศของจีน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจและการเสริมสร้างขีดความสามารถในการป้องกันประเทศของจีน และในปี 2565 มีรายได้จากการส่งออกอาวุธเป็นมูลค่าประมาณ 2.01 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

อันดับที่ 5 เยอรมนี

เยอรมนีคือประเทศผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่ที่สุดอันดับห้าของโลก คิดเป็นสัดส่วนการตลาด 4.2% มีบริษัทอย่าง Rheinmetall, Airbus และ Krauss-Maffei Wegmann ครองอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศของเยอรมนี อย่างไรก็ตาม การส่งออกอาวุธของเยอรมนีลดลง 35% จากปี 2013-17 ถึงปี 2018-22 และในปี 2565 มีรายได้จากการส่งออกอาวุธเป็นมูลค่าประมาณ 1.51 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

อันดับที่ 6 อิตาลี

อิตาลีเป็นประเทศผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่ที่สุดอันดับหกของโลก คิดเป็นสัดส่วนการตลาด 3.8% มีบริษัทอย่าง Leonardo, Fincantieri และ Oto Melara ครองอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศของอิตาลี การส่งออกอาวุธของอิตาลีเพิ่มขึ้น 45% ในช่วงเวลา 9 ปีที่ผ่านมา และในปี 2565 มีรายได้จากการส่งออกอาวุธเป็นมูลค่าประมาณ 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 

อันดับที่ 7 สหราชอาณาจักร

สหราชอาณาจักรเป็นประเทศผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่ที่สุดอันดับเจ็ดของโลก คิดเป็นสัดส่วนการตลาด 3.2% มีบริษัทอย่าง BAE Systems, Rolls-Royce และ MBDA ครองอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศของสหราชอาณาจักร การส่งออกอาวุธของสหราชอาณาจักรลดลง 35% สำหรับช่วงเวลา 9 ปีที่ฝ่านมา และในปี 2565 มีรายได้จากการส่งออกอาวุธเป็นมูลค่าประมาณ 1.50 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นสองเท่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์

อันดับที่ 8 สเปน

สเปนเป็นอีก 1 ประเทศมหาอำนาจทางทหารอีกประเทศหนึ่งที่โดดเด่นในฐานะผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่ที่สุดอันดับแปดของโลก คิดเป็นสัดส่วนการตลาด 2.6% บริษัทอย่าง Navantia, Indra Sistemas และ Santa Barbara Sistemas คือผู้นำในอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศของสเปน อย่างไรก็ตาม การส่งออกอาวุธของสเปนได้ลดลงในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และในปี 2565 มีรายได้จากการส่งออกอาวุธเป็นมูลค่าประมาณ 950 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

อันดับที่ 9 เกาหลีใต้

เกาหลีใต้คือประเทศที่กำลังพัฒนาในอุตสาหกรรมค้าอาวุธ มีบทบาทโดดเด่นเป็นอันดัย 9 คิดเป็นสัดส่วนการตลาด 2.4% มีบริษัทอย่าง Korea Aerospace Industries, Hyundai Rotem และ Hanwha Defense  เป็นคือผู้นำในอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศของเกาหลีใต้ ซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยการส่งออกอาวุธเพิ่มขึ้นถึง 74% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และในปี 2565 มีรายได้จากการส่งออกอาวุธเป็นมูลค่าประมาณ 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

อันดับที่ 10 อิสราเอล

อิสราเอลเป็นประเทศผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่เป็น อันดับสิบของโลก คิดเป็นสัดส่วนการตลาด 1.4% มีบริษัทอย่าง Israel Aerospace Industries, Rafael Advanced Defense Systems และ Elbit Systems ครอบครองอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศของอิสราเอล แต่ในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา การส่งออกอาวุธของอิสราเอลลดลง 39% และในปี 2565 มีรายได้จากการส่งออกอาวุธเป็นมูลค่าประมาณ มูลค่าประมาณ 831 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

3 ประเด็นที่ปัจจัยที่ขับเคลื่อนการค้าอาวุธระดับโลก

 10 ประเทศมหาอำนาจ ด้านการส่งออกอาวุธ รายใหญ่ที่สุดของโลก

มีรายงานการสัมมนาในหัวห้อ Undeterred by War: Trends in International Arms Transfersi ที่ได้รายงานว่า 3 ประเด็นที่ปัจจัยที่ขับเคลื่อนการค้าอาวุธระดับโลก ดังนี้

  • ความขัดแย้งในภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นสงครามกลางเมืองในเยเมนและความขัดแย้งที่กำลังดำเนินอยู่ในยูเครน เป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนการค้าอาวุธระดับโลก ประเทศในเขตสู้รบมักแสวงหาซื้ออาวุธเพื่อปรับปรุงความมั่นคงและศักยภาพทางการทหารของตน
  • ความกังวลด้านความมั่นคง จากภัยคุกคามการก่อการร้ายหรือประเทศเพื่อนบ้าน ก็อาจผลักดันให้เกิดการค้าอาวุธเช่นกัน ประเทศอาจซื้ออาวุธเพื่อป้องกันหรือตอบโต้ภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น
  • ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการพัฒนาระบบอาวุธใหม่ ๆ ก็อาจผลักดันให้เกิดการค้าอาวุธเช่นกัน ประเทศอาจต้องการซื้อระบบอาวุธใหม่เพื่อรักษาความเหนือกว่าทางทหารของตน

นอกจากปัจจัยข้างต้นแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจทำให้การส่งออกอาวุธเพิ่มขึ้น เช่น การแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศผู้ผลิตอาวุธ และการใช้อาวุธเป็นเครื่องมือทางการเมือง

 

สถานการณ์ความขัดแย้งในโลก ทำให้การส่งออกอาวุธเพิ่มขึ้น

10 ประเทศมหาอำนาจ ด้านการส่งออกอาวุธ รายใหญ่ที่สุดของโลก

นอกจากนี้รายงาน Conflict Trends: A Global Overview, 1946–2022 โดยใช้ข้อมูลจาก Uppsala Conflict Data Program (UCDP)  ที่ระบุบว่า ในปี 2566 มีความขัดแย้งระหว่างรัฐจำนวน 55 ครั้งใน 38 ประเทศ และ 8 ครั้งในนั้นจัดเป็นสงคราม จากข้อมูลในบันทึก สงครามในเอธิโอเปียและยูเครนเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการสู้รบมากกว่า 204,000 คนในปี 2565 นอกจากนี้ประเทศ เม็กซิโก ยังคงเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความรุนแรงมากที่สุดในแง่ของความขัดแย้งที่ไม่ใช่ระหว่างรัฐ โดยมีผู้เสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการสู้รบมากกว่า 14,000 คน ที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างคนในประเทศ

จากเหตุผล ดังกล่าวทำให้ ความขัดแย้งระหว่างประเทศและภายในรัฐ ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความต้องการอาวุธเพิ่มขึ้น ในช่วงเวลาที่ผ่านมา โลกยังมีความขัดแย้งเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ทั้งความขัดแย้งระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็น สงครามในซีเรีย สงครามในยูเครน และล่าสุด สงครามความไม่สงบใน อิสราเอลกับกลุ่มติดอาวุธฮามาส ที่เวลานี้ยังคงทวีความรุนแรง  จากความขัดแย้งเหล่านี้ทำให้ประเทศต่างๆ จำเป็นต้องซื้ออาวุธเพื่อปกป้องตนเองหรือเพื่อใช้โจมตีฝ่ายตรงข้าม

อ้างอิงข้อมูลจาก sipri,fairbd,Undeterred by War: Trends in International Arms Transfersi,chinapower, Conflict Trends: A Global Overview, 1946–2022,voanews, defensenews,economictimes.indiatimes,aa.com,decode39,theguardian,tradingeconomics,reuters

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT