การเงิน

'เทรนด์อวยรวย ของมันต้องมี' ต้องหลบไป เมื่อ'เทรนด์อวดดความประหยัด’ กำลังมา

5 มี.ค. 67
'เทรนด์อวยรวย ของมันต้องมี' ต้องหลบไป เมื่อ'เทรนด์อวดดความประหยัด’ กำลังมา

female-video-blogger-streamin_1

ยิ่งเราอยู่ในยุคปัจจุบันที่ขับเคลื่อนด้วยความเร็วของ 5G สื่อออนไลน์และการอิทธิพลของอินฟลูเอนเซอร์ ส่งผลให้ความคิดและการตัดสินใจของเราถูกชักจูงหรือการถูกป้ายยาได้อย่างง่ายดาย แบบไม่ทันรู้ตัว 

บางคนอาจมองว่าเราเกิดมาแค่ครั้งเดียว (You only live once – YOLO) หากเราทำงานอย่างหนักเพื่อให้เติบโตในหน้าที่การงานที่มาพร้อมกับตำแหน่งและเงินก้อนใหญ่ การใช้เงินเพื่อซื้อความสุขก็เห็นไม่ผิดแปลกอะไร แต่บางคนกลับอยากซื้อความสุขด้วยเงินก้อนใหญ่ แต่ยังไม่มีความสามารถทำเงินได้เท่า ไปก่อหนี้ยืมสินมาเพื่อแลกกับสิ่งของ ที่ถูกค่านิยมหล่อหลอมว่า ต้องมี!

บทความนี้ SPOTLIGHT อยากชวนทุกคนมารู้จักกับ 2 แนวคิดที่แตกต่างกันสุดขั้วอย่าง ‘เทรนดอวดรวย ของมันต้องมี’ และ ‘เทรนด์อวดความประหยัด’ ที่โด่งดังจากสื่อที่มีอิทธิพลต่อคนรุ่นใหม่อย่าง TikTok

จากเทรนด์ Quiet Luxury สู่ เทรนด์ Loud Budgeting 

ในโลกโซเชียลมีเดีย ปัจจุบัน การถ่ายรูป อัป Story อวดความรวยจากการใช้กระเป๋าแบรนด์เนมรุ่นลิมิเต็ด อิดิชั่น, อวดความสามารถ กิจกรรมยามว่างสุดคลูที่ใครๆก็ทำตามได้อยาก, อวดรสนิยมการเลือกกินอาหารสุดอร่อยจากร้านดังที่สุดแสนจะจองยาก มักเป็นเรื่องคุ้นตาที่เราย่อมเห็นกันอยู่บ่อยครั้ง 

สิ่งเหล่านี้มักทำให้คนคนหนึ่งดูมีชีวิตหรูหราไฮโซขึ้นทันที พฤติกรรมเหล่านี้เป็นธรรมชาติของการแข่งขัน ของการแสดงตัวตนที่ยึดติดอยู่กับวัตถุนิยม โดยเฉพาะเมื่อเห็นอินฟลูเอนเซอร์หรือคนใกล้ตัวมีของใช้แบรนด์หรูก็อยากจะมีบ้าง เพราะคำว่า ‘ของมันต้องมี’

ด้วยกระแส ‘ของมันต้องมี’ และ ‘การป้ายยา’ ได้รับความนิยมมานานมากแล้ว แต่ตอนนี้โลกกำลังเปลี่ยนไป เพราะกระแสแนวความคิดอวยรวย (แต่ไม่ตะโกน) กลับได้รับความนิยมมากขึ้น 

rosa-rafael-q2us4yahe5g-unspl

โดยเฉพาะเทรนด์การแต่งตัว Quiet Luxury หรือการแต่งตัวแบบเรียบง่าย ที่มีความหรูหราสง่างาม และมีรสนิยม (เรียบแต่มาก น้อยแต่โก้) กลับได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงโควิด-19 ทั้งจากภาวะเศรษฐกิจย้ำแย่ และกระแสแอนตี้ Fast – Fashion ทำการแต่งตัว Quiet Luxury เข้ามาตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่มากขึ้น

แม้เทรนด์ Quiet Luxury จะเป็นที่นิยมมากในช่วงปีที่ผ่านมา แต่ในวันนี้ที่เศรษฐกิจโลกยังคงซบเซา ความมั่นคงการทางเงินเป็นเรื่องใหญ่ที่คนกังวลใจ 

วันนี้เทรนด์เปลี่ยนไป หันมา ‘Loud Budgeting’ หรือ เทรนด์ ‘อวดความประหยัด’ วางแผนการการเงินจะเข้ามาแทนที่ Quiet Luxury 

istock-1992459489

ใครจะอวดรวยก็อวดไป เพราะตอนนี้เทรนด์อวดความประหยัดกำลังมา

เทรนด์  ‘Loud Budgeting’ หรือ เทรนด์ ‘อวดความประหยัด’  แข่งกันกันว่า ใครมาเงินเก็บมากกว่ากัน ได้เกิดขึ้นจาก ‘ติ๊กต๊อกเกอร์หนุ่ม Lukas Battle’ ได้ออกมาโชว์เทคนิคการเก็บเงินด้วยการลดกิจกรรมบางอย่าง เช่น ปาร์ตี้กับเพื่อน ช้อปปิ้ง ใส่ซองงานแต่ง ฯลฯ ไม่เพียงปฏิเสธงานสังคมแต่เขายังให้เหตุผลตรงๆ แบบไม่เขินอายกับเจ้าของงานหรือผู้ที่เชิญชวนว่า ปัจจัยทางการเงินเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ตัดสินใจไม่ไป 

“เพราะเราไม่จำเป็นต้องตามเทรนด์ ซื้อข้าวของราคาแพงอยู่ตลอดเวลาก็ได้” การกระแส Loud Budgeting ส่งผลให้ชาวเน็ตจำนวนมากชื่นชอบแนวคิดของเขาและเห็นด้วยจำนวนมาก ทำให้ แอชแทก #loudbudgeting พุ่งทะลุ 10 ล้านวิวไปเรียบร้อยแล้ว

screenshot2024-03-05150240

เทรนด์ Loud budgeting ตอบโจทย์ความคิดเด็กรุ่นใหม่

Krungsri the COACH ได้มีการพูดถึง กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิด อิสรภาพทางการเงินเพื่อการเกษียณให้เร็ว โดยจะมีการวางแผนเก็บออมเงิน โหมเก็บเงินอย่างหนักกว่าคนทั่วไป เพื่อให้มีเงินเยอะพอที่จะเกษียณได้ตั้งแต่อายุน้อย ๆ ไม่ต้องรอจนถึงอายุ 60 ปีอีกต่อไป

พฤติกรรมของคนกลุ่มนี้เป็นการเก็บออมเงินแบบสุดโต่ง โดยจะเก็บออมอย่างหนัก ใช้เงินอย่างประหยัด ควบคุมรายจ่าย เช่นเดียวกับ เทรนด์ Loud budgeting ที่เก็บเงินด้วยการลดกิจกรรมบางอย่างที่ไม่จำเป็น นอกจากนี้กลุ่มคนรุ่นใหม่ยังมีการหารายได้เพิ่มจากหลากหลายช่องทาง และลงทุนอย่างหนัก กล้าเสี่ยงสูงเพื่อต้องการผลตอบแทนที่สูงมากขึ้น

istock-1872468587

6 วิธีเก็บเงินสไตล์ FIRE by Krungsri the COACH

  1. หัดออมเงินก่อนใช้

หากอยากเก็บเงินแบบ FIRE ต้องเริ่มจาก “ออมก่อนใช้” เพื่อจะได้บริหารเงิน และควบคุมการใช้จ่ายได้ง่ายขึ้น  

  1. ทำตารางออมเงิน

ตารางออมเงิน ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้เราได้เก็บเงินอย่างมีวินัย จนสามารถเก็บออมเงินได้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเราสามารถจัดตารางออมเงินเริ่มจากออมรายวัน ออมรายสัปดาห์ ออมรายเดือน หรืออาจเป็นตารางที่เอาจำนวนเงินตั้งเป้าหมาย

  1. ตั้งเป้าออมเงิน 70% ของรายได้

พฤติกรรมของคนกลุ่ม FIRE จะโหมเก็บเงินหนักกว่าคนทั่วไป โดยจะเก็บเงินมากถึง 50-70% ของรายได้ จนกว่าจะมีเงินออมที่มากกว่ารายจ่ายต่อปีประมาณ 30 เท่า จึงจะตัดสินใจเกษียณตัวเอง และลาออกจากงานประจำ

  1. คุมรายจ่ายอย่างหนัก

จากการที่คนกลุ่ม FIRE ต้องการเก็บเงินสูงถึง 70% ของรายได้ จึงจำเป็นให้คนกลุ่มนี้ต้องใช้จ่ายอย่างประหยัดมากขึ้นเพื่อเอาเงินส่วนใหญ่ไปเก็บออม และลงทุนต่อยอดทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ หากรายจ่ายไหนไม่จำเป็นก็จะตัดออกไป ใช้จ่ายอย่างมีเหตุมีผลมากกว่าคนทั่วไป

  1. เน้นลงทุนให้เงินงอกเงย กล้าลงทุนที่ความเสี่ยงสูง

คนกลุ่มนี้ยังได้ศึกษาเรื่องการลงทุนอย่างหนัก เพื่อนำเงินออมไปลงทุนให้งอกเงย และได้ผลตอบแทนที่มากขึ้น จะได้มีเงินถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้เร็วขึ้นด้วย บางคนเน้นลงทุนแบบ Passive Investment หรือบางคนก็เน้นลงทุนในหุ้นเติบโตสูง ขึ้นอยู่กับสไตล์ความชื่นชอบ และความถนัดของแต่ละคน

แต่โดยส่วนใหญ่มักจะกล้าลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง เพื่อต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้นมากกว่า และเมื่อลงทุนไปแล้ว จะมีการติดตาม และวัดผลพอร์ตการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละครั้ง หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป จะได้ปรับพอร์ตการลงทุนได้อย่างทัน

  1. บริหารเงินเกษียณด้วยกฎ 4%

ใช้แนวคิดวิธีการจัดการเงินเกษียณด้วยกฎ 4% คิดค้นโดย William Bengen ในปี 1994 เป็นแนวคิดถอนเงินออกมาใช้จ่ายประมาณปีละ 4% ของเงินในพอร์ต โดยไม่ทำให้เงินต้นหมดลง หรืออาจจะลดลงช้ามาก ๆ จนเราเสียชีวิตก่อนที่เงินจะหมด

เช่น มีเงินก้อนสำหรับเกษียณ 5 ล้านบาท คาดหวังจะได้ผลตอบแทนจากพอร์ตเฉลี่ย 7% ต่อปี หากถอนเงินปีละ 4% ของเงินในพอร์ต หรือประมาณ 200,000 บาท เงินในพอร์ตนี้จะหมดในอีก 72 ปีข้างหน้า

ที่มา CNBC , Krungsri the COACH

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT