การเงิน

10 พฤติกรรม “หลอกลวงให้ลงทุน” รู้ไว้จะได้ไม่เป็นเหยื่อโจรไซเบอร์  

4 ส.ค. 66
10 พฤติกรรม “หลอกลวงให้ลงทุน” รู้ไว้จะได้ไม่เป็นเหยื่อโจรไซเบอร์  

ยิ่งชีวิตติดโซเชี่ยลมากขึ้นเท่าไหร่ โอกาสที่เราจะได้พบเห็นข้อมูลต่างๆมากขึ้นเท่านั้น แต่ทุกท่านควรไตร่ตรอง และตรวจสอบให้ดีก่อนตัดสินใจเชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพจปลอม เว็บปลอม ไลน์ปลอม ต่างๆที่มาสร้างความน่าเชื่อถือแล้วชักชวนให้เราลงทุน หลายครั้งที่แม้แต่ผู้มีความรู้ การศึกษาดีก็พลาดพลั้งตกเป็นเหยื่อกลลวงหลอกลวงลงทุนเหล่านี้ได้เช่นกัน

ฝ่ายวิจัยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สรุปข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับพฤติกรรมของการ ถูกหลอกให้ลงทุนพบว่า สถิติอาชญากรรมทางไซเบอร์เพิ่มขึ้น ณ วันที่ 1 มี.ค. 2565- 28 มิ.ย.2566 สถานการณ์ปัญหาหลอกลวงลงทุน  คดี “หลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์” มีจำนวน 23,545 ครั้ง คิดเป็นมูลค่าความเสียหายสูงที่สุดรวมกว่า 11,500 ล้านบาท 

ส่วนหนึ่งที่มิจฉาชีพยังคงใช้วิธีการเดิมได้ เนื่องจาก ผู้ถูกหลอกลวงไม่เชื่อการกล่าวตักเตือนของคนรอบตัว หรือ ผู้ถูกหลอกลวงยังไม่สามารถยอมรับได้ว่าถูกหลอกลวงลงทุนและยังเพิ่มเงินลงทุนต่อไป  หรือบางรายพบว่าเมื่อถูกหลอกลวงลงทุนและเกิดความเสียหายขึ้นแล้วแต่ไม่กล้าแจ้งความดำเนินคดี เนื่องจากกลัวเสียหน้าหรือกลัวได้รับคำตำหนิจากคนรอบตัว ดังนั้นในวันนี้จึงมีการให้ข้อมูลเพื่อให้เราจับสังเกตถึงโอกาสที่เราจะถูกหลอก หากเจอพฤติกรรม 10 ข้อดังนี้ 

10 พฤติกรรม “หลอกลวงให้ลงทุน” ของโจรไซเบอร์ 

  1. แอบอ้าง Logo ตลาดหลักทรัพย์ฯ, ก.ล.ต. บริษัทหลักทรัพย์หรือ บริษัทจดทะเบียน  
  2. แอบอ้างบุคคล นำรูปของคณะกรรมการ / ผู้บริหารของตลาดหลักทรัพย์ฯ, ก.ล.ต. บริษัทหลักทรัพย์หรือ บริษัทจดทะเบียน
  3. การันตีผลตอบแทนในระดับสูง       
  4. อ้างรู้ข่าววงในทำให้ได้เปรียบนักลงทุนอื่นหรือ ได้โอกาสก่อนคนอื่น
  5. อาศัยระบบเครือข่ายหาสมาชิกเพิ่มเติมโดยอิงว่าได้รับผลตอบแทนจริงตามโฆษณา
  6. ปลอมเว็บไซต์ / แอพพลิเคชั่น เลียนแบบเว็บไซต์ / แอพพลิเคชั่นจริง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ
  7. เร่งรัดตัดสินใจ จำกัดผู้เข้าร่วม เร่งให้ประชาชนตัดสินใจเข้าร่วม       
  8. สร้างกลุ่มโซเชียลมีเดีย นอกเหนือจากโซเชียลมีเดียที่เป็นทางการ เพื่อดำเนินการอาทิ กลุ่มไลน์บัญชี / การเงิน ของบริษัทหลักทรัพย์หรือ บริษัทจดทะเบียน   
  9. ให้โอนเงินทำผ่านบัญชีที่เป็นชื่อบุคคลธรรมดา แทนบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์ 
  10. หลอกให้ลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กำหนดเงื่อนไขให้โอนเงินเพิ่มเมื่อต้องการนำเงินออก

หากพิจารณาพฤติกรรมการหลอกลวงให้ลงทุน พบว่า มีทั้งเรื่องการปลอมข้อมูล แอบอ้างชื่อผู้บริหารหรือกรรมการของหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนการสร้างเรื่องราวลงทุน กระตุ้นด้วยการการันตีผลตอบแทนในเกณฑ์สูง สร้างตัวละครเสมือนว่ามีผู้ที่ได้รับผลตอบแทนสูงตามอ้าง เร่งรัดให้ตัดสินใจ และสร้างเครื่องมือปลอมมาใช้ในการหลอกลวงการลงทุน 

มื่อถูกหลอกลวงเข้าไปแล้ว มิจฉาชีพจะหลอกลวงโดยให้ผลตอบแทนสูงใน 2 - 3 ครั้งแรก และหลอกให้ลงทุนเพิ่มและชักจูงเพื่อนเข้ามาร่วมลงลงทุนเพิ่มเติม ทำให้การหลอกลวงลงทุนขยายวงขยายใหญ่ขึ้น และเมื่อผู้ถูกหลอกลวงต้องการนำเงินออกจากระบบหรือถอนเงินคืน จะอ้างให้นำเงินไปปิดบัญชีจึงจะนำเงินออกมาได้ และหากไม่สามารถหาเงินมาปิดบัญชีได้ มิจฉาชีพบางรายจะกล่าวอ้างเกณฑ์การลงทุนขององค์กรต่างๆ เพื่อยึดเงินไปหรือปิดการติดต่อและหนีไป ส่งผลให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง ทั้งจากผู้ถูกหลอกลวงลงทุน หรือผู้ที่ถูกชักชวนให้มาร่วมลงทุนในภายหลัง 

อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันในประเทศไทยจะบังคับใช้พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ที่ผู้เสียหายสามารถแจ้งธนาคารอายัดบัญชีปลายทางได้ทันทีที่ทราบ หรือภายใน 72 ชั่วโมง และสามารถแจ้งความได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่ในข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติแล้ว เป็นไปได้ยากที่จะได้เงินคืน เนื่องจาก กระบวนของมิจาชีพเร็วกว่า หลายครั้งที่ผู้เสียหายรู้ตัวช้าว่าถูกหลอ หรือผู้เสียหายต้องประสานงานไปยังธนาคารที่เป็นบัญชีต้นทางหรือธนาคารที่ผู้เสียหายที่ทำโอนเงินออก กระบวนการเหล่านี้มีความล่าช้าอยู่ จึงไม่ทันการกับมิจฉาชีพ  

ทุกฝ่ายร่วมมือป้องกันและแก้ปัญหา

ที่ผ่านมา ทั้งรัฐและเอกชนต่างร่วมมือป้องกันการหลอกลวงให้ลงทุน ทั้งในด้านประเด็นกฎหมายที่มีการบังคับใช้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะการบังคับใช้พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 การอายัดบัญชีม้า การยกเลิกการส่ง link ทาง SMS การทยอยยกเลิกการให้บริการธุรกรรมการเงินผ่านเว็บไซต์ การแลกเปลี่ยนและประชาสัมพันธ์เตือนภัย เป็นต้น

ตลาดทุน องค์กรธุรกิจ และหน่วยงานรัฐ ร่วมกันดำเนินโครงการ “ร่วมมือ - จับปลอม หลอกลงทุน” ต่อต้านการหลอกลงทุนอย่างจริงจัง โดยให้ความสำคัญกับการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ประชาชน และเพิ่มช่องทางสื่อสารข้อเท็จจริงในประชาชนตรวจสอบข่าวลงทุนต่างๆ แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้ไม่ถูกหลอกลวงลงทุน ก็คือ ตัวของประชาชนเอง ตั้งสติ แยกแยะ ตรวจสอบข้อมูล พิสูจน์ให้ชัดเจนก่อนลงทุน และอย่ารีบด่วนโอนเงิน เงินอยู่ที่เราไม่ต้องรีบ ไม่ต้องกลัวเสียโอกาส เพราะมิจฉาชีพอยู่หน้าจอพร้อมโอนเงินของเราออกไปยังบัญชี / กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ทันทีที่เราโอนให้

รับแจ้งเหตุ หลอกลวงลงทุน

ทุกคนต้องจำไว้ว่า “เงินอยู่ที่เราปลอดภัยกว่า ไม่ต้องรีบด่วนโอนเงิน ไม่ต้องกลัวเสียโอกาส เพราะมิจฉาชีพอยู่หน้าจอพร้อมโอนเงินของเราออกไปยังบัญชี / กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ของมิจฉาชีพทันทีที่เราโอนให้”

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดที่ช่วยป้องกันภัยจากการถูกหลอกลวงให้ลงทุน ก็คือ ตัวของประชาชนเอง ตั้งสติ คิดแยกแยะ ตรวจสอบข้อมูล พิสูจน์ให้ชัดเจนจากสื่อที่เป็นทางการของแต่ละหน่วยงาน และอย่ารีบด่วนโอนเงิน เงินอยู่ที่เราไม่ต้องรีบ ไม่ต้องกลัวเสียโอกาส เพราะมิจฉาชีพอยู่หน้าจอพร้อมโอนเงินของเราออกไปยังบัญชี / กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ทันทีที่เราโอนให้

ที่มา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT