การเงิน

กระแส De-Dollarization กระตุ้นธนาคารกลางทั่วโลกตุนทองต่อเนื่อง

2 พ.ค. 66
กระแส De-Dollarization กระตุ้นธนาคารกลางทั่วโลกตุนทองต่อเนื่อง

ย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีที่แล้ว สกุลเงินดอลลาร์มีสัดส่วนประมาณ 70% ของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่เป็นสกุลเงิน โดยมีคู่แข่งที่สำคัญ  คือ  เงินยูโร และนับตั้งแต่นั้นมาส่วนแบ่งของดอลลาร์ก็ปรับตัวลดลง  จนกระทั่งล่าสุดเมื่ออ้างอิงจากข้อมูลของ IMF และ Wolfstreet.com  พบว่า  สัดส่วนของสกุลเงินดอลลาร์ในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่เป็นสกุลเงิน ลดลงเหลือ 58.4% ในไตรมาสที่ 4/22 ซึ่งเป็นแตะระดับต่ำสุดในรอบ 26 ปี”

messageimage_1682694354930

ยิ่งเกิดสงครามในยูเครน และการคว่ำบาตรต่อรัสเซียของชาติตะวันตก ก็ยิ่งกระตุ้นเทรนด์หนึ่งในตลาด ซึ่งเทรนด์ที่ว่านี้คือ De-Dollarization ซึ่งหมายถึงการที่ประเทศต่างๆ หาวิธีการ ‘ลด’ บทบาทค่าเงินดอลลาร์ต่อการค้าและการลงทุนของประเทศตัวเอง และเป็นเทรนด์ที่ตรงข้ามกับ Dollarization คือการใช้เงินตราต่างประเทศสกุลเงินในแบบคู่ขนานหรือแทนสกุลเงินในประเทศนั่นเอง

 

YLG เชื่อว่าปรากฏการณ์ De-Dollarization มีบทบาทอย่างมากที่ทำให้เหล่าธนาคารกลางเลือกเพิ่มสัดส่วนการถือครองทองคำสำรอง เพื่อกระจายความเสี่ยงของพอร์ตเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ท่ามกลางปัจจัยทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มสูงขึ้น สะท้อนจากสัดส่วนของสินทรัพย์ต่างๆ ในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของธนาคาร ณ สิ้นสุดไตรมาส 3 ของปี 2020 พบว่า ทองคำคิดเป็นสัดส่วน 16% ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ณ ไตรมาส 3 ของปี 2019 ที่ทองคำมีสัดส่วนเพียง 13%

messageimage_1682694361445

 

 

ล่าสุด แรงซื้อทองคำจากธนาคารกลางยังคงดำเนินต่อไป สะท้อนจากข้อมูลของสภาทองคำโลกที่ระบุว่า ยอดซื้อทองคำสุทธิของธนาคารกลาง 2 เดือนแรกของปีอยู่ที่ 125 ตัน นี่เป็นการเริ่มต้นที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ปี 2010 เป็นอย่างน้อย ธนาคารกลางทั่วโลกสำรองทองคำเพิ่มขึ้น 52 ตันในเดือนกุมภาพันธ์ เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน หลังจากในเดือนมกราคม ธนาคารกลางได้ซื้อทองคำจำนวน 74 ตัน หลังจากในปี 2022 ธนาคารกลางได้เข้าซื้อทองคำสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 1,136 ตัน

 

messageimage_1682694366883

 

ผู้ซื้อรายใหญ่ที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์คือธนาคารกลางจีน โดยเข้าซื้อทองคำ 25 ตัน ตามมาด้วยธนาคารกลางตุรกีที่ซื้อทองคำเป็นเดือนที่ 15 ในเดือนกุมภาพันธ์ จำนวน 22 ตันจาก(ตุรกีเป็นผู้ซื้อทองคำรายใหญ่ที่สุดในปีที่แล้ว) นอกจากนี้ ธนาคารกลางอุซเบกิสถานได้ซื้อเพิ่มอีก 8 ตัน ธนาคารกลางสิงคโปร์ซื้อทองคำ 7 ตัน และธนาคารกลางอินเดียซื้อทองคำอีก 3 ตัน มีเพียงธนาคารกลางคาซัคสถานที่เป็นผู้ขายสุทธิเพียงรายเดียว โดยขายทองคำออกมา 13 ตัน

 

แนวโน้มการลดบทบาทดอลลาร์(De-dollarization trend) จะไม่หายไปในเร็ว ๆ นี้ และจะให้การสนับสนุนทองคำในระยะยาว เนื่องจากประเทศต่าง ๆ จะต้องกระจายการถือครองเงินทุนสำรองระหง่างประเทศ แม้จะยังไม่สามารถทิ้งเงินดอลลาร์สหรัฐทั้งหมดที่ถืออยู่ได้ก็ตาม

 

 

 

 

advertisement

SPOTLIGHT