การเงิน

Stagflation คืออะไร และนัยต่อตลาดทองคำ

25 มี.ค. 66
Stagflation คืออะไร  และนัยต่อตลาดทองคำ
ไฮไลท์ Highlight

Stagflation  เป็นการรวมกันของคำว่า “stagnant” ที่แปลว่า ซบเซา  และ “inflation” ที่แปลว่าเงินเฟ้อ  นำมาใช้ครั้งแรกโดยนักการเมืองของอังกฤษในทศวรรษที่ 1960  ซึ่งหมายถึง  สภาวะเศรษฐกิจที่มีเงินเฟ้อสูง แต่การเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำ และอัตราการว่างงานในระดับสูงนั่นเอง

วิกฤติธนาคารในสหรัฐและยุโรปได้ปลุกความกังวลในตลาดให้เกิดขึ้นอย่างชัดเจน  และเปลี่ยนแปลงมุมมองต่อสินทรัพย์ทั่วโลกเช่นกัน  การเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนที่สุดในช่วงนี้ คือ การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ที่เรียกได้ว่าผ่อนคันเร่งการคุมเข้มนโยบายการเงิน  และส่งสัญญาณใกล้ยุติวงจรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ดำเนินมาครบ 1 ปีพอดิบพอดี 

ความกังวลที่เกิดขึ้น  ไม่ได้เกิดขึ้นแต่นักลงทุนเท่านั้น  แม้แต่นายเจอโรม  พาวเวลล์  ประธานเฟดก็ออกมายอมรับว่า  ปัญหาในภาคธนาคารอาจทำให้เกิดวิกฤตสินเชื่อซึ่งจะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจ  ทำให้เจ้าหน้าที่เฟดคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวในปีนี้มากกว่าที่เคยคิดไว้  นั่นยิ่งกระตุ้นความกังวลในตลาดจนทำให้คำว่า  stagflation  กลับมาอยู่ในจุดสนใจของนักลงทุนอีกครั้ง  วันนี้  YLG ขอเริ่มด้วยการแนะนำก่อนว่า stagflation  คืออะไร 

Stagflation  เป็นการรวมกันของคำว่า “stagnant” ที่แปลว่า ซบเซา  และ “inflation” ที่แปลว่าเงินเฟ้อ  นำมาใช้ครั้งแรกโดยนักการเมืองของอังกฤษในทศวรรษที่ 1960  ซึ่งหมายถึง  สภาวะเศรษฐกิจที่มีเงินเฟ้อสูง แต่การเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำ และอัตราการว่างงานในระดับสูงนั่นเอง  โดยทั่วไป เมื่อระดับราคาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นั่นสะท้อนถึงอุปสงค์ที่มากกว่าอุปทาน และบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจกำลังเติบโต ซึ่งเรียกว่า demand-pull inflation ซึ่งหมายความว่าผู้คนมีรายได้เพื่อใช้จ่ายสินค้าและบริการมากขึ้น  

กลับกันในช่วงที่เกิดภาวะ stagflation เกิดจากการขาดแคลนอุปทานจนผลักดันให้ระดับราคาสูงขึ้น (Cost-Push Inflation) ในขณะที่ผู้บริโภคไม่มีรายได้มากขึ้นในการใช้จ่าย  ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายสำหรับผู้บริโภคเพราะราคาสินค้าและบริการสูงขึ้นสวนทางกับรายได้ที่ทรงตัว”

ความเสี่ยงกลับเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ  เหตุเพราะการเติบโตทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลง  ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐยังคงสูงกว่าเป้าหมายของเฟด 2-3 เท่า  แม้ตลาดแรงงานยังแข็งแกร่งแต่เนื่องจากตลาดแรงงานเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลงเช่นกัน   วันนี้ YLG จะย้อนประวัติศาสตร์เพื่อแสดงให้เห็นว่าราคาทองคำตอบสนองต่อเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างไร  เพื่อให้นักลงทุนได้ปรับพอร์ตให้

ทันสถานการณ์

1

ในประวัติศาสตร์ของสหรัฐ  ภาวะ  stagflation ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนักโดยจัดเป็น Rare Event  ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดด้วย ทั้งนี้  สหรัฐเผชิญกับ stagflation เพียงช่วงเดียวในประวัติศาสตร์ คือ  ในช่วงทศวรรษที่ 1970  ครั้งนั้นอัตราเงินเฟ้อทะยานขึ้น  โดยมีต้นตอมาจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นหลังจากประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) ปรับลดกำลังการผลิต จนส่งผลให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น 3-4 เท่าอย่างรวดเร็ว  อีกหนึ่งสาเหตุ คือ  การพุ่งขึ้นของราคาน้ำมัน  เกิดขึ้นในช่วงที่ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) กำลังดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  ทำให้ในปี 1973 อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าเป็น 7.7% ต่อปี  จากนั้นอัตราเงินเฟ้อทะยานสูงถึง 9.1% ในปี 1975 ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1947 ก่อนที่ในปี 1979  อัตราเงินเฟ้อจะขยับขึ้นสูงถึง 11.3% และในปี 1980 ก็พุ่งต่อสูงขึ้นถึง 13.5%

“ถามต่อว่าทองคำตอบสนองอย่างไรในห้วงเวลาดังกล่าว  เห็นได้จาก Chart ด้านล่างนี้  พบว่าราคาทองคำเริ่มขยับขึ้นในช่วงปลายปี 1976  โดยทะยานขึ้นจาก 100 ดอลลาร์ต่อออนซ์  สู่ระดับ 650 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ในปี 1980 นั่นเท่ากับทองคำพุ่งขึ้นกว่า 6.5 เท่าเลยทีเดียว”

2

“สถิติบ่งชี้ว่า  ทองคำทำผลงานได้ดีอย่างมากในสภาวะ Stagflation  แม้ยังไม่แน่ชัดว่า stagflation จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่  ขณะที่สภาพแวดล้อมทางการเงินในปัจจุบันนั้นมีความแตกต่างจากช่วงเวลาดังกล่าว  อย่างไรก็ดี  หาก History repeats itself ก็เป็นโอกาสที่ดีที่นักลงทุนจะเพิ่มสัดส่วนทองคำราว 5-10%  ในพอร์ตลงทุน  พร้อมติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิดและปรับพอร์ตการลงทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์เสมอและใช้ปัจจัยทางเทคนิคประกอบการพิจารณาลงทุน”

Source : World Gold Council, Goldman Sachs, Forbes และ Sunshine Profit

 

ฐิภา นววัฒนทรัพย์

ฐิภา นววัฒนทรัพย์

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท YLG Bullion And Future จำกัด

advertisement

SPOTLIGHT