การเงิน

ttb ประกาศขึ้นแท่น TOP 3 Digital Banking Platform

15 ก.พ. 66
ttb ประกาศขึ้นแท่น TOP 3  Digital Banking Platform

ทีเอ็มบีธนชาต เกิดมาจากเมื่อ 3 ปีที่แล้วได้มีการรวมกันระหว่างธนาคารทหารไทย หรือ TMB กับธนาคารธนชาต หรือ TBANK รวมกันเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ มุ่งสู่ The Next REAL Change ให้กับชีวิตทางการเงินของคนไทยในทุกกลุ่มดีขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่ลูกค้ารายย่อย SME และทุกกลุ่มดีขึ้น

ช่วง 2-3 ปีที่ผ่าน โฟกัสไปที่เรื่องของโควิด-19 ที เอ็มบีธนชาตช่วยลูกค้าเยียวยา ดูแลกลุ่มเปราะบางให้ดีขึ้น วิกฤตต่างๆ ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ยังคงยืดเยื้อ คงไม่ได้หนีหายไปไหนหรอก ก็ต้องมาดูว่าบทบาทของแบงก์ต่อคนไทย ต่อเศรษฐกิจไทย คือ อะไร จากโควิดคลี่คลาย ก็เจอปัญหาเรื่องใหม่ๆ คนไทยเองต้องประสบปัญหาเงินเฟ้อ ต้นทุนพลังงาน ดอกเบี้ยที่ขึ้น ซ้ำเติมภาระหนี้เดิม ทำให้ประชาชนที่มีปัญหาด้านสภาพคล่องหรือมีหนี้เดิมอยู่เกิดความยากลำบากทางด้านการเงินมากขึ้น โดยหนี้ครัวเรือนแตะระดับสูงถึง 86.8% ของ GDP ในไตรมาส 3/2565 พันธกิจของแบงก์ คือ เรื่องเดิม ปัญหาไม่ได้หมดไป

ในฐานะแบงก์ สิ่งที่พยายามทำแบ่งเป็น 4 เรื่อง คือ ฉลาดออม ฉลาดใช้, รอบรู้เรื่องกู้ยืม, ลงทุนเพื่ออนาคต และมีความคุ้มครองอุ่นใจ ธนาคารสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวก เพราะสามารถทำให้ลูกค้า 2 ล้านราย ได้รับความคุ้มครองฟรี ผ่านบัญชี All Free สามารถดูแลค่ารักษาพยาบาลและครอบครัวลูกค้าได้กว่า 110 ล้านบาท ธนาคารสามารถรวบหนี้ ราว 2,00 ราย ช่วยประหยัดดอกเบี้ยไป 270 ล้านบาท และเพิ่มสภาพคล่อง ด้วยสินทรัพย์บ้านกว่า 9,200 ล้านบาท พยายามทำให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เรื่องการออม ช่วยลูกค้าให้เริ่มลงทุนด้วยเงินไม่มากผ่าน ttb smart port รวม 20,000 ล้านบาท

s__47071241

ปี 2023 เดินหน้าด้วย 3 กลยุทธ์หลัก

มาวันนี้ ปี 2023 ทีเอ็มบีธนชาตได้มีการรวมกันเสร็จสิ้นแล้ว พร้อมเดินหน้าด้วย 3 กลยุทธ์หลักที่สำคัญ ได้แก่

1. Synergy Realization : การนำจุดแข็งและความแข็งแกร่งจากการรวมกิจการมาต่อยอดพัฒนาโซลูชันทางการเงินที่ตอบโจทย์ลูกค้า  หลังรวมกิจการทำให้ทีเอ็มบีธนชาตมีความแข็งแกร่งด้วยฐานลูกค้ากว่า 10 ล้านราย สะท้อนได้จากผลประกอบการปี 2565 ธนาคารมีกำไรสุทธิ 14,196 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36% จากปีก่อนหน้า และได้รับผลประโยชน์ด้านค่าใช้จ่ายที่ลดลงจากการรับรู้ Cost Synergy ของการรวมกิจการ ทำให้อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ลดลงจาก 48% ในปี 2564 มาอยู่ที่ 45% วันนี้ธนาคารถือว่ามีความพร้อมทั้งศักยภาพที่แข็งแกร่งและงบประมาณในการลงทุน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และประสบการณ์ทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับลูกค้า 

จากเดิมที่ธนาคารมีสินเชื่อรถ สินเชื่อบ้าน บัญชีเพื่อใช้ เพื่อออม และบัญชีเงินเดือน เป็นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นและเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าในตลาด ปีนี้ทีเอ็มบีธนชาตจะต่อยอดจุดแข็งของกลุ่มผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปสู่สินเชื่อรถแลกเงิน (ttb cash your car) สินเชื่อบ้านแลกเงิน (ttb cash your home) สินเชื่อ ttb payday loan และกลุ่มผลิตภัณฑ์ประกันภัยรถ ซึ่งโซลูชันเหล่านี้นอกจากจะมีฟีเจอร์ที่โดดเด่นแล้ว ยังจะสามารถช่วยเหลือลูกค้าที่ประสบปัญหาสภาพคล่องภายใต้เศรษฐกิจผันผวนของปีนี้ได้ด้วย 

ตั้งเป้าเป้าหมายเป็น Top 3 Digital Banking Platform ใน 3-5 ปีข้างหน้า

2. Digitalization : การยกระดับประสบการณ์ทางการเงินและพัฒนาประสิทธิภาพของธนาคารผ่าน ttb touch เวอร์ชันใหม่  ธนาคารมีเป้าหมายนำดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งมอบประสบการณ์ทางการเงินที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้า และขับเคลื่อนองค์กรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนของธนาคาร เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 

โดยวันนี้ธนาคารมุ่งยกระดับและขยายขีดความสามารถของ ttb touch ให้ตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละรายได้อย่างรอบด้าน ซึ่ง ttb touch เวอร์ชันใหม่ได้เปิดตัวไปเมื่อไตรมาส 2/2565 และได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างมาก จำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นถึง 46% และจำนวนรายการธุรกรรมบนแอปเติบโตขึ้น 25% 

ถึงแม้ว่าเดือนกันยายนที่ผ่านมา ttb touch เกิดปัญหาขัดข้องทำให้ทีมงานได้เร่งปรับปรุงแก้ไข และวางแผนพัฒนาความสามารถในการรองรับการให้บริการอย่างต่อเนื่อง 

โดยปัจจุบันนี้แอปมีความเสถียรและสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญด้วยศักยภาพของ ttb touch เวอร์ชันใหม่ทำให้ธนาคารสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงโปรโมชันต่าง ๆ ให้กับลูกค้าแบบ 1 ต่อ 1 หรือ Segment-of-One ยกระดับการให้บริการลูกค้าได้ 

ทั้งนี้ ธนาคารจะเดินหน้าพัฒนาองค์กรให้เป็น Digital-First Experience เพื่อให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมส่วนใหญ่ได้เองผ่าน ttb touch เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ในขณะที่พนักงานสาขาจะมีบทบาทสำคัญในการเป็น Trusted Advisor ให้คำปรึกษา แนะนำและให้บริการลูกค้าบนผลิตภัณฑ์และบริการที่ซับซ้อน  

“ แนวโน้มแอปใช้การไม่ได้ลดลง ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปีนี้ เรื่องของแอปล่ม โอนพร้อมเพย์ไม่ได้เนี่ยหายไปแล้ว แต่เราก็ไม่ได้ไว้วางใจ เพราะปริมาณธุรกรรมเพิ่มขึ้น เราก็ต้องปรับความสามารถในการรองรับธุรกรรมตามจำนวนการเพิ่มขึ้นของลูกค้าในแต่ละวัน ในแต่ละเดือน” นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ttb กล่าวกับ “Spotlight”

s__47071244

New Business Model เน้นกลุ่มลูกค้ามนุษย์เงินเดือน คนมีรถ มีบ้าน

3. Ecosystem Play : การสร้างชีวิตทางการเงินของลูกค้าบัญชีเงินเดือน มีรถ มีบ้านให้ดีขึ้นรอบด้าน 

ทีเอ็มบีธนชาตเดินหน้าสร้างการเติบโตด้วย New Business Model มุ่งเน้นกลุ่มลูกค้ามนุษย์เงินเดือน กลุ่มคนมีรถ และกลุ่มคนมีบ้าน ซึ่งเป็น 3 กลุ่มหลักที่ธนาคารมีความเชี่ยวชาญและมีฐานลูกค้าเป็นแต้มต่อ 

โดยธนาคารจะต้องเข้าไปอยู่ในชีวิตของลูกค้าตลอด Journey และช่วยให้ชีวิตของลูกค้าสามารถบริหารจัดการเรื่องสำคัญได้อย่างรอบด้าน โดยเน้นการทำงานจากทีมภายใน และร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำภายนอก (Partnership) โดยมี ttb touch เป็นตัวขับเคลื่อนให้ลูกค้าบริหารจัดการชีวิตได้อย่างครบวงจร 

อาทิ สำหรับคนมีรถจะสามารถบริหารจัดการทุกเรื่องเกี่ยวกับรถ เช่น จ่าย-เช็คยอดสินเชื่อรถ ต่อประกันภัยรถและพรบ. เติมเงิน-เช็คยอดบัตรทางด่วน Easy Pass ค้นหาโปรโมชันเกี่ยวกับการดูแลรถ สมัครสินเชื่อรถแลกเงิน แม้กระทั่งการขายรถแบบ e-auction ทุกอย่างสามารถทำบนฟีเจอร์ “My Car” บนแอป ttb touch ได้อย่างสะดวก 

เตรียมความพร้อมด้านบุคลากร

นอกจากนี้ ธนาคารให้ความสำคัญและเร่งทำ คือ การเตรียมความพร้อมบุคลากร เพื่อให้สามารถร่วมกัน Transform องค์กรได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการเพิ่มศักยภาพและจำนวนทีมงานด้าน Tech & Data ให้มากขึ้น 

ที่ผ่านมา ธนาคารได้จัดตั้งทีมดิจิทัล ttb spark และ ttb spark academy เพื่อที่มุ่งเน้นเรื่องการสร้าง Talent รุ่นใหม่ที่มีความสามารถสอดรับกับโลกธุรกิจผ่านการขับเคลื่อนนวัตกรรมและดิจิทัลโซลูชัน 

โดยปัจจุบันมีทีมงาน ttb spark มากกว่า 400 คน ดูแลทั้งในส่วนของฝั่ง Tech และ Beyond Banking Business พร้อมผลักดันและพัฒนาแอป ttb touch ให้มีฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์ลูกค้ามากยิ่งขึ้น 

ด้าน ttb spark academy ได้มีกิจกรรมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นนำและมีนักศึกษาเข้ามาฝึกงานด้วยอย่างต่อเนื่อง 

ล่าสุดได้จัดกิจกรรม ttb hackathon: Financial Well-being for Thais ซึ่งมีผู้ร่วมสมัครมากกว่า 100 ทีม ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างแบรนด์ในกลุ่มเด็กรุ่นใหม่เพื่อให้ Talent เหล่านี้สนใจร่วมงานกับธนาคารในอนาคต” 

“ ด้วยศักยภาพของทีเอ็มบีธนชาตที่มีความพร้อมในทุกด้าน ณ วันนี้ ผนวกกับกลยุทธ์ทั้ง 3 ด้าน จะสามารถทำให้ปีนี้ เราจะยังคงเดินหน้าไปสู่การเป็นธนาคารที่ Make REAL Change เพื่อให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นอย่างแท้จริง” นายปิติกล่าว

s__47071242

ทีเอ็มบีธนชาตมุ่งสู่ Digital Only ไม่ต่างอะไรกับ Vitual Bank


“ ทีทีบี ในอนาคตก็จะมุ่งสู่ Digital Only เพราะว่าถ้ามีช่องทางเดียวเราสามารถทำได้ถูกกว่า พอถูกว่า แบงก์มีต้นทุนที่ถูกลง แบงก์เองก็สามารถหยิบยื่นดอกเบี้ยเงินฝากที่สูงขึ้นให้กับลูกค้าได้ หยิบยื่นดอกเบี้ยเงินกู้ที่ถูกกว่าให้ลูกค้าได้เพราะเรามีต้นทุนที่ถูกกว่า นั่นสิ่งที่ทำไม่ได้แตกต่างอะไรกับ Virtual Bank  แต่วันนี้ด้วยความที่เราเป็นแบงก์อยู่แล้ว เราทำได้เลย เราทำตั้งแต่เมื่อวานแล้ว และทำต่อในวันพรุ่งนี้ และมะรืนนี้โดยไม่ต้องรอ Virtual Bank” นายปิติ กล่าวกับ “Spotlight”

วันนี้เราเริ่มเห็นพัฒนาการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของวงการธนาคารที่จะมุ่งไปสู่ Digital Banking Platform ที่จะสามารถตอบโจทย์ลูกค้าให้สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้สะดวกยิ่งขึ้น เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส ช่วยให้ชีวิตคนไทย สังคมไทยดีขึ้นไปด้วยกัน...

advertisement

SPOTLIGHT