ข่าวเศรษฐกิจ

รู้จัก’อิลยูชิน อิล-76’ เครื่องบินขนพลายศักดิ์สุรินทร์กลับไทย

11 ก.ค. 66
รู้จัก’อิลยูชิน อิล-76’ เครื่องบินขนพลายศักดิ์สุรินทร์กลับไทย

นับเป็นภารกิจครั้งประวัติศาสตร์ของไทย ที่ได้มีการขนย้ายสัตว์ขนาดใหญ่บินข้ามระหว่างประเทศเป็นครั้งแรกกับภารกิจสุดหิน พาพลายศักดิ์สุรินทร์กลับบ้าน เหยียบแผ่นดินบ้านเกิดอีกครั้ง

พลายศักดิ์สุรินทร์ (มธุราชา) เป็น 1 ในช้าง 3 เชือก ที่รัฐบาลไทยมอบให้รัฐบาลศรีลังกา ตั้งแต่ปี 2544 โดยรัฐบาลศรีลังกา ได้มอบพลายศักดิ์สุรินทร์ต่อให้แก่'วัดคันเดวิหาร(Kande Vihara)' เป็นผู้ดูแล เพื่อเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในงานแห่พระธาตุประจำปีของศรีลังกา ซึ่งเฉลี่ยต้องออกงานมากกว่า 30 ครั้งต่อปี

w1200(7)

หลังจากนั้น ในปี 2565 องค์กร “Rally for Animal Rights & Environment” (RARE) ซึ่งเป็นองค์การด้านการพิทักษ์สิทธิสัตว์ในศรีลังกา ได้มีการร้องเรียนการใช้งานพลายศักดิ์สุรินทร์ที่ค่อนข้างหนัก และไม่ได้รับการดูแลที่ดีเท่าที่ควร เช่น มีสภาพผอมโซ มีบาดแผลฝีที่สะโพก ขาบาดเจ็บ และถูกล่ามโซเอาไว้ ทำให้ควรได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเร่งด่วน จึงเป็นสาเหตุที่รัฐบาลไทยนำพลายศักดิ์สุรินทร์กลับมารักษาที่ประเทศไทย

SPOTLIGHT  พาไปรู้จักกับเครื่องบิน ’อิลยูชิน อิล-76’  ให้มากขึ้นใน “5 เรื่องน่ารู้ กับเครื่องบินขนพลายศักดิ์สุรินทร์กลับไทย”

  1. เครื่องบินลำนี้ คือ Ilyushin IL-76  (อิลยูชิน อิล-76) เป็นเครื่องบินลำเลียงทางอากาศ ที่ออกแบบโดยบริษัท อิลยูชิน ตั้งแต่สมัยสหภาพโซเวียต หรือที่รู้จักกันในชื่อรหัสนาโต ว่า "แคนดิด"โดยวัตถุประสงค์แรกเริ่ม คือ ใช้ขนกองกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ขนาดใหญ่ รวมถึง รถถัง แต่ภายในตัวเครื่องบินมีระบบความปลอดภัยสูงและมีประสิทธิภาพที่ดีเยี่ยม เช่น มีการปรับอุณหภูมิและความดัน รวมถึง ความดังของเสียงในระหว่างการเดินทาง เรียกได้ว่า ประสิทธิภาพของเครื่องบิน อิล-76 เทียบเท่ากับเครื่องบินพาณิชย์ที่ใช้ขนส่งผู้โดยสาร จึงไม่น่ากังวลเรื่องความปลอดภัยของคนและช้างบนเที่ยวบินนี้1688295257_574570-chiangmaine
  2. ปัจจุบันเครื่องบิน อิล -76 ถูกปรับมาใช้ในเชิงพาณิชย์มาเป็นเวลาหลายปี โดยเฉพาะการขนส่งสิ่งของขนาดใหญ่ ที่มีน้ำหนักมาก อีกทั้ง ยังเคยทำภารกิจอพยพพลเรือน ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม บรรเทาภัยพิบัติทั่วโลก เพราะสามารถแลนด์ดิ่งบนทางวิ่งที่ไม่ลาดยางได้ สามารถเข้าถึงพื้นที่ทุรกันดารได้เป็นอย่างดีfmghyzrxeaanr6q
  3. ครั้งแรกของประเทศไทย ที่ได้มีการขนย้ายสัตว์ใหญ่บินข้ามประเทศ แต่สำหรับเครื่องบินอิล -76 นี่นับเป็นการขนย้ายช้างข้ามประเทศครั้งที่ 2 ซึ่งครั้งแรกได้ขนช้างจากประเทศปากีสถานไปประเทศกัมพูชามาแล้วในปี 25651688295257_929085-chiangmaine
  4. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มาบอกว่า ใช้งบประมาณในขนส่งครั้งนี้มากถึง 19 ล้านบาท แม้ว่าราคาจะสูง แต่พลายศักดิ์สุรินทร์ นับว่าเป็นฑูตสันถวไมตรีที่รัฐบาลไทยมอบให้ศรีลังกา ที่ทำหน้าที่ฑูตได้ดีมานานกว่า 20 ปี จริงถือว่า ไม่แพงหากเทียบกับคุณงามความดีที่เค้าได้ทำเพื่อประเทศชาติของเรา นายวราวุธ ยังกล่าวอีกว่า งบประมาณในครั้งนี้ มีราคาสูงที่ค่าขนส่ง เพราะเป็นเครื่องบินพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และต้องชำระค่ามัดจำล่วงหน้ากว่า 50%357177557_598252872487750_684
  5. มีการออกแบบกรงใหม่ให้เข้ากับสรีระของพลายศักดิ์สุรินทร์ ซึ่งเป็นช้างที่มีลักษณะสูงใหญ่มีน้ำหนักถึง 3.5 ตัน งายาวเกือบ 1 เมตร ดังนั้นกรงที่ออกแบบมา จะต้องมีความแข็งแรงเป็นพิเศษ ทั้งความหนาของเหล็ก และการล็อคภายในกรงแบบพิเศษถึง 3 ระดับ ซึ่งพลายศักดิ๋สุรินทร์จะอยู่ในท่ายืนตลอดการเดินทาง มีการล็อกตัวและตรึงโซ่ไว้ ระหว่างตัวช้างจะมีการทำฟองน้ำหุ้ม เพื่อกันกระแทกและกันความเสียหายของงาช้าง357423072_597600229219681_289

นอกจาก พลายศักดิ์สุรินทร์แล้ว คนไทยในจำนวนไม่น้อย ก็อดเป็นห่วง ช้างไทยอีก 2 เชือกในศรีลังกาไม่ได้นั้น ก็คือ ‘พลายประตูผา’ และ ‘พลายศรีณรงค์’ ที่อาจจะได้รับการดูแลไม่ดีเช่นเดียวกัน

แต่เบื้องต้น ‘พลายศรีณรงค์” ได้รับการดูแลค่อนข้างดี ช้างมีสภาพอ้วนท้วนสมบูรณ์ ส่วน ‘พลายประตูผา’ ที่วันนี้ดูชราไปตามอายุขัย แต่ยังคงได้รับการดูแลและมีความเป็นอยู่ที่ดีกว่า ‘พลายศักดิ์สุรินทร์’ 

w1200(2)

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT