ข่าวเศรษฐกิจ

เปรียบเทียบค่าแรงขั้นต่ำ 10 ชาติอาเซียน

15 ส.ค. 65
เปรียบเทียบค่าแรงขั้นต่ำ 10 ชาติอาเซียน
ไฮไลท์ Highlight
และค่าแรงคนงานของประเทศไทย ส่วนมากพี่น้องคนไทย มีทักษะความสามารถได้ค่าแรงสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว ค่าแรงขั้นต่ำที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันส่วนมากกว่า 80% เป็นส่วนของคนต่างด้าว 3 สัญชาติที่เข้ามาทำงานเป็นกรรมกร  ถ้าเราจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจาก 300 กว่าเป็น 400 กว่าเกือบ 40% ผมเชื่อว่าไม่มีบริษัทไหนอยู่รอดในสถานการณ์เช่นนี้ เพราะบริษัทต่างๆ รักษาการจ้างงานมา 2 ปี ขาดทุนจ่ายเงินให้ค่าจ้างแรงงาน เพื่อรักษาการจ้างงาน เมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวจะตัดทิ้ง 40% มันเป็นไปไม่ได้ ไม่มีเหตุผล "รมว.แรงงาน กล่าว

เปรียบเทียบค่าแรงขั้นต่ำ 10 ชาติอาเซียน

 

ในสถานการณ์ที่อัตราเงินเฟ้อ และราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นอาจจะเห็นกระแสการเรียกร้องอยากให้มีการปรับขึ้นเงินเดือน หรือ ค่าจ้าง ของลูกจ้างเพื่อให้สามารถรับมือกับค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นค่าจ้าง แม้จะทำให้ฝั่งลูกจ้างมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น แต่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะอีกด้านจะกลายเป็นต้นทุนให้กับฝั่งธุรกิจที่จะต้องปรับสูงขึ้นซ้ำเติมธุรกิจไปอีก หลังจาก3  ปีที่ผ่านมาหลายธุรกิจก็ผ่านอุปสรรคครั้งใหญ่จากสถานการณ์โควิด19 กันอยู่ ดังนั้น ประเด็นการปรับค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทย ยังคงต้องพิจารณากันอย่างละเอียดรอบคอบต่อไปเพื่อไม่ให้ผลรวมกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ  

 

ทีมงาน SPOTLIGHT จึงรวบรวมข้อมูลอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของ 10 ชาติอาเซียนมาเปรียบเทียบกัน พบว่า ค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 5 ต่ำกว่า  สิงคโปร์ บรูไน ฟิลลิปินส์ อินโดนีเซีย   แต่สูงกว่า มาเลเซีย กัมพูชา เวียดนาม ลาว และเมียนมาร์  

 

 601931

 

หากค่าแรงสูงไม่สมเหตุสมผล อาจทำให้ธุรกิจอยู่ไม่รอด

 ก่อนหน้านี้ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ออกมาปฏิเสธแล้ว ว่าไม่ได้มีการจะขึ้นค่าแรง เป็น 492 บาท การจะพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำแต่ละครั้ง จะมีคณะกรรมการค่าจ้าง ซึ่งเป็นผู้แทนองค์กรไตรภาคีทั้ง 3 ฝ่ายคือ ฝ่ายรัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้าง พิจารณาและปรึกษาหารืออย่างรอบคอบก่อนจะได้ข้อยุติร่วมกัน และต้องให้เหมาะสมตามหลักเกณฑ์สากลของไอแอลโอ ซึ่งเป็นผู้กำหนด ดำเนินการด้วยหลักเกณฑ์ที่มีเหตุมีผล สามารถตอบสังคมได้

 

"ปัจจุบันค่าแรงขั้นต่ำของไทยอยู่ในระดับต้นๆ ของอาเซียน รองจากสิงคโปร์ สูงกว่าเวียดนาม มาเลเซีย เมียนมา นักลงทุนหลายประเทศจึงเลือกที่จะย้ายฐานการผลิตเพื่อไปหาแหล่งค่าจ้างที่ถูกกว่า" รมว.แรงงาน ระบุ

 

"ผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เคยให้สัมภาษณ์ และตอบกระทู้สดในสภาไปแล้วว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นเรื่องของภาวะเงินเฟ้อกี่เปอร์เซ็นต์ บวกกับค่าครองชีพแต่ละจังหวัดนั้นๆ ถ้าจะขึ้นทั้ง 40%   30% ผมเชื่อว่าไม่มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศไทย

 

และค่าแรงคนงานของประเทศไทย ส่วนมากพี่น้องคนไทย มีทักษะความสามารถได้ค่าแรงสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว ค่าแรงขั้นต่ำที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันส่วนมากกว่า 80% เป็นส่วนของคนต่างด้าว 3 สัญชาติที่เข้ามาทำงานเป็นกรรมกร  ถ้าเราจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจาก 300 กว่าเป็น 400 กว่าเกือบ 40% ผมเชื่อว่าไม่มีบริษัทไหนอยู่รอดในสถานการณ์เช่นนี้ เพราะบริษัทต่างๆ รักษาการจ้างงานมา 2 ปี ขาดทุนจ่ายเงินให้ค่าจ้างแรงงาน เพื่อรักษาการจ้างงาน เมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวจะตัดทิ้ง 40% มันเป็นไปไม่ได้ ไม่มีเหตุผล "รมว.แรงงาน กล่าว

 

 

ไทยอยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนค่าจ้างขั้นต่ำ 

สำหรับค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทย ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นการปรับครั้งล่าสุดในปี 2563 ปรับจาก 308- 330 บาท เป็น 313 -336 บาท หากจะมีการปรับอีกครั้ง ในเดือน เมษายน นี้สำนักงานคณะกรรมการค่าจ้างและสำนักงานแรงงานจังหวัด จะดำเนินการสำรวจและประมวลผลค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาทบทวนอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดและกรุงเทพฯ

 

598733 

ส่วนเดือน กรกฎาคม  คณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดและกรุงเทพฯจะจัดประชุมพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด และส่งผลประชุมให้คณะกรรมการค่าจ้าง  คาดว่าประมาณ กันายน 256 คณะกรรมการค่าจ้างจัดการประชุมพิจารณาพิจารณาอัตราค่าจ้าง  ไตรภาคี 3 ฝ่าย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2551 ทั้งฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง  ภาครัฐ  ซึ่งการพิจารณาอิงจากปัจจัยหลัก คือ  ดัชนีค่าครองชีพ  อัตราเงินเฟ้อ  มาตรฐานการครองชีพ  ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) และ สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ประกอบกันไป และหากว่ามีมติขึ้นค่าแรงจริง  ทางกระทรวงแรงงานจะต้องลงนาม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาและประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

เทียบราคาน้ำมันของไทย กับอาเซียน

จับตา "ลาว" เศรษฐกิจดาวรุ่งแห่งอาเซียน

 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT