สินทรัพย์ดิจิทัล

ซีอีโอ FTX จ่อนอนคุก 115 ปี ฐาน 8 ข้อหาฉ้อโกง - ฟอกเงิน

14 ธ.ค. 65
ซีอีโอ FTX จ่อนอนคุก 115 ปี ฐาน 8 ข้อหาฉ้อโกง - ฟอกเงิน

ความหวังครั้งใหม่ของวงการคริปโทฯ ได้เกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่เพราะตลาดกลับมาเขียวสดใส แต่เกิดจากการที่ ‘ผู้ที่สร้างความเสียหาย’ ให้กับทั้งตลาดและนักลงทุน กำลังถูกนำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว จากเหตุการณ์ที่ Sam Bankman-Fried ซีอีโอของ FTX ถูกทางการบาฮามาสเข้าควบคุมตัวเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา และคาดว่าสหรัฐจะร้องขอการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนกลับไปดำเนินคดีในสหรัฐฯ เร็วๆ นี้

 

นับเป็นก้าวสำคัญของหน่วยงานด้านความยุติธรรมและการเงินที่มีต่อคดีระดับโลกที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล หลังจากที่ปล่อยให้ ‘Do Kwon’ ผู้ก่อกำเนิดหายนะเหรียญ LUNA ทำวงการคริปโทแทบราพณาสูร ลอยนวลไป หนีไป ‘พักใจ’ ที่เซอร์เบียในขณะนี้
 


ฟ้องซีอีโอ FTX 8 ข้อหา จ่อนอนคุกข้ามศตวรรษ

 

ฟ้อง FTX



การเข้าจับกุมอดีตซีอีโอ FTX ของทางการบาฮามาสนั้น เป็นไปตามคำร้องขอของสำนักอัยการนิวยอร์กใต้ ที่ได้ยื่นฟ้องคดีอาชญากรรมทางการเงินรวม 8 ข้อหา ได้แก่

  • สมรู้ร่วมคิดในการฉ้อโกงผ่านการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์กับลูกค้า

  • การฉ้อโกงผ่านการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์กับลูกค้า

  • การสมรู้ร่วมคิดในการฉ้อโกงผ่านการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ต่อผู้ให้กู้

  • การฉ้อโกงผ่านการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ต่อผู้ให้กู้

  • การสมรู้ร่วมคิดในการฉ้อโกงสินค้าโภคภัณฑ์

  • การสมรู้ร่วมคิดในการฉ้อโกงหลักทรัพย์

  • การสมรู้ร่วมคิดในการ กระทำการฟอกเงินเพื่อฉ้อโกงสหรัฐอเมริกา

  • ละเมิดกฎหมายการเงินการหาเสียง


ซึ่งตามแนวทางการลงโทษสูงสุดตามกฎหมาย (Congressional statutory maximum sentencing guidelines) แล้ว SBF อาจต้องโทษจำคุกสูงสุดถึง “115 ปี” หากพบว่าเขามีความผิดจริงในทุกข้อกล่าวหาข้างต้น

The New York Times เผยว่า การจับกุมตัวอดีตซีอีโอของ FTX ในครั้งนี้ นับว่ารวดเร็วกว่าที่นักกฎหมาย หรือทนายหลายคนคาดคิด ซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลาหลายเดือนในการสืบสวน ก่อนจะสามารถจับกุมได้ ซึ่งความรวดเร็วในการจับกุม SBF ครั้งนี้ อาจเกิดจากการที่ อัยการและหน่วยงานกำกับดูแลได้รับข้อมูลจากพยานมากมายที่พร้อมให้ความร่วมมือ รวมถึงหน่วยงานนับสิบแห่งในหลายประเทศกำลังสืบสวนพฤติการณ์ทางการเงินของอาณาจักร FTX อยู่

 

คริปโต

 

 

ติดตามไทม์ไลน์การล่มสลายของ FTX ได้ที่นี่
 


SEC - CFTC สหรัฐ ร่วมด้วยช่วยฟ้อง SBF

 

sam bankman-fried



นอกจากข้อหาจากฝั่งอัยการสหรัฐแล้ว สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ (SEC) หรือ ก.ล.ต.

นอกจากการยื่นฟ้องในคดีอาญาจากฝั่งอัยการสหรัฐแล้ว ก็ยังมีโจทก์อีก 2 รายที่ร่วมกันยื่นฟ้องในวันนี้ คือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ (SEC) หรือ ก.ล.ต. ของสหรัฐ และคณะกรรมการกำกับดูแลสินค้าโภคภัณฑ์ในสหรัฐ (CFTC)

สหรัฐนั้นจัดให้คริปโทเคอร์เรนซี มีสถานะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) ไม่ใช่ หลักทรัพย์ (Securities) แต่ในเคสนี้ SBF ถูกฟ้องจากทั้งสองหน่วยงานไม่ใช่เพราะจากสถานะของตัวธุรกิจ แต่หัวใจหลักอยู่ที่เรื่อง “การฉ้อโกง” (Fraud) และการหลอกลวงนักลงทุน ซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่ในกฎหมายเศรษฐกิจหลักๆ โดยการยื่นฟ้องของ SEC และ CFTC เป็นการฟ้องฐานละเมิดกฎหมายหลักทรัพย์ปี 1933 ในบทบัญญัติเกี่ยวกับการฉ้อโกง และละเมิดกฎหมายตลาดหลักทรัพย์ ปี 1994 พร้อมขอให้ศาลสั่งห้ามไม่ให้ SBF เข้าร่วมในการออก ซื้อ เสนอหรือขายหลักทรัพย์ใด ๆ ยกเว้นบัญชีส่วนตัวของเขาเอง ในอนาคตได้อีก

SBF ถูกตั้งข้อหาวางแผนหลอกลวงนักลงทุนในบริษัท FTX Trading Ltd. (FTX) ของเขา โดย SEC ยังตั้งข้อสังเกตว่าอดีต CEO ผู้นี้ “โอนเงินของลูกค้า FTX ของเขาไปยังบริษัทในเครืออย่าง Alameda Research ในขณะที่ระดมทุนได้มากกว่า 1.8 พันล้านดอลลาร์จากนักลงทุน” โดยมิได้รับความยินยอมจากลูกค้า โดยการข้อหาดังกล่าว เกิดขึ้นเพียง 1 วันหลัง SBF ถูกทางการบาฮามาสคุมตัว


ค้านประกันตัวอดีตซีอีโอ FTX หวั่นหลบหนีออกนอกประเทศ

 

SBF FTX

 
ก่อนหน้านี้ หลังการเข้าจับกุม SBF 1 วัน ทนายความของเขาได้ยื่นขอประกันตัวในศาลบาฮามาส ในระหว่างรอการร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนจากทางการสหรัฐ ในคำขอประกันตัวระบุว่า ลูกความของเขา ได้รับความทุกข์ทรมานจาก “ภาวะซึมเศร้า” และ “อาการนอนไม่หลับ” ซึ่งเขาไม่เคยมีประวัติอาชญากรรม และไม่ได้หลบหนีจากบาฮามาส แม้มีโอกาส โดย SBF พร้อมมารายงานตัวกับตำรวจท้องที่หากได้รับการประกันตัว รวมถึงยอมรับการตรวจสอบทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย

 

อย่างไรก็ตาม หัวหน้าผู้พิพากษา JoyAnn Ferguson-Pratt ได้ปฏิเสธคำร้องขอประกันตัวของ SBF เนื่องจากความเสี่ยงในการหลบหนีออกนอกประเทศ และมีคำสั่งให้อยู่ภายใต้การควบคุมตัวกรมราชทัณฑ์ ไปจนถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ปีหน้า



ที่มา : CNN, New York Times, Fox Business, Coin Telegraph

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT