โดยเฉพาะการรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย การประปานครหลวง และการท่าเรือแห่งประเทศไทย ที่สามารถเบิกจ่ายได้ถึง 100% ของกรอบงบลงทุน สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ปีปฏิทิน 9 เดือน คิดเป็น 57% ของกรอบงบลงทุน
การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่ใช้ปีบัญชีตามปีงบประมาณ (รัฐวิสาหกิจปีงบประมาณ) (เดือนตุลาคม 2565 – เดือนกันยายน 2566) 34 แห่ง จำนวน 116,478 ล้านบาท หรือคิดเป็น 93% ของแผนการเบิกจ่าย
หากใช้เป็นปีปฎิทินนั้น (เดือนมกราคม 2566 – เดือนกันยายน 2566) มี 9 แห่ง จำนวน 91,162 ล้านบาท คิดเป็น 107% ของแผนการเบิกจ่าย
ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปี 2566
(ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566)
รัฐวิสาหกิจ |
แผนการเบิกจ่าย |
ผลการเบิกจ่าย |
ผลการเบิกจ่าย/ |
ปีงบประมาณ (ต.ค. 65 – ก.ย. 66) จำนวน 34 แห่ง (12 เดือน) |
125,186 |
116,478 |
ร้อยละ 93 |
ปีปฏิทิน (ม.ค. – ก.ย. 66) จำนวน 9 แห่ง (9 เดือน) |
85,289 |
91,162 |
ร้อยละ 107 |
รวม 43 แห่ง |
210,475 |
207,639 |
ร้อยละ 99 |
โดยรัฐวิสาหกิจที่มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่สำคัญที่สามารถเบิกจ่ายได้สูงกว่าแผน ได้แก่
โดยมีบางโครงการที่ผลการเบิกจ่ายไม่เป็นไปตามแผน เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ โครงการก่อสร้างโรงงานผลิตยารังสิต ระยะที่สอง ขององค์การเภสัชกรรม และโครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย ของการประปาส่วนภูมิภาค
สะท้อนว่า เมื่อมีการเบิกจ่ายเงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่เพิ่มสูงขึ้นในรอบ 7 ปีนั้น จะช่วยให้เม็ดเงินลงทุนที่ลงไปช่วยหมุนกระตุ้นเศรษฐกิจไทยในปีนี้ ให้เกิดมีการหมุนเวียน จับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้น และสะท้อนว่า รัฐวิหสากิจยังเห็นโอกาสในการลงทุนและขยายตัวในอนาคต