ธุรกิจการตลาด

ศาลปกครองสูงสุด สั่งเพิกถอนใบอนุญาตโครงการ แอชตัน อโศก แล้ว!

27 ก.ค. 66
ศาลปกครองสูงสุด สั่งเพิกถอนใบอนุญาตโครงการ แอชตัน อโศก แล้ว!

วันนี้ (27 ก.ค.) ศาลปกครองสูงสุด แผนกคดีสิ่งแวดล้อม คดีหมายเลขดำที่ ส.53/2559 ได้มีการอ่านคำพิพากษา ตั้งแต่เวลา 14.00-16.00 น. โดยมีคำพิพากษาเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างคอนอาคารโครงการแอชตัน อโศก ในคดีที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนคดียื่นฟ้อง ขอเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคารโครงการแอชตัน อโศก และขอเพิกถอนใบอนุญาตให้โครงการดังกล่าวใช้ที่เป็นของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นทางเข้า-ออก สู่ถนนอโศกมนตรี

ทางเพจเฟซบุ๊กของ Ananda Development ได้มีการโพสข้อความว่า ได้ทีการพูดคุยกับผู้อยู่อาศัยในโครงการแอชนตัน อโศก ในวันนี้เวลา 18.00  ขณะเดียวได้ออกแถลงการณ์ น้อมรับคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุด และเรียกร้องให้ภาครัฐรับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยมีข้อความตามแถลงการณ์ว่า 

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ศาลปกครองสูงสุด ได้มีคําพิพากษาในคดีที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กับพวก (ผู้ฟ้องคดี) ได้ยื่นฟ้องผู้อํานวยการเขตวัฒนา ที่ 1, ผู้อํานวยการสํานักการโยธา ที่ 2, ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ 3, ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ที่ 4 คณะกรรมการผู้ชํานาญการ พิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน ที่ 5 (ผู้ถูก ฟ้องคดี) และบริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จํากัด

“บริษัทฯ” ซึ่งไม่ใช่ผู้ถูกฟ้องคดีโดยตรง แต่ถูกเรียกเข้ามา ในฐานะเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากผลแห่งคดี ในฐานะผู้ร้องสอดในคดีหมายเลขดําที่ อส 67/2564 หมายเลขแดงที่ อส.188/2566 

โดยศาลปกครองสูงสุด ได้มีคําพิพากษายืนตามคําพิพากษาศาลปกครองกลาง บริษัทฯ ขอน้อมรับและเคารพในคําพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดตามที่ได้วินิจฉัยไว้

กรณีที่ศาลปกครองสูงสุด ได้วินิจฉัยไว้ในประเด็นสําคัญที่ว่า ที่ดินของ รฟม. ไม่อาจนํามาให้บริษัทฯ หรือ เอกชนใช้ในการทําโครงการได้ จึงทําให้หน่วยงานของรัฐไม่อาจออกใบอนุญาตในการก่อสร้าง จึงมีผลให้ ใบอนุญาตไม่ชอบด้วยกฎหมาย นั้น

บริษัทฯ เห็นว่า ศาลปกครองซึ่งมีหน้าที่พิจารณาคดีพิพาท ระหว่าง หน่วยงานของรัฐ และหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ กับ เอกชน เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพของประชาชน รวมทั้ง เพื่อวางแนว หรือ สร้างบรรทัดฐานในการปฏิบัติราชการให้ถูกต้องชอบธรรม อีกทั้ง ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับ รวมถึง ฉบับปัจจุบันพุทธศักราช 2560 ในส่วนบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของรัฐ ในกรณีที่รัฐ จะอนุมัติ หรืออนุญาตให้ผู้ใดทําการได้ ก็จะต้องดําเนินการไปตามกฎหมายโดยรัฐมีหน้าที่โดยตรงที่จะต้องใช้ อํานาจและทําหน้าที่ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ประมาทเลินเล่อ หรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเป็นเหตุให้ เกิดความเสียหายกับประชาชน หรือผู้ประกอบการ ยิ่งไปกว่านั้น หากมีการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดัง เกิดขึ้นเป็นคดีนี้แล้ว หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบและทําการเยียวยาในความเดือดร้อน เสียหายที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรม และโดยไม่ชักช้า

ดังนั้น ผลแห่งคําพิพากษาที่เกิดขึ้นดังกล่าว หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ในความเสียหายที่เกิดขึ้น อย่างไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบได้ต่อเจ้าของร่วมอาคารชุด และบริษัทฯ เพราะหากหน่วยงานราชการผู้มีอํานาจหน้าที่ไม่เห็นชอบและอนุมัติแล้วโครงการนี้จะไม่สามารถก่อสร้างได้ตั้งแต่แรก ซึ่งจะไม่เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงอย่างที่เป็นอยู่ ทั้งนี้ บริษัทฯ จะเร่งรีบดําเนินการ ในการเรียกร้องค่าเสียหายกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อเยียวยาความเสียหายแก่เจ้าของร่วมอาคารชุดและบริษัทฯ โดยเร็ว 

รวมทั้ง บริษัทฯ จะดําเนินการประสานงานคณะกรรมการนิติบุคคลแอชตัน อโศก และท่านเจ้าของร่วมเพื่อขอเข้าพบผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเพื่อทวงถามความรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้น ภายใน 14 วัน (สิบสี่) นับแต่วันนี้

บริษัทฯ ใคร่ขอยืนยันว่า การทําโครงการแอชตัน อโศก นั้น ได้มีการตรวจสอบประเด็นทางกฎหมาย รวมทั้งข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตต่างๆ รวมทั้งสภาพที่ดินของโครงการอย่างรอบคอบรัดกุม อีกทั้ง การพิจารณาอนุมัติในการทําโครงการต่างๆ ยังได้ผ่านการพิจารณาอนุมัติ และภายใต้การกํากับ ควบคุมจากหน่วยงานของรัฐไม่ต่ำกว่า 8 หน่วยงาน จึงเป็นที่เห็นประจักษ์และยืนยันได้ว่า บริษัทฯ ได้ดําเนินการไปด้วย ความสุจริต และชอบด้วยกฎหมายอย่างชัดแจ้งแล้วทุกประการเท่าที่บริษัทฯ จะทําได้ด้วยความเชื่อถือโดยสุจริต ว่าการอนุมัติของหน่วยงานราชการทุกฝ่ายนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว บริษัทฯ จึงใคร่ขอความเป็นธรรมจากทุกภาคส่วนที่จะร่วมกันแก้ไขป้องกันมิให้ปัญหาที่เกิดขึ้นดังเช่นคดีนี้ได้เกิดขึ้นอีก และเรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐได้เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยเร็วด้วย

สำหรับประเด็นที่เป็นปัญหาจนนำไปสู่การยื่นฟ้อง คือ การอนุญาตให้ก่อสร้างคอนโด แอชตัน อโศก อาจขัดต่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร 2522 เนื่องจากที่ดินโครงการไม่มีด้านใดด้านหนึ่งที่เป็นทางเข้าออกกว้างไม่น้อยกว่า 12 เมตร ติดถนนสาธารณะ เพราะที่ดินของแอชตัน อโศก ทางเจ้าของเดิมถูกเวนคืนสร้างรถไฟฟ้า ทำให้จากเดิมสามารถสร้างตึกสูงได้เพราะติดถนนอโศก แต่เมื่อถูกเวนคืน รฟม.สร้างสถานีรถไฟฟ้าปิดอยู่ด้านหน้าจึงมีถนนเป็นทางออกสู่ถนนอโศก มีความกว้างไม่เป็นไปตามกฎหมาย

โครงการแอชตัน อโศก มูลค่า 6,480 ล้านบาทท เป็นคอนโดมิเนียมสูง 51 ชั้น มีห้องพัก 783 ยูนิต ซึ่งมีผู้อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก

ส่วนราคาหุ้นของ ทางบริษัท อนันดาฯ (ANAN)  ปิดตลาดวันที่ 27  ก.ค. ร่วงลง 26.32% ปิดที่ 0.84 บาท /หุ้น 

แอชตัน อโศก

 

แอชตัน อโศก

advertisement

SPOTLIGHT