ธุรกิจ MICE หมายถึง อุตสาหกรรมการประชุมสัมมนา (Meetings) การให้รางวัลพนักงานด้วยการท่องเที่ยว (Incentives) การจัดการประชุมสมาคมวิชาชีพ (Conventions) และการจัดการแสดงนิทรรศการและงานแสดงสินค้า (Exhibition) ที่เมื่อนำเอาคำนำหน้าของทั้ง 4 คำมาเรียงต่อกัน จะได้คำว่า MICE
โดยอุตสาหกรรมประเภทนี้ สามารถสร้างรายได้จำนวนมากให้แก่ประเทศต่าง ๆ มาตลอดหลายปี และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มีรายได้จากอุตสาหกรรม MICE ในปี 2567 ที่ผ่านมาสูงถึงกว่า 140,000 ล้านบาท
ตัวอย่างของกิจกรรมที่เป็นธุรกิจ MICE มีทั้งในระดับประเทศและภูมิภาค เช่น การประชุมสุดยอดผู้นำ ASEAN การประชุม APEC และงานใหญ่ที่จัดขึ้นโดยภาคเอกชน เช่น บ้านและสวนแฟร์ งาน Thailand International Motor Expo หรืองานมหกรรมนิยาย ไปจนถึงการประชุมขององค์กร เช่น การประชุมนอกสถานที่ หรือการไป Outing ประจำปีของบริษัท
สำหรับผู้ที่เดินทางไปใช้บริการธุรกิจ MICE มักจะเป็นผู้เข้าร่วมงานไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมประชุมสัมมนา การพำนัก หรือการเยี่ยมชมการแสดงสินค้า จึงมักจะเรียกว่า “นักเดินทางไมซ์ (MICE Tourist)” ที่มักใช้กับผู้ที่ต้องเดินทางมาจากพื้นที่หรือประเทศอื่น ส่วนผู้ที่เข้าเยี่ยมชมหรือมาร่วมงานก็จะเรียกว่า “ผู้เยี่ยมชมไมซ์ (MICE Visitor)”
ในประเทศไทยมีหน่วยงานสำคัญที่คอยสนับสนุนธุรกิจ MICE คือ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ TCEB (Thailand Convention and Exhibition Bureau) มีหน้าที่หลักในการส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) ล่าสุด ได้จัดงานเปิดตัวแคมเปญของปี 2568 นี้ ด้วยการต่อยอดมาจากปีก่อนหน้า ในชื่อ “ยกทีมประชุม รุมรักเมืองไทย ซีซั่น 2”
นางนิชาภา ยศวีร์ รองผู้อำนวยการ TCEB เล่าถึงเป้าหมายในการจัดงานแคมเปญยกทีมประชุม รุมรักเมืองไทย ซีซั่น 2 ว่า เป็นการทำการตลาดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยผ่านอุตสาหกรรม MICE โดยเล็งเป้าหมายทั้งภาครัฐ เอกชน SME และสถาบันการศึกษามากระจายโอกาสและรายได้ไปสู่ชุมชนในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ
โดยในซีซั่นแรกในปีก่อน สามารถส่งผลทางเศรษฐกิจได้กว่า 130 ล้านบาท จากผู้เข้าร่วมโครงการ 14,971 คน จึงต่อยอดมาสู่ในซีซั่นที่ 2 ที่ร่วมมือกับภาคีเครือข่าย 16 องค์กร ในธีม “ชวนชาวออฟฟิศ ยกทีมนอกกรอบ ไปรอบเมืองไทย” เปิดให้ผู้จัดงานมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์กิจกรรมองค์กรภายใต้ 6 รูปแบบกิจกรรม และ 3 แนวคิดหลักคือ (1) การประชุมเพื่อส่งเสริมชุมชน (2) การประชุมเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และ (3) การประชุมเพื่อส่งเสริมความยั่งยืน นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้เกิดการจัดกิจกรรมในช่วงนอกฤดูการเดินทาง หรือช่วง Low Season อีกด้วย
จากตัวเลขล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคม 2568 ที่ผ่านมา มียอดนักเดินทางในอุตสาหกรรม MICE ทั้งในและต่างประเทศกว่า 12.6 ล้านคน รวมเป็นมูลค่าเม็ดเงินกว่า 42,000 ล้านบาท ถือว่าเติบโตขึ้นถึง 15.94% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน (2567) การทำแคมเปญในครั้งนี้จึงมุ่งที่จะต่อยอดให้เกิดการเติบโตของอุตสาหกรรม MICE อันจะส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศได้ด้วยกลยุทธ์ 3S คือ
1) Stay Longer ที่ต้องการให้นักเดินทาง MICE พำนักยาวนานขึ้น
2) Spend more ที่ต้องการให้เกิดการใช้จ่ายมากขึ้น 3) See you again ที่ต้องการให้เกิดการกลับมาพำนักและจัดประชุมซ้ำ
โดยในปีนี้ TCEB ต้องการให้ความสำคัญกับชุมชนที่เป็นจุดหมายในการจัดประชุมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับความยั่งยืน ที่นอกจากไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังต้องทำให้การจัดประชุมนั้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและไม่ฝืนต่อวิถีชีวิตของชุมชน
แคมเปญ “ยกทีมประชุม รุมรักเมืองไทย ซีซั่น 2” เป็นการต่อยอดจากการจัดขึ้นในปีที่แล้ว โดยสามารถเข้าร่วมได้ทั้งหน่วยงานที่จัดกิจกรรมองค์กร และผู้ประกอบการไมซ์
สำหรับหน่วยงานที่จัดกิจกรรมองค์กร จะเข้าร่วมได้โดยการ
โดยรางวัลสำหรับผู้ชนะการประกวด ได้แก่ รางวัลสุดยอดทีมประชุม สำหรับโพสต์รีวิวที่แสดงถึงการจัดกิจกรรมองค์กรที่สร้างสรรค์และสร้างแรงบันดาลใจ และรางวัลยกทีมรุมไลก์ สำหรับโพสต์ที่มีจำนวนผู้ตอบสนองต่อเนื้อหา (Engagement) สูงสุด รวมมูลค่า 1,000,000 บาท
สำหรับผู้ประกอบการไมซ์ ผู้ให้บริการจัดกิจกรรมองค์กรประเภทต่าง ๆ สามารถส่งรายละเอียดการให้บริการ เพื่อชิงเงินรางวัล 20,000 บาท และโล่ประกาศเกียรติคุณ แบ่งเป็น 2 ประเภทรางวัล ได้แก่
ในงานเปิดแคมเปญครั้งนี้ มีการจัดงานเสวนาในหัวข้อที่มีชื่อเดียวกับแคมเปญคือ “ยกทีมประชุม รุมรักเมืองไทย ซีซัน 2 ชวนชาวออฟฟิศ ยกทีมนอกกรอบ ไปรอบเมืองไทย” ที่ประกอบด้วยผู้ร่วมเสวนาคือ
โดยคุณศิริปกรณ์ จาก อพท. ได้เชื่อมโยงความสำคัญของแคมเปญนี้กับชุมชนว่า แต่ละชุมชนมีอัตลักษณ์และเสน่ห์ที่น่าสนใจของตัวเอง และการที่หน่วยงานต่าง ๆ เข้าไปจัดกิจกรรมในชุมชนนั้น จะทำให้คนในหน่วยงานได้รับประสบการณ์ที่แตกต่างจากการประชุมหรือทำงานในออฟฟิศ โดยกลุ่มเป้าหมายที่อยากเชิญชวนมาร่วมแคมเปญนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นหน่วยงานในกรุงเทพมหานคร แต่สามารถเป็นหน่วยงานในจังหวัดข้างเคียงได้ ถือเป็นการแลกเปลี่ยนและสนับสนุนกันเองได้
จากประสบการณ์ส่วนตัวของคุณศิริปกรณ์ (อพท.) นั้น เมื่อชุมชนต่าง ๆ มีโอกาสได้รับนักท่องเที่ยว MICE มักจะมีความกระตือรือร้นในการเตรียมต้อนรับมาก ด้วยจิตใจบริการและต้องการสร้างความประทับใจ ทำให้จุดแข็งของชุมชนท้องถิ่นคือความยืดหยุ่น ที่เมื่อกลุ่มผู้เยี่ยมเยียนต้องการปรับเปลี่ยนอะไร ชุมชนก็มักจะปรับให้ ยิ่งสร้างให้เกิดความประทับใจต่อทั้งคนในและนอกประเทศ
คุณประชุม นายกฯ TICA ที่เป็นองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการประชุมนั้นเล่าว่า ได้ทำงานกับ TCEB ตั้งแต่การตั้งต้นแคมเปญ เปรียบเทียบการทำธุรกิจ MICE ว่าต้องสร้างความรู้สึกที่ดีต่อนักท่องเที่ยว MICE เพราะคนจะจำได้ โดยผู้ประกอบการ MICE ทั้งชุมชน โรงแรม และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ต้องมีการดูแล พัฒนาประสบการณ์ที่นักท่องเที่ยวจะได้รับจากการมาพำนัก นอกจากนี้ยังพูดถึงการเข้ามาของ AI (เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์) ว่า จะไม่ได้เข้ามาแย่งงานคนในธุรกิจ MICE เพราะธุรกิจ MICE คือประสบการณ์และความรู้สึกของผู้เข้ามาเยี่ยมชม ซึ่งต้องเกิดจากคน แต่ต้องติดตาม Trend ของนักท่องเที่ยว ที่ในปี 2568 นี้มีความเปลี่ยนแปลง ทั้งความต้องการความยืดหยุ่น การเดินทางและท่องเที่ยวอย่างมีเป้าหมาย เช่น การเดินทางมาประเทศไทยเพื่อสุขภาวะที่ดี (Wellness) หรือการแพทย์ ในขณะที่หน่วยงานต่าง ๆ ก็ต้องออกแบบการท่องเที่ยวนั้นให้สามารถสร้างรายได้สู่ชุมชนได้ด้วย พร้อมทั้งเสนอแนวคิด 4 เสาคือ 1) Hospitality การบริการดูแลเอาใจใส่ เช่น กลุ่มนักเดินทางที่เคร่งศาสนา ก็อาจจะอ่อนไหวต่ออาหารที่ทำจากสัตว์เป็น 2) Locality ที่ดึงเอาจุดเด่นของท้องถิ่นออกมา 3) Sustanability ที่ต้องตีความให้มากกว่าการพาไปปลูกต้นไม้ แต่เป็นการสร้างความยั่งยืนต่อทั้งสิ่งแวดล้อมและธุรกิจของชุมชน 4) Wellness ที่ต้องทำให้เกิดสุขภาวะที่ดีทั้งกายและใจ
ส่วนในแง่มุมของธุรกิจโรงแรม คุณเทียนประสิทธิ์ นายกสมาคมโรงแรมไทย มองว่า การจัดกิจกรรม MICE ของหน่วยงานต่าง ๆ ในชุมชนท้องถิ่น สามารถสร้างให้เกิดความประทับใจที่ดี มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ส่งผลให้ชุมชนแข็งแรงได้ การจัดแคมเปญนี้จะช่วยกระตุ้นให้หน่วยงานต่าง ๆ ของไทย ได้รับประสบการณ์การที่ดี รวมถึงโอกาสในการได้รับโบนัสจากรางวัลของแคมเปญในครั้งนี้ได้
คุณกนกพร (TCEB) กล่าวเสริมถึงการจัดกิจกรรม MICE ว่า นอกจากสถานที่หรือความเป็นท้องถิ่นแล้ว ผู้จัดต้องคำนึงถึงสิ่งอำนวยความสะดวกให้พร้อม ทั้งวัสดุอปกรณ์ เครื่องเสียง สถานที่ เพื่อให้การจัดกิจกรรมเป็นไปด้วยความราบรื่น ทำให้เกิดความประทับใจของผู้ใช้บริการ
ส่วนการจัดแคมเปญที่เป็นซีซั่นที่ 2 ของ TCEB นี้ ก็เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน และไม่ให้การจัดกิจกรรม MICE เกิดขึ้นเพียงแค่ในกรุงเทพมหานคร มีเป้าหมายไปที่สำนักงานหรือออฟฟิศ ทั้งที่เป็น Start-up, SMEs บริษัท และหน่วยงานต่าง ๆ คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมเพิ่มขึ้น 10-15% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ตลาด MICE สามารถเติบโตได้ตามเป้าหมายปีงบประมาณ 2568 ที่คาดการณ์นักเดินทาง MICE ในประเทศ 26 ล้านคน เกิดเป็นรายได้ราว 86,000 ล้านบาท
แคมเปญนี้มีระยะเวลาการสมัครเข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่วันนี้ - 31 ตุลาคม 2568 โดยแบ่งผลงานที่ส่งเข้าประกวดเพื่อตัดสินผู้ชนะรางวัลเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 ตั้งแต่วันนี้ – 30 มิถุนายน 2568 ช่วงที่ 2 วันที่ 1 กรกฎาคม – 31 สิงหาคม 2568 และช่วงที่ 3 วันที่ 1 กันยายน – 31 ตุลาคม 2568 โดยติดตามและกรอกรายละเอียดได้ที่ yokteam.tceb.or.th หรือกดเพิ่มเพื่อนกับ LINE Official Account @yokteam