เวลาเดินทางไปท่องเที่ยวที่ไหน สิ่งหนึ่งที่หลายๆ คนน่าจะนำมาประกอบการตัดสินใจเป็นอันแรกๆ น่าจะเป็นความปลอดภัย และถึงแม้นักเดินทางมีสิทธิไปถึงฆาตได้ในทุกประเทศ ก็มีบางประเทศที่ไปแล้ว ‘เสี่ยงตาย’ มากที่สุดในทางสถิติ
The Swiftest ทีมวิจัยด้านประกันภัยการท่องเที่ยวได้จัดทำดัชนี “Travel Safety Index” ขึ้นเพื่อจัดอันดับความอันตรายต่อชีวิตของประเทศทั่วโลก โดยใช้ข้อมูลสถิติผู้เสียชีวิตจากสาเหตุต่างๆ ในประเทศที่มีคนไปท่องเที่ยวมากที่สุด 50 ประเทศ (ยกเว้นประเทศที่มีเหตุไม่สงบ หรือสงครามอยู่ เช่น รัสเซีย และยูเครน) มาเพื่อประเมินว่าประเทศไหนทำให้ผู้ไปเยือนเสี่ยงที่จะเสียชีวิตมากที่สุด
โดยทีมผู้วิจัย ใช้ข้อมูลผู้เสียชีวิตจาก 7 สาเหตุด้วยกัน ได้แก่
และเมื่อรวบรวมข้อมูลการเสียชีวิตของทุกประเทศได้แล้ว ทีมผู้วิจัยก็ได้นำตัวเลขทั้งหมดมาแบ่งกลุ่มให้คะแนนตั้งแต่ 0 ถึง ลบ 100 ในแต่ละปัจจัย และประเทศไหนที่ได้คะแนนลบสูงที่สุดก็จะถือว่าเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงต่อนักเดินทางที่สุด โดยจากการวิจัย ประเทศที่อันตรายที่สุดสำหรับนักเดินทางได้แก่
ในขณะที่ประเทศที่ปลอดภัยสำหรับนักเดินทางที่สุด ได้แก่
'ยากจนและเหลื่อมล้ำ' สาเหตุหลักของประเทศเสี่ยงตาย
"แอฟริกาใต้" และ "อินเดีย" คือ 2 ประเทศที่อันตรายที่สุดสำหรับนักเดินทาง และสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้อยู่อาศัยและผู้เดินทางไปในสองประเทศมีความเสี่ยงสูงกว่าประเทศอื่นที่จะเสียชีวิตก็คือ ปัญหาความยากจน และความเหลื่อมล้ำที่ทำให้ประชาชนบางส่วนต้องหันไปเป็นอาชญากรเพื่อหาเงินเลี้ยงชีพ หรืออยู่ในสภาพความเป็นอยู่ที่มีสุขลักษณะที่ไม่ดีทำให้เสียชีวิตจากโรคติดต่อมาก
สำหรับแอฟริกาใต้ สาเหตุหลักของการเสียชีวิตของประชากรในประเทศคือ เหตุฆาตกรรม และโรคติดต่อ เพราะประเทศนี้มีตัวเลขผู้เสียชีวิตจากเหตุฆาตกรรมสูงถึง 36.4 คนต่อประชากร 100,000 คนและมีจำนวนปีที่เสียไปจากโรคติดต่อสูงถึง 23,778 ปีต่อประชากร 100,000 คน โดยจากสถิติ จะมีคนเสียชีวิตจากเหตุฆาตกรรมในแอฟริกาใต้ถึงวันละ 68 คน
จากการข้อมูลของ The Swiftest และกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ สาเหตุที่ทำให้แอฟริกาใต้มีความรุนแรงไม่ว่าจะเป็น การขโมย ปล้น จี้ หรือฆ่า เกิดขึ้นมากเป็นเพราะความยากจนและความเหลื่อมล้ำที่มีสูง ทำให้ประชาชนบางส่วนต้องทำผิดกฎหมายหรือเข้าแก๊งอาชญากรรมเพื่อหาเงิน ประชาชนเข้าถึงอาวุธได้ง่าย ระบบยุติธรรมอ่อนแอ นอกจากนี้ยังมีการประท้วงบ่อย ทำให้เกิดเหตุไม่สงบที่ทำให้คนเสียชีวิตได้บ่อยครั้ง
ส่วนอินเดีย ถึงแม้จะมีผู้เสียชีวิตจากเหตุฆาตกรรมและสารพิษที่ค่อนข้างต่ำ ประชาชนในอินเดียยังมีความเสี่ยงมากที่จะเสียชีวิตจากสุขลักษณะที่ไม่ดี ซึ่งเกิดจากความยากจน ที่ทำให้ประชาชนส่วนมากไม่สามารถมีบ้านอยู่อาศัย น้ำ หรืออาหารที่ถูกลักษณะบริโภคได้ นอกจากนี้ ยังมีความเหลื่อมล้ำสูงจากระบบชนชั้น ทำให้ประชาชนส่วนมากของประเทศคือถึง 1.3 พันล้านต้องใช้ชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมย่ำแย่ที่ทำให้เกิดโรคและความเจ็บป่วยอื่นๆ
'ไทย' เสี่ยงตายสุดอันดับ 3 บนท้องถนน
ในฐานะประเทศที่ต้องพึ่งพาการท่องเที่ยวสูง อันดับของ "ประเทศไทย" ถือว่าอยู่ค่อนข้างสูงจนน่าเป็นห่วง โดยขึ้นทำเนียบประเทศเสี่ยงตายอันดับ 12 ของโลก และอยู่ในกลุ่ม D-
สาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งที่ฉุดคะแนนของเรามากที่สุดก็คือ อุบัติเหตุบนท้องถนน ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 32.2 คนต่อประชากร 100,000 คน ทำให้เราเป็นที่ 3 ของโลก เป็นรองเพียงสาธารณรัฐโดมินิกัน และซาอุดิอาระเบีย
จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก และศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตบนท้องถนนสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยอยู่ที่ 32.7 คน ต่อประชากร 1 แสนคน และมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนสะสมในปี 2022 แล้วถึง 13,590 คน หรือประมาณ "วันละ 40 คน"
นอกจากนี้ เรายังครองอันดับ 6 ของโลกในกลุ่มการเสียชีวิตจากสุขลักษณะที่ไม่ดี และครองอันดับที่ 7 ในกลุ่มการเสียชีวิตจากการบาดเจ็บเพราะอุบัติเหตุ สิ่งก่อสร้างที่ไม่ปลอดภัย และความรุนแรงส่วนบุคคล ซึ่งสะท้อนว่าประชาชนในหลายพื้นที่ของประเทศไทยยังไม่สามารถเข้าถึงสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงน้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาดได้ และยังมีความปลอดภัยในการใช้ชีวิตประจำวันในระดับที่ต่ำอีกด้วย
ที่มา: The Swiftest, ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ