Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ไทยคว้าเก้าอี้ 1 ใน 18 ชาติ สมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ วาระปี 2025-2027

ไทยคว้าเก้าอี้ 1 ใน 18 ชาติ สมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ วาระปี 2025-2027

10 ต.ค. 67
15:35 น.
|
229
แชร์

ที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ประกาศเลือกประเทศสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ วาระปี 2025 - 2027 โดยประเทศไทยได้รับเสียงโหวต 177 คะแนน ให้เป็นหนึ่งใน 18 ประเทศที่ได้รับการคัดเลือก

ที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ได้ประกาศผลเลือกตั้ง สมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน (United Nations Human Rights Council: UNHRC) วาระปี 2025-2027 จำนวน 18 ประเทศ โดยไทยได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน 18 ประเทศ ที่ได้เป็นสมาชิก ด้วยคะแนนสูงสุดถึง 177 คะแนน ในกลุ่มประเทศเอเชีย – แปซิฟิก ซึ่งถือเป็นคะแนนสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมาในภูมิภาค อันเป็นการสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของไทยในการส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติในปัจจุบัน

ทั้งนี้ ประเทศไทยจะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสมาชิก UNHRC ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2025 โดยจะมีวาระ 3 ปี ร่วมกับประเทศต่างๆ ที่ได้รับเลือก รวมทั้งสิ้น 18 ประเทศ ได้แก่ ไทย เบนิน โบลิเวีย โคลอมเบีย ไซปรัส เช็ก คองโก เอธิโอเปีย แกมเบีย ไอซ์แลนด์ เคนย่า หมู่เกาะมาร์แชลล์ เม็กซิโก มาเซโดเนียเหนือ กาตาร์ สเปน เกาหลีใต้ และสวิตเซอร์แลนด์

gzdbvmux0aa1yfjcopy

คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ คืออะไร

คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council: UNHRC) เป็นองค์การระหว่างรัฐบาลในระบบสหประชาชาติซึ่งจัดตั้งขึ้นแทนหน่วยงานเดิม คือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Commission on Human Rights หรือ UNCHR) ปัจจุบัน UNHRC สังกัดอยู่กับสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติจะทํางานใกล้ชิดกับสํานักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน (The Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights : OHCHR) โดยมี
หน้าที่สําคัญในการสอดส่องดูแลการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นทั่วโลก หยุดยั้งการละเมิดสิทธิมนุษยชน สร้างบรรทัดฐานของการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งส่งเสริมขีดความสามารถสําหรับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศต่างๆ

คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติประกอบด้วยสมาชิกสหประชาชาติจํานวน 47 ประเทศที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรง (directly) และในลักษณะส่วนบุคคล (individually) โดยการจับสลาก “ลับ” จากสมาชิกสหประชาชาติทั้งหมด และต้องได้รับการสนับสนุนจากประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ (majority) ของสหประชาชาติโดยจะอยู่ในตําแหน่งคราวละ 3 ปีโดยไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งซ้ำได้ในทันทีหากดํารงตําแหน่งติดต่อกัน 2 สมัย การเลือกตั้งประเทศสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติจะกระจายกันไปตามสัดส่วนทางภูมิศาสตร์อย่างเท่าเทียมกัน ได้แก่ ภูมิภาคแอฟริกา 13 ประเทศ ภูมิภาคเอเชีย 13 ประเทศ ภูมิภาคยุโรปตะวันออก 6 ประเทศ ภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 8 ประเทศ และภูมิภาคยุโรปตะวันตกและประเทศ
อื่น ๆ 7 ประเทศ

การเลือกตั้งสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติตั้งอยู่บนพื้นฐานของการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ดังนั้นภายหลังหากพบว่าสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่ได้รับการเลือกตั้งได้กระทําการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานและสิทธิมนุษยชน ที่ประชุมใหญ่ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (General Assembly) ผ่านทางเสียงส่วนใหญ่สองในสามของสมาชิกทั้งหมดสามารถระงับสิทธิและสิทธิพิเศษของสมาชิกที่ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานและสิทธิมนุษยชนนั้นได้โดยการเลือกตั้งสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติจะจัดขึ้นทุกๆ 3 ปี

Advertisement

แชร์
ไทยคว้าเก้าอี้ 1 ใน 18 ชาติ สมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ วาระปี 2025-2027