สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ให้ใช้คำย่อ สส.และ สว. ไม่ใช่ ส.ส. หรือ ส.ว. อย่างที่คุ้นเคยกัน

18 ก.ค. 66

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา เผยให้ใช้คำย่อ สส. (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) และ สว. (สมาชิกวุฒิสภา) ไม่ใช่ ส.ส. หรือ ส.ว. อย่างที่คุ้นเคยกัน

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา เผยแพร่ประกาศ คำย่อ สส. (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) และ สว. (สมาชิกวุฒิสภา) โดยระบุว่า

สส. หรือ ส.ส. และ สว. หรือ ส.ว. เขียนย่ออย่างไรจึงถูกต้อง

เมื่อถึงช่วงเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองที่เกี่ยวกับรัฐสภา มักมีผู้สอบถามเรื่องการเขียนคำย่อของคำว่า "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร" และ "สมาชิกวุฒิสภา" ว่าที่ถูกต้องเขียนว่าอย่างไร

ในภาษาเขียนควรเขียนคำต่างๆ เป็นคำเต็ม เพื่อให้สื่อสารได้ชัดเจน หากจำเป็นต้องย่อ สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้กำหนดหลักเกณฑ์การเขียนคำย่อไว้เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนคำย่อให้ใช้เป็นแบบแผนเดียวกัน ดังปรากฏในหนังสือ หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอน และเครื่องหมายอื่นๆ หลักเกณฑ์การเว้นวรรค หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๗ (แก้ไขเพิ่มเติม) พ.ศ. ๒๕๕๑

เมื่อพิจารณาย่อคำว่า "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร" และ "สมาชิกวุฒิสภา" ตรงกับหลักเกณฑ์การเขียน คำย่อ ข้อ ๓ และ ๙ คือ

๓. ถ้าเป็นคำประสม ใช้พยัญชนะต้นของแต่ละคำ
ตัวอย่าง
(๑) ชั่วโมง = ชม.
(๒) โรงเรียน = รร.

๙. ตัวย่อต้องมีจุดกำกับเสมอ ตัวย่อตั้งแต่ ๒ ตัวขึ้นไปให้จุดที่ตัวสุดท้ายเพียงจุดเดียว ยกเว้นตัวที่ใช้
ตัวอย่าง
(๑) ตำบล = ต.
(๒) รองศาสตราจารย์ = รศ.
(๓) พุทธศักราช = พ.ศ.

ดังนั้น คำว่า "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร" จึงย่อเป็น "สส." และ "สมาชิกวุฒิสภา" จึงย่อเป็น "สว."

เนื่องจากคำว่า "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร" และ "สมาชิกวุฒิสภา" เป็นคำประสม จึงใช้พยัญชนะต้นของแต่ละคำมาเขียนเป็นคำย่อ และไม่ได้เป็นคำที่ใช้มาก่อน (เช่น "พุทธศักราช" ย่อว่า "พ.ศ.") หรือเป็นชื่อเฉพาะ (เช่น สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ย่อว่า สำนักงาน ก. พ.) หรือเป็นคำย่อที่ใช้ตามกฎหมาย (เช่น อักษรศาสตรบัณฑิต ย่อว่า อ..) โดยจุดที่ตัวสุดท้ายเพียงจุดเดียว

อย่างไรก็ดี มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดจึงมีการเขียนคำย่อเป็น "ส.ส." และ "ส.ว." ด้วย ในเรื่องนี้มีที่มาจากพัฒนาการในการใช้คำย่อ กล่าวคือ ก่อนที่จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์การเขียนคำย่อของราชบัณฑิตยสถาน (ปัจจุบันคือ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา) เพื่อเป็นแนวทางในการใช้คำย่อให้เป็นแบบแผนเดียวกัน พบการเขียนคำย่อในภาษาไทยทั้งแบบที่จุดคั่นทุกตัวอักษร และแบบที่จุดที่ตัวสุดท้ายเพียงจุดเดียว ในทำนองเดียวกับการเขียนคำย่อในภาษาอังกฤษ เช่น สหรัฐอเมริกา ที่เดิมพบใช้ว่า U.S.A. และต่อมาใช้ USA. ซึ่งปัจจุบันมักใช้ USA แต่ด้วยการใช้ไทยให้ใช้เป็นแบบแผนเดียวกัน โดยเผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือ รายงานประจำปี ๒๕๒๙ ราชบัณฑิตยสถาน และได้พิมพ์อยู่ในหนังสือหลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ หลักเกณฑ์การเว้นวรรค และหลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๕ (แก้ไขเพิ่มเติม) พ.ศ. ๒๕๓๓ จนถึงฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์ที่กำหนดมาแต่เดิมและใช้สืบเนื่องมาจนปัจจุบัน

นางสาวกุลศิรินทร์ นาคไพจิตร
นักวรรณศิลป์ชำนาญการพิเศษ
กองศิลปกรรม สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๖

361397724_675756057910748_260

361610505_675756047910749_113

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส