"ทนายพัช" เบี้ยวนัดรับทราบข้อหาช่วย "แอม" ทำลายหลักฐาน ตร.เตรียมออกหมายเรียก

24 พ.ค. 66

"ทนายพัช" ติดต่อขอมอบตัวแต่เบี้ยวไม่มา ตำรวจเตรียมออกหมายเรียก หลังพัวพันทำลายหลักฐาน คดี "แอม ไซยาไนด์"

เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 23 พ.ค.66 ที่ สโมสรตำรวจ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีที่ น.ส.ธันย์นิชา เอกสุวรรณวัฒน์ หรือ 'ทนายพัช' ทนายของ นางสรารัตน์ หรือ 'แอม' รังสิวุฒาภรณ์ วางยาฆ่าชิงทรัพย์ เตรียมที่จะฟ้องตำรวจในความผิด ม.157 จำนวน 3 ราย ว่า 

ตอนนี้ยังไม่ทราบเรื่อง แต่สิทธิ์ในการฟ้องมีทุกคน รวมถึงตัวทนายความเห็นด้วย แต่ตำรวจทำงานตามพยานหลักฐาน ไม่ได้ทำงานตามกระแสของสังคม เมื่อพยานหลักฐานเพียงพอก็ขออนุมัติหมายจับ ซึ่งศาลท่านก็พิจารณาตามเหตุผลและพยานหลักฐาน ซึ่งการที่ศาลให้ออกหมายเรียกผู้ต้องหา ไม่ใช่การไม่เห็นด้วยกับพยานหลักฐาน แต่เป็นเรื่องของการแจ้งความผิดเดียวกับ รองอ๊อฟ ที่ไม่ได้ถูกออกหมายจับ ศาลจึงพิจารณาให้ออกเป็นหมายเรียก

ส่วนตัว ทนายพัช เมื่อวานนี้มีการติดต่อขอมอบตัวที่กองปราบปราม ตอนเวลา 19.00 น. แต่ก็ไม่มาตามที่แจ้งเอาไว้ ซึ่งการติดต่อขอมอบตัวเป็นเรื่องที่เจ้าตัวติดต่อเอง เมื่อเจ้าตัวไม่มา ตำรวจก็จะออกหมายเรียกดำเนินการตามกฎหมาย

ส่วนการที่ตัวทนายพัชจะฟ้องตำรวจม.157 จะกระทบต่อคดีที่จำแจ้งข้อหาหรือไม่นั้น รองผบ.ตร. เปิดเผยว่า ไม่กระทบ ตำรวจดำเนินการตามกฎหมาย และมีหน้าที่รักษาความเป็นธรรม สืบสวนสอบสวนจับกุมผู้ร้าย ซึ่งการทำหน้าที่ดังกล่าวก็สุ่มเสี่ยงต่อการถูกฟ้องดำเนินคดีอยู่แล้ว ตำรวจแค่ต้องตอบให้ได้และพิสูจน์ว่าดำเนินการตามพยานหลักฐาน

ซึ่งหากปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหมายก็จะเป็นเกราะคุ้มครองตัวเราเอง ยืนยันว่าการที่ ทนายพัช ฟ้องตำรวจในลักษณะเชิงแก้เกี้ยว จะไม่ทำให้ตำรวจเกิดอคติในการทำคดี

ทั้งนี้เมื่อตัวทนายพัชมามอบตัวกับพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก การจะให้หรือไม่ให้ประกันตัวขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของพนักงานสอบสวน และมีหลักเกณฑ์อยู่แล้วตามกรอบของกฏหมาย ซึ่งตามกฎหมายพนักงานสอบสวนสามารถขอหมายขังได้ ตามป.วิอาญา 134 หรือ ไม่ขอหมายขังก็ได้

ส่วนการเข้าพูดคุยกับ กรมโรงงาน วันที่ 24 พ.ค.นี้ จะเข้าไปพูดคุยในเรื่องของข้อกฎหมายและอำนาจหน้าที่ รวมถึงให้เรียนการกระทำความผิดของโรงงานที่ปล่อยปละละเลยนำสาวไซยาไนด์ไปขาย เพื่อเตรียมที่จะดำเนินคดีต่อโรงงานและเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งขณะนี้ทางตำรวจมีข้อมูลโรงงานที่นำไปขาย แต่ต้องมีการพูดคุยกับเจ้าของ พ.ร.บ. ว่าการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายความผิดอะไร

หากเข้าข่ายการกระทำความผิด ทางตำรวจจะทำรายงานการสอบสวนและให้กรมโรงงานเป็นผู้กล่าวหาในฐานะเจ้าของพ.ร.บ. ซึ่งกรณีนี้จะแยกเป็นคดีใหม่อีก 1 คดี

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส