ทำความรู้จัก เกษตรพันธสัญญา จากดราม่าฟาร์มหมูโลละ 60 บาท มีข้อดี - ข้อเสีย อย่างไร?

20 ม.ค. 65

เกษตรพันธสัญญา คืออะไร? ไขข้อข้องใจจากปมดราม่าฟาร์มหมูระยอง โลละ 60 บาท ในขณะที่ราคาตลาดพุ่ง 200-300 บาทต่อโล

จากกรณีดราม่าฟาร์มหมู จ.ระยอง ที่ออกมาแฉ หมูแพงได้อย่างไร เพราะที่ฟาร์มขายแค่กิโลกรัมละ 60 บาท ต่อมาพาณิชย์จังหวัดระยองได้เข้าสั่งตรวจสอบ พร้อมกับชี้แจงว่ากรณีของฟาร์มดังกล่าว เป็นการทำสัญญาผูกพันกับบริษัทซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างกัน ซึ่งการทำสัญญาของฟาร์มกับบริษัทเป็นไปอย่างถูกต้อง ตามกระบวนการของ เกษตรพันธสัญญา ซึ่งขณะนี้ยังไม่ถึงกำหนดสัญญา ส่วนราคาที่ทำไว้ 60 บาทก็เป็นข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายทำกันไว้แล้วก่อนหน้านี้

บางคนอาจจะสงสัยหรือยังไม่รู้ว่า เกษตรพันธสัญญา นั้นคืออะไร เกษตรพันธสัญญา หรือ คอนแทรคฟาร์มมิ่ง (contract farming) คือ ระบบการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ หรือการเพาะปลูกพืช ที่มีการทำสัญญาซื้อขายผลผลิตล่วงหน้าระหว่างฝ่ายเกษตรกร หรือเจ้าของฟาร์ม กับคู่สัญญา คือ "ผู้รับประกัน" ซึ่งมักเป็นบริษัทเอกชนที่สัญญาว่าจะซื้อผลผลิตคืนจากอีกฝ่ายในราคาที่ตกลงกันตั้งแต่ต้น เรียกว่า "ราคาประกัน" ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงได้ก็ต่อเมื่อครบกำหนดสัญญา

Charles Eaton and. Andrew W. Shepherd (2001) ได้สรุปประโยชน์ของการทำกษตรพันธสัญญาในมุมมองของเกษตรกรว่า การทำสัญญากับบริษัทใหญ่สามารถอำนวยความสะดวกแก่เกษตรกรรายย่อยด้านต่างๆ เช่น เงินทุน ข่าวสาร เทคโนโลยี ตลาด สามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงทางด้านรายได้ให้แก่ เกษตรกรเมื่อทำการเกษตรสมัยใหม่ ทำให้เกษตรกรผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของตลาดมากขึ้น ให้การผลิตมีความเชื่อมโยงกับหน่วยอื่นๆ ในห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งและค่าการตลาดลดลง

นอกจากนี้ต้นทุนในการควบคุมคุณภาพและความผันผวนของปริมาณวัตถุดิบลดลงด้วย ทำให้สามารถนำไปแปรรูปได้ดีขึ้น การที่ บริษัทสามารถ ควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ เท่ากับเป็นการลดความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยของอาหารที่จะเกิดกับผู้บริโภคอีกด้วยพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ.2560 ได้ถูกตราขึ้นด้วยเหตุผลที่ปัจจุบันมีการนำระบบเกษตรพันธสัญญามาใช้ในกระบวนการผลิตผลิตผลหรือบริการทางการเกษตรอย่างแพร่หลาย ซึ่งหากมีการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญาให้มีความเป็นธรรมตามหลักสากลจะช่วยสร้างความไว้วางใจ ความร่วมมือ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพในการผลิตผลิตผลหรือบริการทางการเกษตรอย่างยั่งยืน ส่งผลให้เกษตรกรมีความมั่นคง ทางด้านรายได้ และได้รับการถ่ายทอดความรู้อันจำเป็น ตลอดจนเทคโนโลยีการผลิตที่มีมาตรฐาน มีการควบคุม ต้นทุนในการผลิตผลิตผลหรือบริการทางการเกษตร มีการป้องกันความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกและผู้ประกอบธุรกิจ ทางการเกษตรสามารถประกอบธุรกิจโดยได้รับผลิตผลที่มีคุณภาพมาตรฐานตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็น การสร้งความเชื่อมั่นและความข้มแข็งทางธุรกิจของประเทศให้สามารถแข่งขันในตลาดการค้าเสรีได้ต่อไป

อย่างไรก็ตาม โดยที่การทำสัญญาในระบบเกษตรพันธสัญญามีลักษณะผสมผสานระหว่างสัญญาจ้างทำของ สัญญาจ้างแรงงาน และสัญญาซื้อขายซึ่งมีความชับซ้อนและยุ่งยากในการวิเคราะห์ถึงความคุ้มค่าและต้นทุน ในการผลิตผลิตผลหรือบริการทางการเกษตร ส่งผลให้ในกรณีที่คู่สัญญาเป็นเกษตรกรรายย่อย ซึ่งมีอำนาจต่อรองในการทำสัญญาน้อยกว่าผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตร มีความเสี่ยงในการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญา สมควรที่รัฐจะกำหนดหลักเกณฑ์ในการทำสัญญาในระบบเกษตรพันธสัญญาเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย รวมทั้งกำหนดกลไกในการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

- จนท.ลุยตรวจฟาร์มหมูระยอง โลละ 60 บาท แต่ไม่มีคนซื้อ เจ้าของชี้เป็นเรื่องเข้าใจผิด
- ฟาร์มหมู จ.ระยอง โวยขายกิโลละ 60 บาท ยังไร้คนซื้อ ทั้งที่เป็นหมูคุณภาพ
- กรมปศุสัตว์ ส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบฟาร์มหมู เร่งหาสาเหตุการเกิดโรคระบาด อหิวาต์แอฟริกา

advertisement

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส