โรคเมดิออยโดลิส โรคติดต่อหน้าฝน ยิ่งเดินลุยน้ำ ยิ่งเสี่ยงติดเชื้อ โดยเฉพาะผู้ที่มีบาดแผลที่เท้า เลี่ยงการเดินลุยน้ำ-ย่ำโคลน
โรคเมดิออยโดลิส (Melioidosis) หรือ โรคไข้ดิน เป็นหนึ่งในโรคติดต่อหน้าฝน ที่มีโอกาสพบผู้ป่วยมากขึ้นในช่วงฤดูฝน เนื่องจากปัจจัยแวดล้อมและพฤติกรรมสุขภาพโดยเฉพาะคนที่มีแผลที่บริเวณเท้า มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อและมีแนวโน้มเกิดอาการรุนแรง
ข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ระบุว่า ในช่วงวันที่ 1 ม.ค. - 14 ส.ค.67 พบผู้ป่วยเมลิออยโดสิสทั้งหมด 2,117 ราย เสียชีวิต 64 ราย ถือเป็นอัตราป่วยตาย ร้อยละ 3.04 โดยกลุ่มผู้ป่วยที่พบสูงสุดคือ กลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไป รองลงมา คือ อายุ 55-64 ปี และอายุ 45-54 ปี ตามลำดับ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม และอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจังหวัดที่พบผู้ป่วยมากที่สุดได้แก่ มุกดาหาร, ยโสธร, อำนาจเจริญ, ร้อยเอ็ด และนครพนม
นอกจากนี้แล้วยังได้ระบุว่า ผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม หรือมีลักษณะงานที่ต้องสัมผัสดินและน้ำอยู่เป็นประจำ ถูกจัดเป็นกลุ่มเสี่ยงเกิดโรคได้สูงที่สุด ที่สำคัญหากผู้ที่ทำงานในลักษณะดังกล่าว เป็นผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น เบาหวาน ไตวายเรื้อรัง มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อได้ง่าย และมีแนวโน้มเกิดอาการรุนแรง จนถึงขั้นเสียชีวิตได้
โรคเมลิออยโดสิส คืออะไร
โรคเมดิออยโดลิส (Melioidosis) หรือ โรคไข้ดิน เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Burkholderia pseudomallei เชื้อแบคทีเรียที่มีความทนทานต่อสิ่งแวดล้อม มีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิระหว่าง 15-42 องศาเซลเซียส พบได้ในดินและแหล่งน้ำตามธรรมชาติ
โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยสามารถติดเชื้อผ่านทางเยื่อบุผิวหนัง หรือบาดแผลจากการสัมผัสดินและน้ำเป็นเวลานาน การดื่มน้ำจากแหล่งน้ำที่ไม่สะอาด รวมถึงการหายใจเอาละอองของเชื้อที่ปนเปื้อนในดิน ผู้ป่วยบางรายอาจติดเชื้อจากสัตว์ จากการสัมผัสสารคัดหลั่ง จากการรับประทานเนื้อหรือนมจากสัตว์ที่เป็นโรค
โรคเมลิออยโดสิส อาการ
โรคเมลิออยโดสิสจะแสดงอาการ หลังจากติดเชื้อเฉลี่ยประมาณ 4-9 วัน เร็วสุด 1 วัน บางรายอาจนานเป็นปีขึ้นอยู่กับภูมิต้านทาน ส่วนใหญ่มักเริ่มจากมีไข้ อาการจะแตกต่างไปขึ้นอยู่กับตำแหน่งของการติดเชื้อ เช่น
โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มักมีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด จะมีไข้สูง หายใจลำบาก ความดันเลือดต่ำ รวมถึงมีภาวะช็อก และถึงขั้นเสียชีวิต
วิธีป้องกันการติดเชื้อ โรคเมลิออยโดสิส
ที่มา : กรมควบคุมโรค (ddc.moph.go.th)
Advertisement