Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ภัยร้ายมะเร็งในสัตว์เลี้ยง รู้ทันสัญญาณเตือน ลดความเสี่ยงให้กับน้อง

ภัยร้ายมะเร็งในสัตว์เลี้ยง รู้ทันสัญญาณเตือน ลดความเสี่ยงให้กับน้อง

18 ก.ค. 68
23:45 น.
แชร์

ภัยร้ายมะเร็งในสัตว์เลี้ยง รู้ทันสัญญาณเตือน ลดความเสี่ยงให้กับน้องได้อยู่กับเราไปนานๆ

ไม่ใช่แค่เพียงมนุษย์เราที่ได้รับผลกระทบจากโรคมะเร็ง แต่ในสัตว์เลี้ยงก็สามารถเผชิญโรคร้ายนี้ได้เช่นกัน ดังเช่นกรณีล่าสุดของ ต้าร์สอง เสือโคร่งเพศเมีย วัย 17 ปี แห่งศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก ได้จากไปด้วยโรคมะเร็งเต้านม

มะเร็งในสัตว์เลี้ยง สมาคมสัตวแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (AVMA) ระบุว่ามะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตเกือบ 50% ในสัตว์เลี้ยงที่มีอายุมากกว่า 10 ปี มะเร็งที่พบบ่อยในสัตว์เลี้ยง ได้แก่ มะเร็งผิวหนัง เต้านม ศีรษะและคอ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว อัณฑะ มะเร็งช่องท้อง และกระดูก ซึ่งสุนัขมีโอกาสเป็นมะเร็งในอัตราใกล้เคียงกับมนุษย์ แต่มีข้อมูลเกี่ยวกับอัตราการเกิดมะเร็งในแมวน้อยกว่า และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง พบได้บ่อยในแมวมากกว่าในสุนัข

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสัตว์เลี้ยงของเราเป็นมะเร็ง?

สัตว์เลี้ยงสามารถเกิดเนื้องอกได้เกือบทุกอวัยวะหรือเนื้อเยื่อในร่างกาย ซึ่งหากเป็นเนื้องอกร้าย อาจลุกลามไปยังเนื้อเยื่อโดยรอบและแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย อาการที่อาจพบได้จะแตกต่างกันไปตามนี้

- อาการบวมที่ช่องท้อง

- เลือดออกจากปาก จมูก หรือช่องเปิดอื่นๆ ของร่างกาย

- หายใจลำบาก

- รับประทานอาหารลำบาก

- ก้อนเนื้อ ตุ่ม หรือผิวหนังเปลี่ยนสี

- ท้องเสียหรืออาเจียนอย่างต่อเนื่อง

- น้ำหนักลดอย่างกะทันหัน

- มีอาการบวม ร้อน ปวด หรือเดินกะเผลกโดยไม่ทราบสาเหตุ

หากพบสัญญาณอาการเหล่านี้ ควรรีบพาน้องๆ เข้ารับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันความถูกต้องของอาการอีกครั้ง ซึ่งการตรวจก็มีหลายรูปแบบ เช่น การตรวจเซลล์วิทยา หรือการนำเซลล์บางส่วนออกจากก้อนเนื้อเพื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะสามารถให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับชนิดของเนื้องอกได้อย่างรวดเร็ว และสามารถยืนยันการวินิจฉัยมะเร็งบางชนิดได้

การตรวจชิ้นเนื้อ (biopsy) คือการนำตัวอย่างเนื้อเยื่อจากเนื้องอกไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อระบุว่าเนื้องอกนั้นเป็นเนื้องอกชนิดใด ธรรมดาหรือร้ายแรงจนกลายเป็นมะเร็งได้

การสแกนเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) การถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือการสแกนเอกซเรย์ปล่อยโพซิตรอน (PET) สามารถช่วยให้เข้าใจตำแหน่งของเนื้องอกและหาทางเลือกของการรักษาที่เป็นไปได้มากขึ้น

นอกจากนี้การทำหมันในสัตว์เลี้ยงทั้งเพศผู้เพศเมีย ก่อนอายุ 12 เดือน จะช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมและมะเร็งอัณฑะในสัตว์เลี้ยงได้ แต่ในทางกลับกันก็มีหลักฐานว่าการทำหมันสามารถเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งบางชนิดได้ นอกจากนี้ยังมีรายงานความเสี่ยงทางพันธุกรรมต่อมะเร็งบางชนิดในสุนัขบางสายพันธุ์ จึงควรปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงและระยะเวลาในการทำหมัน

ด้านการรักษามะเร็งในสัตว์เลี้ยงนั้น มีความคล้ายคลึงกับการรักษาในมนุษย์ เช่น การผ่าตัด การฉายรังสีเคมีบำบัดและภูมิคุ้มกันบำบัด อาจประกอบด้วยการรักษาแบบใดแบบหนึ่งหรือหลายแบบร่วมกัน ซึ่งมักจะเกิดผลข้างเคียงน้อยกว่าเพราะสัตว์เลี้ยงมักจะทนต่อเคมีบำบัดได้ดีกว่ามนุษย์

เนื้องอกบางชนิดสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่บางชนิดสามารถรักษาได้เพียงเพื่อลดการแพร่กระจายและยืดอายุของสัตว์เลี้ยงให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีผลต่อความสำเร็จของการรักษาเนื้องอกมักได้แก่ ระยะ มีขนาดใหญ่แค่ไหนและแพร่กระจายไปทั่วร่างกายแค่ไหน และ ประเภท บ่งบอกถึงโอกาสในการตอบสนองต่อการบำบัด รวมถึงการบุกรุกในพื้นที่และอัตราการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

ฉะนั้นผู้ที่มีสัตว์เลี้ยงจำเป็นต้องหมั่นสังเกตลักษณะของสัตว์เลี้ยง หากพบความผิดปกติหรือพบก้อนเนื้อที่ตัวน้อง ควรรีบพาไปตรวจเพื่อวินิจฉัยว่าเป็นเนื้องอกธรรมดาหรือมะเร็ง จะได้ทำการรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลา

ที่มา : Cancer in Domesticated Animals

Advertisement

แชร์
ภัยร้ายมะเร็งในสัตว์เลี้ยง รู้ทันสัญญาณเตือน ลดความเสี่ยงให้กับน้อง