positioning

ส.อ.ท.ดันรัฐตรึงดีเซล-LPGดูแล ปชช.มุ่งใช้กลไกภาษีฯ-ค่าการตลาดลดพึ่งกองทุนน้ำมันฯอย่างเดียว

12 มี.ค. 67
ส.อ.ท.ดันรัฐตรึงดีเซล-LPGดูแล ปชช.มุ่งใช้กลไกภาษีฯ-ค่าการตลาดลดพึ่งกองทุนน้ำมันฯอย่างเดียว
ส.อ.ท.หนุนรัฐตรึงดีเซลและLPG ที่จะสิ้นสุดมาตรการ 31 มี.ค.นี้เพื่อดูแลประชาชนเหตุหนี้ครัวเรือนยังคงสูง แถมหนี้นอกระบบอีก แต่ควรมุ่งเน้นการใช้กลไกภาษีสรรรพสามิตรดีเซลเพิ่ม กำกับค่าการตลาดผู้ค้าน้ำมันและโรงกลั่น แทนมุ่งแต่ใช้กองทุนฯจนหนี้จะแตะแสนล้านบาทซึ่งสุดท้าย ปชช.ต้องกลับมาจ่ายใช้หนี้ ระยะต่อไปศก.ดีควรช่วยเฉพาะกลุ่มแทนเช่น ขนส่ง ฯลฯ พร้อมเสนอ 4 แนวทางแก้ไขค่าไฟแพง

นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) เห็นชอบให้ใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปช่วยอุดหนุนราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลในประเทศให้อยู่ที่ 29.94 บาท/ลิตร(ไม่เกิน 30 บ./ลิตร)เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2567 และขยายเวลาตรึงราคาก๊าซหุงต้ม(LPG) ครัวเรือนอยู่ที่423 บาท/ถัง 15กิโลกรัม(กก.)สิ้นสุดในวันที่ 31 มี.ค. นี้เช่นกันเรื่องนี้มองว่ารัฐบาลควรจะตรึงราคาทั้งดีเซลและLPG ต่อไปเนื่องจากขณะนี้ภาวะค่าครองชีพของประชาชนในช่วงนี้ยังเป็นปัญหาสำคัญพิจารณาได้จากหนี้ครัวเรือน ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP ที่สูงถึง 91% ซึ่งยังไม่รวมหนี้นอกระบบอีก 20%

อย่างไรก็ตามการช่วยเหลือในการอุดหนุนดีเซลนั้นรัฐควรใช้เครื่องมืออื่นนอกเหนือจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปัจจุบ้น ณ วันที่ 10 มี.ค. 67 มีฐานะสุทธิติดลบถึง 94,883 ล้านบาท ดังนั้นรัฐควรจะมองในเรื่องกลไกของภาษีสรรพสามิตดีเซลที่เพิ่มขึ้นในการมาดูแลอย่างเหมาะสม รวมไปถึงค่าการตลาดซึ่งต้องดูต้นทุนของโรงกลั่นและผู้ค้าน้ำมันอย่างละเอียดและจริงจังเพื่อลดการพึ่งพากองทุนน้ำมันฯเป็นหลัก เช่นเดียวกับ LPG ที่ควรมองโครงสร้างราคาทั้งระบบเพราะเบื้องต้นทราบว่าอุดหนุนทั้งอุตสาหกรรม ครัวเรือน และปิโตรเคมี เพราะหนี้กองทุนน้ำมันฯเงินเหล่านี้สุดท้ายประชาชนก็ต้องย้อนกลับมาจ่ายคืนไม่ใช่ภาครัฐจ่ายเพื่อเก็บเข้าเงินกองทุนน้ำมันฯในช่วงที่ตลาดน้ำมันโลกลดซึ่งก็จะยังทำให้ระดับราคาน้ำมันของไทยยังคงทรงตัวสูงต่อไปอีกระยะจนกว่าจะเก็บเงินคืนกองทุนฯเพื่อคืนหนี้“นายอิศเรศกล่าว

“ ระยะที่เศรษฐกิจพอฟื้นตัว รัฐก็ควรจะมองการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มที่จำเป็นเช่นกลุ่มขนส่งสินค้า ,กลุ่มมอเตอร์ไซด์รับจ้างที่ภาครัฐต้องหากลไกช่วยเหลือกลุ่มนี้เป็นพิเศษมากกว่าตรึงราคาทั้งตลาดเพื่อลดภาระกองทุนน้ำมันฯ”นายอิศเรศ ก็ล่าว
สำหรับอัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ(Ft)ของไทยต้นเหตุที่มีราคาแพงเนื่องจากมีการพึ่งก๊าซธรรมชาติ(NG)ที่ มากเกินไป มายาวนาน โครงสร้างต้นทุนรวม ของ NG ขาดการกำกับที่ดี และ ไม่เป็นตลาดเสรี มายาวนาน ซ้ำร้ายยังขาดการจัดการที่ดีช่วงรอยต่อการเปลี่ยนผู้รับสัมปทานหลุมเอราวัณ ขาดการทำสัญญาระยะยาว (Long Term Contract)การนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG) ทั้งๆที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเคยนำเสนอราคาต่ำจาก มาเลเซีย จนเกิดวิกฤติรัฐเซีย ยูเครน ราคา LNG จึงพุ่งสูง

ทั้งนี้ Ft ข้อเสนอระยะสั้น 1. ภาครัฐ ต้องเร่งส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทดแทนการนำเข้าพลังงานพลังงานฟอสซิลให้มากที่สุดพร้อมส่งเสริมเทคโนโลยี Energy Storage System (ESS) 2. ปริมาณไฟฟ้าที่เกินระบบหรือ over Demand ประมาณ 50 %จึงมีต้นทุนจากการที่ไม่ได้เดินโรงไฟฟ้า เช่น ค่าพร้อมจ่าย(AP) แฝงใน ค่าFt : ปรับสัญญาเดิมให้รัดกุมขึ้น , เพิ่มดีมานด์การใช้ เช่น EV Truck EV Bus ,รวมทั้งการขายไฟฟ้าส่วนเกินให้ประเทศเพื่อนบ้าน

3. กลไกการบริหารทั้งนโยบาย(Policy) การกำกับ และการดำเนินงานหรือ Operators บางส่วน ยังขาดประสิทธิภาพและ ความเป็นมืออาชีพ ที่สำคัญ ควรการตัดสินใจใดๆ ควรยึดผลประโยชน์ ของประเทศ เป็นที่ตั้งรวมทั้ง สรรหาคนเก่งและคนดีมืออาชีพเข้ามาบริหาร หรือ เป็นทีม ที่ปรึกษา ในทุกระดับ 4. ส่งเสริมการประหยัดพลังงาน อย่างจริงจัง (Energy Efficiency)

Powered By : Positioning

advertisement

SPOTLIGHT