การเงิน

เคล็ดลับ นักช้อปต้องรู้! ใช้บัตรเครดิตอย่างไรไม่ให้ “หนี้” บานปลาย

6 ส.ค. 66
เคล็ดลับ นักช้อปต้องรู้!  ใช้บัตรเครดิตอย่างไรไม่ให้ “หนี้” บานปลาย

เปิดเคล็ดลับสำหรับนักช้อป “บัตรเครดิต” ถือเป็นตัวช่วย ที่มาพร้อมความสะดวก คล่องตัว ให้นักช้อปได้รูดก่อน จ่ายทีหลัง พร้อมสิทธิพิเศษมากมาย ไม่ว่าจะเป็นคะแนนสะสม เงินคืน (cashback) และโปรโมชันส่วนลดต่าง ๆ ที่อาจทำให้เราเพลิดเพลินใช้จ่ายเกินตัวได้

SPOTLIGHT มีเคล็ดลับดี ๆ มาฝากนักช้อป หากไม่อยากมีหนี้เกินตัว ทำให้ผ่อนไม่ไหว รวมถึงการผ่อนจ่ายบัตรเครดิต 

8 เคล็ดลับ การใช้บัตรเครดิต ไม่ให้หนี้ “บานปลาย”

    1. เช็กความสามารถในการชำระค่าบัตรเครดิตต่อเดือน 

เป็นสิ่งแรกที่เราต้องคิดก่อนตัดสินใจสมัครบัตรเครดิต ว่าเรามีความพร้อมที่จะชำระบัตรเครดิ9

ด้วยตัวเองหรือไม่ พร้อมนี้เราควรประเมินจากรายได้ และรายจ่ายที่ผ่านมาในอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อที่จะดูว่าหากในอนาคตเรามีเหตุฉุกเฉินซ้ำ ๆ ติดกัน การเงินเราจะเป็นอย่างไรในอนาคต

หากเรามีค่าใช้จ่ายที่ประจำอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็น ค่าผ่อนบ้าน รถ เราต้องคำนวณแล้วว่า หากเรามีบัตรเครดิตอีกใบเราจะสามารถใช้จ่ายได้คุ้มหรือเปล่า ซึ่งเราไม่ควรมีรายจ่ายเหล่านี้เกิน 50% ของรายได้ เช่น หากรายได้ของเราในแต่ละเดือน 40,000 บาท รายจ่ายทั้งหมดรวมค่าบัตรเครดิตของเราก็ไม่ควรเกิด 20,000 นั่นเอง

     2. จำกัดวงเงินที่ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตได้ต่อวัน

การจำกัดวงเงินบัตรเครดิตเพื่อไม่ให้เกิดการใช้จ่ายที่มากเกินกำลังที่จะจ่ายได้ เพื่อไม่ให้ก่อหนี้

บัตรเครดิตมากจนจ่ายบัตรเครดิตไม่ไหว เราควรกำหนดวงเงินบัตรเครดิตไว้เสียแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่จะเจอปัญหาดอกเบี้ยบัตรเครดิตจากการจ่ายขั้นต่ำ หรือจ่ายไม่ไหวนั่นเอง

     3. เลือกบัตรที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิต

โดยเริ่มจากการสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของตัวเอง ว่าที่ผ่านมา เราใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการูปแบบไหน ช่องทางไหน แล้วเลือกบัตรที่ตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ของตัวเองมากที่สุด เช่น หากเป็นคนชอบช้อปปิ้ง ควรเลือกบัตรที่ให้สิทธิพิเศษได้เครดิตเงินคืน (Cash Back) เป็นต้น

     4. เช็กค่าธรรมเนียมรายปีและดอกเบี้ยบัตรเครดิต

ควรตรวจสอบข้อมูลค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตของแต่ละแบรนด์ หรือบัตรที่เราสนใจอยากสมัครมาเปรียบเทียบกัน  ทั้งค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร เช่น เลือกเปิดบัตรเครดิตกับธนาคารที่ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้า หรือเลือกเปิดบัตรเครดิตกับธนาคารที่กำหนดยอดค่าใช้จ่ายสะสมต่อปีไม่มาก เมื่อเราใช้จ่ายให้ครบตามจำนวนขั้นต่ำที่กำหนดไว้ก็จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปี

     5. เช็กสิทธิประโยชน์ก่อนนำบัตรเครดิตไปรูดเสมอ

เช็กสิทธิพิเศษของบัตรเครดิตก่อนการใช้จ่าย เพื่อเพิ่มความคุ้มค่าให้กับการใช้บัครเครดิตของเรา และจะได้ไม่พลาดสิทธิประโยชน์จากบัตร โดยปกติบัตรเครดิตจะมีสิทธิพิเศษต่าง ๆ ดังนี้

  • คะแนนสะสม หรือการสะสมแต้มเพื่อแลกของรางวัลหรือส่วนลด โดยปกติบัตรเครดิตจะมีคะแนนจากยอดใช้จ่าย แต่ถ้ามีโปรโมชั่นอาจจะได้คะแนน x2  ในร้านค้าที่ร่วมรายการ
  • ส่วนลดพิเศษจากร้านค้า โดยเฉพาะบัตรเครดิตที่ร่วมกับห้างสรรพสินค้า มักจะมีส่วนลดจากการใช้จ่ายในร้านค้าของห้างสรรพสินค้านั้น ๆ
  • เครดิตเงินคืน (Cash Back) บัตรเครดิตจะมีสิทธิพิเศษรับเครติดเงินคืน (%) จากการใช้จ่ายตามกำหนด
  • การร่วมโปรโมชั่นผ่อนชำระสินค้าดอกเบี้ย 0%
  • สิทธิพิเศษอื่น ๆ ตามกำหนด เช่น ที่จอดรถ การใช้บริการรถรับส่งสนามบิน การสะสมแต้มแลกไมล์แลกของรางวัลพิเศษต่าง ๆ เป็นต้น  

     6. จ่ายบัตรเครดิตให้ตรงเวลา ไม่จ่ายขั้นต่ำ

สิ่งสำคัญอีกข้อ คือ การหลีกเลี่ยงการจ่ายขั้นต่ำ เพราะดอกเบี้ยจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ การรูดบัตรเครดิตเป็นการใช้จ่ายแทนการถือเงินสด หากพูดให้เห็นภาพมากขึ้นก็เป็นการนำเงินในอนาคตมาใช้ก่อน ฉะนั้น เมื่อบิลบัตรเครดิตมาแล้ว ก็ควรจ่ายให้ตรงเวลาและเต็มจำนวน เพื่อหลีกเลี่ยงดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ 

     7. ไม่ควรกดเงินสดจากบัตรเครดิต

เพราะบัตรเครติด คือ สินเชื่อประเภทหนึ่งและสามารถใช้กดเงินสดมาใช้ได้ แต่ดอกเบี้ยในการกดเงินสูงกว่าสินเชื่อส่วนบุคคล หรือบัตรกดเงินสด เพราะฉะนั้น จะต้องศึกษาอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขก่อนการใช้งาน 

หากมีความจำเป็นต้องการเงินสดจริง ๆ แนะนำ สมัครบัตรกดเงินสดเพื่อตอบโจทย์เรื่องนี้ ถึงแม้อัตราดอกเบี้ยของบัตรกดเงินสดอาจดูสูงกว่าการกดเงินสดจากบัตรเครดิต แต่เพราะไม่มีค่าธรรมเนียมในการเบิกถอนเงิน และ Vat 7% หากนำมาคำนวณแล้ว การกดเงินจากบัตรกดเงินสดมีความคุ้มค่ากว่าการใช้เงินสดจากบัตรเครดิต

     8. หากจำเป็นต้องซื้อสินค้าชิ้นใหญ่ ก็ควรเลือกผ่อนจ่ายในอัตราดอกเบี้ย 0% จะได้ไม่ต้องรับภาระดอกเบี้ยก้อนโต 

ข้อควรรู้! ก่อนรูดบัตรเครดิตผ่อนจ่ายด้วยอัตราดอกเบี้ย 0%

  1. ระยะเวลาชำระคืน หมายถึง ช่วงเวลาปลอดดอกเบี้ย เช่น บัตรเครดิตมีกำหนดระยะเวลา 50 วัน นับจากวันแรกของรอบบัญชีไปจนถึงวันกำหนดชำระเงินหากชำระเต็มจำนวนตามวันครบกำหนด
  2. ระยะเวลาของดอกเบี้ย 0% สามารถผ่อนจ่ายแบบไร้ดอกเบี้ยได้ภายในระยะเวลาเท่าไหร่ 
  3. อัตราดอกเบี้ยต่อปี หรือที่เรียกว่า เบี้ยปรับ เมื่อมีการจ่ายขั้นต่ำหรือผิดกำหนดชำระ โดยอัตราดอกเบี้ยต่อปีคือส่วนสำคัญที่จะนำมาใช้คำนวณยอดหนี้ทั้งหมดที่ต้องจ่ายตามสูตรคำนวณดอกเบี้ย

สูตรคำนวณดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย = (จำนวนเงินที่รูดบัตร x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x จำนวนวัน) / 365

อย่างไรก็ตาม การมีบัตรเครดิตไว้เพื่อการใช้งานที่หลากหลาย เป็นข้อดีของความสะดวกสบายและความคุ้มค่าตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของการใช้จ่ายที่แตกต่าง

แต่เราจะต้องมีการจัดสรรการใช้บัตรให้ลงตัวเพื่อคงสภาพคล่องและสุขภาพทางการเงินที่ดี รวมถึง การจัดลำดับความสำคัญก่อนตัดสินใจที่จะใช้บัตรจะช่วยเพิ่มความคุ้มค่าในการจ่ายด้วยบัตรเครดิตมากขึ้น เพื่อลดภาระดอกเบี้ย และเลี่ยงการใช้จ่ายเกินตัว เหล่านี้จะช่วยรักษาสถานะทางการเงินที่ดีเมื่อมีบัตรเครดิต และใช้จ่ายในยามจำเป็นมากกว่าในยามต้องการ

 

ที่มา :  fintips by ttb กรุงศรี

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT