อินไซต์เศรษฐกิจ

ชื่อพรรคการเมือง ใน 'เลือกตั้ง 2566' ใช้คำไหนมากที่สุด?

23 เม.ย. 66
ชื่อพรรคการเมือง ใน 'เลือกตั้ง 2566' ใช้คำไหนมากที่สุด?

เลือกตั้ง 2566 มีพรรคการเมืองไทยร่วมลงแข่งขันในศึกนี้รวม 67 พรรค ประชาชนคนไทยในช่วงนี้คงมีโอกาสเห็นกับโฉมหน้าของผู้สมัคร นโยบายพรรค รวมถึงหมายเลขของผู้สมัครแต่ละคนไปแล้ว ทั้งจากป้ายหาเสียง และตามหน้าสื่อต่างๆ

 

แต่หนึ่งสิ่งในสิ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือ ‘ชื่อพรรค’ ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงจุดยืน อุดมการณ์ รวมถึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือการทำ ‘แบรนดิ้ง’ ของพรรคการเมืองอีกด้วย

 

 

พรรค เลือกตั้ง 2566



พรรคการเมืองนิยมใช้คำไหนในชื่อ?

 

 

ชื่อพรรคการเมืองแต่ละพรรค มีคีย์เวิร์ดสำคัญอะไรอยู่ในนั้นบ้าง? SPOTLIGHT นำสถิติ ‘คำยอดฮิตที่มักถูกหยิบไปใช้ตั้งชื่อพรรคการเมือง’ จากต้นฉบับที่ถูกเผยแพร่โดย คุณ ศักดิ์สิทธิ์ ไสยสมบัติ ผู้สื่อข่าวชาวไทยจากสำนักข่าว CNA สิงคโปร์ พบว่ามีสถิติที่น่าสนใจ ดังนี้

 

สถิติชื่อพรรคที่มีคำเหล่านี้อยู่ในชื่อ

 

  • ‘ไทย’ 27 พรรค

  • ‘พลัง’ 11 พรรค

  • ‘ชาติ’ 9 พรรค

  • ‘รวม’ 7 พรรค

  • ‘ใหม่’ 7 พรรค

  • ‘เพื่อ’ 6 พรรค

  • ‘ประชา’ 6 พรรค

  • ‘ธรรม’ 4 พรรค

  • ‘สร้าง’ 3 พรรค

  • ‘อนาคต’ 2 พรรค

  • ‘พัฒนา’ 2 พรรค

  • ‘ใจ’ 2 พรรค

  • ‘แผ่นดิน’ 2 พรรค

 


อ้างอิงข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2566
 

 

เลือกตั้ง 2566 ชื่อพรรค

 

รายชื่อพรรคการเมือง เลือกตั้ง 2566

 

รายชื่อพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งปี 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 67 พรรค ดังนี้

 

  1. พรรคใหม่

  2. พรรคประชาธิปไตยใหม่

  3. พรรคเป็นธรรม

  4. พรรคท้องที่ไทย

  5. พรรคพลังสังคมใหม่

  6. พรรคครูไทยเพื่อประชาชน

  7. พรรคภูมิใจไทย

  8. พรรคแรงงานสร้างชาติ

  9. พรรคพลัง

  10. พรรคอนาคตไทย
     
  11. พรรคประชาชาติ
     
  12. พรรคไทยรวมไทย
     
  13. พรรคไทยชนะ
     
  14. พรรคชาติพัฒนากล้า
     
  15. พรรคกรีน
     
  16. พรรคพลังสยาม
     
  17. พรรคเสมอภาค
     
  18. พรรคชาติไทยพัฒนา
     
  19. พรรคภาคีเครือข่ายไทย
     
  20. พรรคเปลี่ยน
     
  21. พรรคไทยภักดี
     
  22. พรรครวมไทยสร้างชาติ
     
  23. พรรครวมใจไทย
     
  24. พรรคเพื่อชาติ
     
  25. พรรคเสรีรวมไทย
     
  26. พรรคประชาธิปัตย์
     
  27. พรรคพลังธรรมใหม่
     
  28. พรรคไทยพร้อม
     
  29. พรรคเพื่อไทย
     
  30. พรรคทางเลือกใหม่
     
  31. พรรคก้าวไกล
     
  32. พรรคไทยสร้างไทย
     
  33. พรรคไทยเป็นหนึ่ง
     
  34. พรรคแผ่นดินธรรม
     
  35. พรรครวมพลัง
     
  36. 36 พรรคเพื่อชาติไทย
     
  37. พรรคพลังประชารัฐ
     
  38. พรรคเพื่อไทรวมพลัง
     
  39. พรรคมิติใหม่
     
  40. พรรคประชาภิวัฒน์
     
  41. พรรคไทยธรรม
     
  42. พรรคไทยศรีวิไลย์
     
  43. พรรคพลังสหกรณ์
     
  44. พรรคราษฎร์วิถี
     
  45. พรรคแนวทางใหม่
     
  46. พรรคถิ่นกาขาวชาววิไล
     
  47. พรรครวมแผ่นดิน
     
  48. พรรคเพื่ออนาคตไทย
     
  49. พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย
     
  50. พรรคพลังปวงชนไทย
     
  51. พรรคสามัญชน
     
  52. พรรคชาติรุ่งเรือง
     
  53. พรรคพลังสังคม
     
  54. พรรคภราดรภาพ
     
  55. พรรคไทยก้าวหน้า
     
  56. พรรคประชาไทย
     
  57. พรรคพลังเพื่อไทย
     
  58. พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย
     
  59. พรรคช่วยชาติ

  60. พรรคความหวังใหม่

  61. พรรคคลองไทย
     
  62. พรรคพลังไทยรักชาติ
     
  63. พรรคประชากรไทย
     
  64. พรรคเส้นด้าย
     
  65. พรรคเปลี่ยนอนาคต
     
  66. พรรคพลังประชาธิปไตย
     
  67. พรรคไทยสมาร์ท



ชื่อพรรคสะท้อนอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างไร?



ชื่อพรรคการเมืองไทย แม้มองผิวเผินจะดูคล้ายกัน แต่เบื้องลึกเบื้องมีความผูกโยงกับประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทยที่มีมาอย่างยาวนานเกือบศตวรรษ “ศาสตราภิชาน แล ดิลกวิทยรัตน์” อาจารย์และนักวิชาการจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เล่าให้ Spotlight ฟังว่า จากสถิติข้างต้นเกี่ยวกับชื่อพรรคการเมืองไทย อาจแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่
 


เสรีนิยม : พรรคการเมืองที่มุ่งโฟกัสที่ประชาชน หรือกลุ่มคนส่วนมาก เช่น กลุ่มคนเปราะบาง เกษตรกร แรงงาน ฯลฯ


ตัวอย่างคำที่นิยมใช้ในชื่อพรรค : พลัง, รวม, ประชา

 

รัฐนิยม : พรรคการเมืองที่มุ่งโฟกัสที่ความเป็นรัฐ ความรักในประเทศชาติ

ตัวอย่างคำที่นิยมใช้ในชื่อพรรค : ไทย, ชาติ, รัฐ, แผ่นดิน
 
 
อย่างไรก็ดี นี่เป็นเพียงการสังเกตจากชื่อพรรคเท่านั้น ในความเป็นจริง อาจมีพรรคการเมืองที่ชื่อพรรค กับอุดมการณ์มิได้เป็นไปตามข้างต้น เช่น ‘พรรคเพื่อไทย’ ซึ่งจากชื่อควรเป็นพรรคในกลุ่มรัฐนิยม แต่จุดยืนของพรรคจริงๆ แล้วค่อนไปทางเสรีนิยม เจาะกลุ่มรากหญ้ามากกว่า หรือ ‘พรรคพลังประชารัฐ’ ก็เป็นการหยิบคำจากทั้งสองฝั่งมาตั้งชื่อพรรค โดยมีจุดยืนทางการเมืองค่อนไปทางเสรีนิยม และมีฐานเสียงเป็นคนรากหญ้าเช่นเดียวกับพรรคเพื่อไทย

 

 

คณะราษฎร

 

ชื่อพรรคการเมืองแรกของไทย ที่ไม่มีคำว่า ‘พรรค’

 

 
สำหรับพรรคการเมืองแรกที่ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทย แม้ไม่ได้มีการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการนั้น อาจถือได้ว่า ‘คณะราษฎร’ หรือ สมาคมคณะราษฎร หรือต่อมาใช้ว่า สโมสรราษฎร์สราญรมย์ นั้น เป็นพรรคการเมืองแรกของไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2469 โดยคณะผู้ก่อการรวม 7 คน ได้แก่

  1. ร้อยโท แปลก ขีตตะสังคะ นักเรียนวิชาทหารปืนใหญ่ ประเทศฝรั่งเศส

  2. ปรีดี พนมยงค์ นักเรียนวิชากฎหมาย ประเทศฝรั่งเศส

  3. ร้อยโท ประยูร ภมรมนตรี นักเรียนวิชารัฐศาสตร์ ประเทศฝรั่งเศส

  4. ร้อยตรี ทัศนัย มิตรภักดี นักเรียนวิชาทหารม้า ประเทศฝรั่งเศส

  5. ตั้ว ลพานุกรม นักเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

  6. จรูญ สิงหเสนี ผู้ช่วยราชการสถานทูตสยามในประเทศฝรั่งเศส
     
  7. แนบ พหลโยธิน นักเรียนวิชากฎหมาย ประเทศอังกฤษ




ก่อนพรรคการเมืองพรรคแรกของไทยนี้ จะเป็นกลุ่มบุคคลที่ดำเนินการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศสยาม จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ก่อนจะวิวัฒน์เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในเวลาต่อมา ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นเส้นทางการเมืองของไทยที่ดำเนินมาแล้วกว่า 91 ปี

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT