ใกล้เข้ามาทุกทีแล้วสำหรับการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทยรอบที่ 2 ในวันที่ 19 ก.ค. หลังจาก “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” หัวหน้าพรรคก้าวไกลที่ได้คะแนนเสียงอันดับ 1 ในการเลือกตั้ง ไม่ผ่านการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีได้ในวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา เพราะคะแนนเสียงไม่ถึง 375 เสียง เนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกวุฒิสภา
จนถึงตอนนี้ หนทางการเป็นนายกรัฐมนตรีของพิธาก็ยังไม่แน่นอน เพราะนอกจากจะมีปัญหาเรื่องคะแนนเสียงในสภาแล้ว ยังเสี่ยงถูกตัดสิทธิ์หากมีคำวินิจฉัยจากศาสรัฐธรรมนูญ ทั้งกรณีสถานะ ส.ส. ของพิธา และ กรณีการใช้นโยบายการแก้ไข ม.112 ในการหาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งเสี่ยงทั้งตัวคุณพิธา และ พรรคก้าวไกลด้วย
นี่จึงทำให้ มีการคาดการณ์ว่า สุดท้ายแล้วหนึ่งในแคนดิเดตจากพรรค “เพื่อไทย” พรรคที่ได้คะแนนเสียงสูงสุดเป็นอันดับ 2 คือ “เศรษฐา ทวีสิน” และ “อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร ชินวัตร” อาจจะเป็นผู้ที่ได้ตำแหน่งนี้ไปก็เป็นได้ เพราะมีข้อได้เปรียบสำคัญคือ “ไม่มีการเสนอแก้มาตรา 112” ซึ่งเป็นประเด็นที่ ส.ส. พรรคตรงข้ามและ ส.ว. หลายท่านนำมาอภิปรายโจมตีหัวหน้าพรรคก้าวไกลอย่างหนัก และใช้เป็นข้ออ้างหลักเพื่อไม่สนับสนุนพรรคก้าวไกลในวันที่ 13 ก.ค. ที่ผ่านมา
ล่าสุด เมื่อวานนี้ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ได้ออกมาแถลงหลังมีการประชุมหารือแล้วว่าในวันที่ 19 ก.ค. นี้ 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลยังคงเสนอชื่อของตนเป็นนายกรัฐมนตรี แต่หากโหวตรอบนี้คะแนนไม่ได้เพิ่มอย่างมีนัยสำคัญ หรือเพิ่มร้อยละ 10 คือ 344 เสียง ก็พร้อมที่จะถอยให้พรรคอันดับ 2 ที่อยู่ใน MOU ขึ้นมาเป็นผู้นำ
ก่อนที่จะถึงการโหวตนายกฯ ครั้งประวัติศาสตร์ในวันพรุ่งนี้ ทีม SPOTLIGHT จึงอยากชวนทุกคนมาดูกันชัดๆ อีกครั้ง ว่าหากเราได้แคนดิเดตจากพรรคใดพรรคหนึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี เราประชาชนคนไทยจะคาดหวังนโยบายแบบไหนจากทั้ง 2 พรรคได้บ้าง
มาเริ่มกันที่พรรคพรรคอันดับ 2 “เพื่อไทย” จากแถลงนโยบายด้านเศรษฐกิจในเว็บไซต์ของพรรค หลักการที่เป็นหัวใจในการบริหารประเทศของพรรคเพื่อไทย คือ “เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ขยายโอกาส” โดยมีเป้าหมายจะทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ GDP เติบโตเฉลี่ยอย่างต่ำปีละ 5% ผ่านนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจในระดับมหภาคหลักๆ หลายนโยบายด้วยกัน เช่น
นอกจากนี้ พรรคเพื่อไทยยังมีนโยบายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในด้านอื่นๆ อีก เช่น
หันมามองด้านพรรคที่ได้คะแนนเสียงอันดับ 1 อย่างพรรค “ก้าวไกล” ถึงแม้ทั้ง 2 พรรคมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกระดับเหมือนกัน พรรคก้าวไกลให้ความสำคัญกว่าในเรื่อง “ความเป็นธรรม” และการ “ทำลายทุนผูกขาด” เพื่อทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างเท่าถึงเท่าเทียมในทุกระดับ เพราะมองว่าปัญหานี้เป็นปัญหาหลักที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ และรายได้กระจายไปไม่ถึงผู้ผลิตและผู้ดำเนินธุรกิจรายเล็ก
นี่ทำให้ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของพรรคก้าวไกลเน้นไปที่การเติบโตอย่างเป็นธรรม (Inclusive Growth) โดยชูนโยบาย “เศรษฐกิจโตเพื่อทุกคน” ด้วยการทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างทั่วถึง โดยมี 3 เป้าหมายหลักคือ
นโยบายด้านเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทยแบ่งเป็น 11 ด้าน รวม 71 นโยบาย และมีนโยบายที่โดดเด่นดังนี้
โดยจะเห็นได้ว่า ในขณะที่พรรคเพื่อไทยมีนโยบายในการขยายเศรษฐกิจอย่างเต็มสูบ และเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประชาชนอย่างทั่วถึงเพื่อเข้าไปแข่งขันในตลาดเสรี โดยไม่เข้าไปแทรกแซงกับการทำธุรกิจของกลุ่มทุนใหญ่หรือทุนผูกขาด พรรคก้าวไกลมุ่งเน้นช่วยเหลือรายเล็กและจำกัดอำนาจของกลุ่มทุนใหญ่เป็นสำคัญ
แต่ถึงแม้แคนดิเดตจากพรรคใดจะได้เป็นหัวหน้ารัฐบาลก็ตาม เป้าหมายร่วมกันของทั้งสองพรรคก็คือการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยอย่างทั่งถึง และเมื่อร่วมรัฐบาลกันแล้วก็จะมีการพูดคุยเพื่อนำนโยบายเหล่านี้มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศในขณะนั้นอีก
นี่ทำให้สิ่งสำคัญในขณะนี้อาจจะไม่ใช่ว่าใครจะได้เป็นหัวหน้ารัฐบาล แต่เป็นการทำอย่างไรจึงจะสามารถตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้โดยเร็ว เพราะสิ่งหนึ่งที่ทำร้ายโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยก็คือความล่าช้า และความไม่มีเสถียรภาพของการเมือง ที่จะทำให้เกิด gridlock ที่ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถก้าวไปทางไหนได้เลย