ข่าวเศรษฐกิจ

หลายชาติแก้เกมน้ำมันแพง!ทยอยปล่อยน้ำมันสำรอง

22 พ.ย. 64
หลายชาติแก้เกมน้ำมันแพง!ทยอยปล่อยน้ำมันสำรอง

รัฐบาลญี่ปุ่น เป็นประเทศล่าสุดที่สำนักข่าวรอยเตอร์รายงาน โดยอ้างแหล่งข่าวว่า รัฐบาลญี่ปุ่นอยู่ระหว่างการพิจารณาเรื่องระบายน้ำมันส่วนที่เกินมาจากขีดจำกัดขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยกฎหมายของญี่ปุ่นบัญญัติให้รัฐบาลสามารถระบายน้ำมันจากคลังสำรองได้ในกรณีที่เกิดภาวะขาดแคลนหรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ แต่ไม่ได้เอ่ยถึงการดำเนินการเพื่อรับมือกับราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น

 .

 

แหล่งข่าวยังระบุด้วยว่า รัฐบาลญี่ปุ่นไม่มีทางเลือกนอกจากลงมือทำบางสิ่งบางอย่างหลังสหรัฐเรียกร้องโดยญี่ปุ่นไม่เคยระบายน้ำมันออกจากคลังสำรองของประเทศมาก่อน ขณะที่บริษัทน้ำมันต่าง ๆ เคยดำเนินการเช่นนั้นในช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซียเมื่อปี 2534 และหลังเกิดหายนะภัยแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิในปี 2554

ส่วนทางจีนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คณะกรรมการกำกับดูแลด้านอาหารและน้ำมันสำรองทางยุทธศาสตร์ของจีน ระบุกำลังพิจารณาเรื่องการระบายน้ำมันออกจากคลังสำรอง โดยคณะกรรมการจะเปิดเผยรายละเอียดดังกล่าวบนเว็บไซต์

.

ก่อนหน้านี้ คณะบริหารของประธานาธิบดีโจไบเดนได้เรียกร้องให้ประเทศที่ใช้น้ำมันรายใหญ่ของโลกบางแห่ง ซึ่งรวมถึงจีนและอินเดีย พิจารณาเรื่องการระบายน้ำมันจากคลังสำรองเชิงยุทธศาสตร์ หลังกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส ปฏิเสธข้อเรียกร้องของสหรัฐที่ต้องการให้โอเปกพลัสเพิ่มการผลิตน้ำมันมากกว่า 400,000 บาร์เรล/

.

สหรัฐมีน้ำมันดิบอยู่ในคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ (SPR) มากที่สุดในโลกถึง 727 ล้านบาร์เรล ขณะที่จีนมีน้ำมันสำรองอยู่ประมาณ 200 ล้านบาร์เรล ซึ่งหากทั้งสองประเทศระบายน้ำมันออกจากคลังสำรองก็จะส่งผลกระทบอย่างหนักต่อราคาน้ำมันในตลาดโลก

.

ขณะที่บทวิเคราะห์ทิศทางราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้ของทางไทยออยล์ ระบุว่าปัจจัยที่กดดันให้ราคาน้ำมันลดลงในช่วงนี้คือ

  • ตลาดกังวลการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ในยุโรปจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมัน โดยล่าสุดออสเตรียเป็นประเทศแรกในยุโรปที่มีการใช้มาตรการปิดเมืองเป็นระยะเวลากว่า 10 วันนับตั้งแต่วันที่ 22 พ.ย. เป็นต้นไป ขณะที่เยอรมันก าลังประเมินสถานการณ์และหากสถานการณ์ทวีความรุนแรงมากขึ้นอาจจะมีการใช้มาตรการปิดเมืองเช่นกัน
  • กลุ่มประเทศผู้ใช้น้ำมันหลักอาทิเช่น จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ กำลังพิจารณาคำขอของสหรัฐฯ ในการระบายนน้ำมันออกจากคลังส ารองทางยุทธศาสตร์ (SPR) เพื่อลดราคาของพลังงานทั่วโลก โดยล่าสุดจีนและญี่ปุ่นเผยมีแนวโน้มจะปล่อยนน้ำมันดิบออกจากคลังสำรอง

 

ส่วนปัจจัยหนุนให้ราคาน้ำมันปรับขึ้นคือ

+ Goldman Sachs คงคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ว่าจะทรงตัวอยู่ในระดับ 85 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล

ในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ แม้ว่าราคาจะปรับลดลงอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดน้ำมันดิบ ยังคงอยู่ใน

ภาวะขาดดุล และการปล่อยน้ำมันดิบจากคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ของหลายประเทศ รวมถึงความกังวลต่อการ

แพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบเพียงระยะสั้นเท่านั้น

 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT