ธุรกิจการตลาด

ศาลล้มละลายสั่งยกเลิกฟื้นฟูกิจการ “สินมั่นคงประกันภัย” 

16 ธ.ค. 66
ศาลล้มละลายสั่งยกเลิกฟื้นฟูกิจการ  “สินมั่นคงประกันภัย” 

 

ศาลล้มละลายกลาง มีคำสั่งเมื่อ 15 ธ.ค.66 ให้มีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัท สินมั่นคง ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ตามมาตรา 90/48 วรรคสี่แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483

screenshot2566-12-16at14.

ดังนั้น อำนาจหน้าที่ในการจัดกิจกรรมและทรัพย์สินของลูกหนี้กลับเป็นของผู้บริหารของลูกหนี้ และสภาวะพักการชำระหนี้ (Autoamtic Stay) สิ้นสุดลง มาตรา 90/74 และ 90/12 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483

ล่าสุด เว็บไซต์ สินมั่นคงประกันภับ ประกาศหยุดรับประกันภัย ระบุว่า บริษัทมีความจำเป็นต้องหยุดรับประกันวินาศภัยทุกประเภททันที

ด้านสินมั่นคงประกันภัย ได้เปิดเผยถึงความคืบหน้าในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ ไว้ในเว็บไซต์ ระบุว่า 

เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดการประชุมเจ้าหนี้ เพื่อพิจารณาแผนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2566 

เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แจ้งผลการนับคะแนนว่า แผนไม่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้  

ผู้ทำแผนได้ยื่นคำร้องคัดค้านการนับคะแนนการลงมติของเจ้าหนี้ต่อศาลล้มละลายกลาง

ศาลฯ มีคำสั่งว่า เพื่อให้กระบวนการฟื้นฟูกิจการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย และคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายในคดี 

รวมทั้ง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้รับผิดชอบในการบันทึกผลการลงมติล่วงหน้าไม่คัดค้าน 

จึงเห็นควรให้ลูกหนี้ผู้ทำแผน และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร่วมกันตรวจสอบกระบวนการ ขั้นตอนที่เกี่ยวข้องในการลงมติล่วงหน้าของเจ้าหนี้ การบันทึกผลคะแนน ระบบการประมวลผลและกระบวนการที่เกี่ยวข้อง 

โดยในการตรวจสอบดังกล่าว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถกำหนดรายละเอียดให้ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ ไม่ว่าจะเป็น สำนักงาน คปภ. เจ้าหนี้ทั้งที่ลงมติเห็นชอบและไม่เห็นชอบกับแผน ได้ทราบเกี่ยวกับรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงาน หรือสังเกตการณ์ได้ตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนด

โดยเจ้าหนี้รายหนึ่งได้ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลาง เพื่อขอคัดค้านการลงมติล่วงหน้าทางอีเมล เนื่องจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีการเพิ่มเติมวิธีการส่งคำร้องลงมติล่วงหน้าที่นอกเหนือไปจากประกาศของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฉบับที่ส่งแจ้งเจ้าหนี้ 

โดยไม่พบว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีการประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถึงเจ้าหนี้และลงประกาศอย่างเป็นทางการ  

ต่อมา ผู้ทำแผนและเจ้าหนี้อีกรายหนึ่งได้ยื่นคำร้องคัดค้านการประชุมเจ้าหนี้และการลงมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ทางอีเมลด้วยเช่นกัน โดยศาลกำหนดนัดฟังคำสั่งคำร้องทั้งสามฉบับในวันที่ 15 ธันวาคม 2566 

screenshot2566-12-16at14._1

เมื่อวันที่ 17พฤษภาคม 2565 บริษัทสินมั่นคงประกันภัย จำกัด(มหาชน)หรือ SMK ได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง เนื่องจากบมจ.สินมั่นคง(SMK) มียอดคงค้างจ่ายสินไหมประกันภัยโควิด-19 ประมาณ 30,000ล้านบาท จำนวนผู้ยื่นเคลมประมาณ 350,000ล้านบาท หลังบริษัททยอยจ่ายเคลมสินไหมไปแล้วจำนวน 11,875ล้านบาท จากมูลหนี้รวมทั้งสิ้นกว่า 41,875ล้านบาท และศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการไว้พิจารณาใน 18 พฤษภาคม 2565

ผลประกอบการ บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด

  • 9 เดือนแรกของปี 2566  บริษัทมีเบี้ยประกันภัยรับ 3,907.20 ล้านบาท มีรายได้รวม 4,399 ล้านบาท มีกำไรสุทธิจำนวน 555.90 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวม 6,731.42 ล้านบาท มีหนี้สินรวม 36,663.10 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ -29,931.68 ล้านบาท 
  • ปึ 2565 มีรายได้รวม 8,240 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 32,759 ล้านบาท หนี้สินรวม 8,239.29 ล้านบาท 
  • ปี 2564 มีรายได้รวม 11,718.01 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 4,753.81 ล้านบาท หนี้สินรวม 9,521.70 ล้านบาท 

ผู้ถือหุ้น ใหญ่ 10 อันดับแรก บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) 

  1. บริษัท ดุษฎีสุรพจน์ โฮลดิ้ง จำกัด     ถือหุ้น 50,037,760 หุ้น  หรือ 25.02%
  2. MINDO ASIA INVESTMENTS LIMITED ถือหุ้น 21,750,000 หุ้น  หรือ 10.88%
  3. EUROCLEAR NOMINEES LIMITED     ถือหุ้น 21,749,990 หุ้น  หรือ 10.88%
  4. นาง ศิวะพร ดุษฎีสุรพจน์ ถือหุ้น 17,166,365 หุ้น  หรือ   8.58%
  5. นาย เรืองวิทย์ ดุษฎีสุรพจน์     ถือหุ้น 14,976,578 หุ้น  หรือ   7.49%
  6. นาย เรืองเดช ดุษฎีสุรพจน์    ถือหุ้น 14,885,810 หุ้น  หรือ   7.44%
  7. นาง วิจิตรา ดุษฎีสุรพจน์ ถือหุ้น   8,631,426 หุ้น  หรือ   4.32%
  8. นาง อัญชุลี คุณวิบูลย์     ถือหุ้น   8,621,810 หุ้น  หรือ   4.31%
  9. นาง สุวิมล ชยวรประภา ถือหุ้น   8,316,549 หุ้น  หรือ   4.16%
  10. นาย ประดิษฐ รอดลอยทุกข์ ถือหุ้น   4,263,710 หุ้น  หรือ   2.13%

 

advertisement

SPOTLIGHT