ธุรกิจการตลาด

ส่องเทรนด์ผู้บริโภคอาเซียนเหตุใดยังต้องการซื้อบ้าน ท่ามกลางความเสี่ยง?

26 ต.ค. 66
ส่องเทรนด์ผู้บริโภคอาเซียนเหตุใดยังต้องการซื้อบ้าน ท่ามกลางความเสี่ยง?

 

ที่อยู่อาศัยก็ยังเป็นปัจจัยสี่ของทุกคน ที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง หรือยังถือเป็นสินทรัพย์ที่นับวันจะทวีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ราคาที่ดินมีแต่จะปรับเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ทำให้อสังหาริมทรัพย์ แม้อสังริมหาทรัพย์จะเป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูง แต่สามารถโอกาสต่อยอดลงทุนได้ในระยะยาว

โดยเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงจากการชะลอตัว ความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ส่งผลให้หลายประเทศในภูมิภาคอาเซียนต้องปรับดอกเบี้ยนโยบายเพื่อผ่อนคลายผลกระทบจากสถานการณ์เศรษฐกิจ  โดยข้อมูลจาก รายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย ฉบับเดือนกันยายน 2566 ของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) คาดว่า เศรษฐกิจกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกในปี 2566 จะเติบโตที่ 4.7% ซึ่งปรับลดลงจากเดิม 4.8% ที่เคยคาดการณ์ไว้เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา 

เศรษฐกิจไทยจะเติบโตที่ 3.5% โดยมีปัจจัยบวกมาจากการบริโภคภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ เหลือ 1.0% , มาเลเซีย เหลือ 4.5% และเวียดนามเหลือ  5.8% ที่จากความท้าทายทั้งในและนอกประเทศรุมล้อมอยู่ ซึ่งล้วนจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อกำลังซื้อและความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศนั้น ๆ รวมถึง การเติบโตของภาคอสังหาริมทรัพย์ซึ่งต้องอาศัยการเติบโตทางเศรษฐกิจช่วยขับเคลื่อนเช่นกัน

เหตุผลที่คนในอาเซียนยังอยากมีบ้าน

ชาวสิงคโปร์​ชะลอซื้อบ้านก่อน หากขึ้นค่าเช่าจะหันมาซื้อบ้าน

โดยชาวสิงคโปร์มากกว่าครึ่ง หรือ 51% ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยมองว่า การจะมีบ้านหลังแรกเป็นของตัวเองมีความยาก โดยมาจากกลุ่มโสดและคู่สมรสที่มีบุตร แต่เหตุผลที่ตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย โดยมากกว่า 2 ใน 3 หรือ 71% ให้ความสำคัญกับขนาดที่อยู่อาศัยมากที่สุด ซึ่งมีความท้าทายจากอัตราเงินเฟ้อที่สูง ทำให้ค่าครองชีพอยู่ในระดับสูง และราคาอสังหาริมทรัพย์ที่สูง ซึ่งมากกว่าครึ่ง

โดยชาวสิงคโปร์ จะชะลอแผนซื้อที่อยู่อาศัยออกไปก่อนจนกว่าสถานการณ์เงินเฟ้อจะดีขึ้น ขณะที่ผู้เช่าส่วนใหญ่จะวางแผนจะเช่าต่ออีกไม่เกิน 2 ปีและจะซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง แต่หากเผชิญสถานการณ์ที่โครงการขึ้นค่าเช่า ซึ่งผู้เช่าเกือบครึ่งจะเลือกมองหาโครงการอื่นที่มีค่าเช่าถูกกว่าแทน และมีแผนลดการใช้จ่ายอื่น ๆ เพื่อนำมาจ่ายค่าเช่าที่สูงขึ้นนี้

มาเลเซียซื้อบ้านเพื่อเป็นการลงทุน

ชาวมาเลเซียมีแผนซื้อที่อยู่อาศัยในอีก 1 ปีข้างหน้า ส่วนใหญ่เน้นไปที่การลงทุนในสินทรัพย์เป็นหลัก ตามด้วยการซื้อเพื่อลงทุนหารายได้จากค่าเช่า โดยราคาขายเฉลี่ยต่อพื้นที่ใช้สอยถือเป็นปัจจัยภายในที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัยมากที่สุด 

ในปัจจุบันมีผู้ที่วางแผนซื้อที่อยู่อาศัยเพียง 27% เท่านั้นที่มีเงินออมเพียงพอที่จะซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง มากกว่าครึ่งมีการเก็บเงินได้เพียงครึ่งทางเท่านั้น ส่วนอีก 18% ยังไม่ได้เริ่มแผนเก็บเงินใด ๆ

สำหรับความสามารถในการใช้จ่ายยังคงเป็นความท้าทายของคนหาบ้านของชาวมาเลเซียส่วนใหญ่ เนื่องจากหน้าที่การงานที่ไม่มั่นคง และรายได้ที่ไม่แน่นอนถือเป็นอุปสรรคสำคัญในการขอสินเชื่ออสังหาฯ และชาวมาเลเซียส่วนหนึ่งมีเงินดาวน์ไม่พอ และไม่มีเอกสารประกอบที่เพียงพอ 

ขณะที่ชาวมาเลเซียที่เลือกเช่าที่อยู่อาศัยนั้น เกือบ 2 ใน 3 เผยว่า ไม่มีเงินเก็บเพียงพอในการซื้อที่อยู่อาศัยในตอนนี้ ขณะที่ 32% มองว่าที่อยู่อาศัยมีราคาแพงเกินไป จึงเลือกเก็บเงินไว้แทน และ 24% ไม่เห็นความจำเป็นหรือความเร่งด่วนที่ต้องซื้อ 

เวียดนามซื้อบ้านเพื่อการลงทุนมากสุด

ชาวเวียดนาม มากกว่าครึ่ง หรือ 59% มีแผนซื้อที่อยู่อาศัยในอีก 1 ปีข้างหน้ามาจากความต้องการซื้อเพื่อลงทุนมากที่สุด รองลงมา คือ ต้องการพื้นที่สำหรับพ่อแม่/บุตรหลาน และต้องการพื้นที่ส่วนตัว 

โดยเหตุผลหลักของผู้ที่เลือกเช่าที่อยู่อาศัยใน 1 ปีข้างหน้านั้น ส่วนใหญ่ไม่ต้องการปักหลักอยู่ที่ใดที่หนึ่งและชอบความยืดหยุ่นของการเช่า ตามมาด้วยมองว่า ที่อยู่อาศัยมีราคาแพง จึงอยากเก็บเงินไว้แทน 

อย่างไรก็ดี ผู้เช่าส่วนใหญ่วางแผนจะเช่าที่อยู่อาศัยไม่เกิน 2 ปี ก่อนจะซื้อเป็นของตัวเองในอนาคต โดยหากบ้าน/คอนโดฯ ที่เช่าอยู่มีการปรับราคาขึ้น ผู้เช่าส่วนใหญ่เลือกที่จะวางแผนซื้อที่อยู่อาศัยให้เร็วขึ้น รองลงมา คือ เลือกหาที่ใหม่ที่ค่าเช่าถูกกว่าแทน และจะลดค่าครองชีพลงเพื่อมาใช้จ่ายค่าเช่า 

แม้ปีนี้จะมีความท้าทายเกิดขึ้นในตลาดอสังหาฯ ของเวียดนาม แต่การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ชาวเวียดนามมีความพร้อมทางการเงินพอสมควร โดยเกือบ 2 ใน 5 ของผู้ที่วางแผนซื้อที่อยู่อาศัยเผยว่ามีเงินออมเพียงพอที่จะซื้อบ้าน/คอนโดฯ เป็นของตัวเองแล้ว ถือเป็นระดับที่สูงที่สุดในอาเซียน 

ขณะที่มากกว่าครึ่ง (53%) เก็บเงินเพื่อซื้อได้ครึ่งทางแล้ว มีเพียง 8% เท่านั้นที่ยังไม่ได้เริ่มแผนออมเงินซื้อบ้าน ซึ่งต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียน อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงความท้าทายในการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย มากกว่าครึ่ง (51%) เผยว่าความไม่มั่นคงในอาชีพและรายได้เป็นอุปสรรคหลักเมื่อต้องขอสินเชื่อบ้าน และตามมาด้วย 38% ไม่คุ้นเคยในการเตรียมเอกสาร 

ไทยต้องการซื้อบ้านเพราะต้องการมีเป็นของตนเอง  

เหตุผลที่ทำให้ชาวไทยตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัยมาจากความต้องการของตนเองเป็นหลัก แตกต่างจากชาวมาเลเซียและชาวเวียดนามที่ให้ความสำคัญไปที่การลงทุนมาเป็นอันดับแรก 

โดยชาวไทยส่วนใหญ่ซื้อเพราะต้องการพื้นที่ส่วนตัวมากที่สุด รองลงมา คือ ซื้อเพื่อการลงทุน และต้องการพื้นที่สำหรับพ่อแม่/บุตรหลานซึ่งวัยทำงานมักจะเริ่มขยับขยายที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับการสร้างครอบครัวในอนาคต 

อย่างไรก็ดี เมื่อพูดถึงความพร้อมทางการเงินของคนไทย มีผู้ที่วางแผนซื้อที่อยู่อาศัยเพียง 2 ใน 5 เท่านั้น และมีเงินออมเพียงพอที่จะซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองในเวลานี้ \

ขณะที่ส่วนใหญ่ เก็บเงินได้เพียงครึ่งทางเท่านั้น และ 1 ใน 5 ยังไม่ได้เริ่มแผนเก็บเงินใด ๆ ขณะเดียวกัน ปัจจัยทางการเงินยังคงเป็นความท้าทายเมื่อต้องยื่นขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยมากกว่าครึ่งของชาวไทยเผยว่า มีรายได้และอาชีพที่ไม่มั่นคงถือเป็นอุปสรรคสำคัญในการขอสินเชื่อบ้าน ตามมาด้วยมีประวัติทางการเงินที่ไม่ดี (32%) และสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ (Debt Service Ratio: DSR) ไม่เอื้ออำนวย (29%)  

 โดยความท้าทายทางการเงินยังส่งผลให้ชาวไทยหันมาเลือกการเช่าแทน เกือบ 2 ใน 3 ของผู้ที่เลือกเช่าเผยว่าไม่มีเงินเก็บเพียงพอในการซื้อที่อยู่อาศัย ขณะที่ 41% มองว่าที่อยู่อาศัยมีราคาแพงเกินไปจึงขอเก็บเงินไว้แทน 

 

อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาปัจจัยภายในที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัย เกือบครึ่งของชาวไทยเลือกจากขนาดที่อยู่อาศัยเป็นอันดับแรก ตามมาด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกภายในที่พักและราคาเฉลี่ยต่อพื้นที่ใช้สอย 

 

ขณะที่ปัจจัยภายนอกโครงการที่มีผลต่อการตัดสินใจ มากกว่าครึ่งจะให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของโครงการเป็นหลัก และต้องเดินทางได้สะดวกด้วยระบบขนส่งสาธารณะ รวมถึง การเลือกจากทำเลที่ตั้งของโครงการ

 

ที่มา : ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคในอาเซียนรอบล่าสุด (ประกอบด้วยประเทศไทย, สิงคโปร์, มาเลเซีย และเวียดนาม) จากเว็บไซต์ในเครือพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป (NYSE: PGRU)

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT