วันพืชมงคล หมายถึง วันที่กำหนดพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธีเก่ามาแต่โบราณที่เสริมสร้างขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกรของชาติ เพื่อเป็นการระลึกถึงความสำคัญของเกษตรกรที่มีต่อเศรษฐกิจไทย โดยการจัดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ มีสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งพระราชพิธีนี้จะกระทำที่ท้องสนามหลวง ประกอบด้วย 2 พระราชพิธีคือ พระราชพิธีพืชมงคล และ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
ปี 2568 กรมปศุสัตว์ได้ทำการคัดเลือกพระโคเพื่อใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จำนวน 2 คู่ คือ
พระโคแรกนาขวัญ
พระโคสำรอง
พระโคแรกนาขวัญ และพระโคสำรอง ประจำปีพุทธศักราช 2568 เป็นโค พันธุ์ขาวลำพูน มีสีผิวขาวอมชมพู ขนสีขาวสะอาด ทั้งลำตัวไม่มีจุดด่างดำ หรือสีอื่นบนลำตัว เขามีสีขาว ลำตัวเป็นลำเทียน เขาทั้งสองข้างมีลักษณะโค้งสวยงาม ดวงตาแจ่มใสสีน้ำตาลอ่อน ขนตาสีชมพู บริเวณจมูกขาว กีบสีขาว ขนหางเป็นพวงสีขาวยาว ลำตัวช่วงขาหลังและกีบ มีความสมบูรณ์แข็งแรง เวลายืนและเดินสง่า
บรรยากาศที่ท้องสนามหลวงในวันพืชมงคลปีนี้ เป็นไปอย่างคึกคักพี่น้องประชาชนต่าง พร้อมใจสวมเสื้อสีเหลืองมาเฝ้ารอรับเสด็จ และชมการเสี่ยงทายในพระราชพิธีพิธีจพระนังคัลแรกนาขวัญ โดยช่วงแรกพระยาแรกนาจะตั้งสัตยาธิษฐาน เสี่ยงทายผ้านุ่งแต่งกาย แล้วไปไถหว่าน ด้วยการไถดะไปโดยรี 3 รอบ เพื่อพลิกดินให้เป็นก้อน ไถโดยขวาง 3 รอบ เพื่อย่อยดินให้ละเอียด พร้อมหว่านเมล็ดพันธุ์พืช และไถกลบอีก 3 รอบ เพื่อกลบเมล็ดพันธุ์พืชลงในดิน เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการไถแล้ว
ในปี 2568 พระยาแรกนา - พระโค ได้ทำการเสี่ยงทาย ทำนายได้ดังนี้
พระยาแรกนา หยิบได้ผ้า 5 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผล บริบูรณ์ และผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี
พระโคกิน น้ำ หรือ หญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหารผลาหาร ภักษาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์
พระโคกิน เหล้า พยากรณ์ว่า การคมนาคมจะสะดวกขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง
Advertisement